‘Fluus’ ผ้าอนามัยย่อยสลายในน้ำ ไม่ต้องหากระดาษห่อให้ยุ่งยาก แค่ทิ้งลงชักโครกก็หายไปในพริบตา

รอบเดือนเป็นสิ่งที่ผู้มีประจำเดือนทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งยังกลายเป็นส่วนหนึ่งในปัญหาขยะจากผ้าอนามัย เพราะโดยปกติแล้วผ้าอนามัยทั่วๆ ไปประกอบด้วยพลาสติกถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และเพียงแค่ในสหราชอาณาจักรก็มีการใช้กว่า 3,000 ล้านชิ้น สร้างขยะมากถึง 200,000 ตัน นี่ยังไม่นับรวมทั้งโลกเลย ‘Fluus’ แบรนด์ผ้าอนามัยจากสหราชอาณาจักรจึงมองหาวิธีช่วยลดขยะและลดการฝังกลบ ด้วยผ้าอนามัยชิ้นแรกที่สามารถทิ้งลงชักโครกเพื่อให้สลายตัวไปกับน้ำ ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวผ้าอนามัยเท่านั้น แต่กระดาษห่อและกระดาษรองก็ทิ้งลงชักโครกได้ด้วยเหมือนกัน ผ้าอนามัยของ Fluus ประกอบไปด้วยวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการใช้เส้นใยจากพืชเพื่อให้ผ้าด้านบนและด้านล่างนุ่มเป็นพิเศษ ระบายอากาศได้ดี ช่วยให้รู้สึกแห้งสบาย และพอลิเมอร์ชีวภาพที่ช่วยให้เลือดซึมเข้าสู่แผ่นรองได้อย่างรวดเร็ว ไม่เลอะเทอะ ส่วนกาวที่ยึดผ้าอนามัยก็ทำมาจากเยื่อไม้ที่ไม่เป็นพิษ และมีคุณสมบัติกระจายตัวในน้ำได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ระบบน้ำอุดตัน เมื่อทิ้งผ้าอนามัยลงไปในชักโครก การเคลื่อนที่ของน้ำจะดึงชั้นต่างๆ ของผ้าอนามัยออกจากกัน จากนั้นจะนำไปบำบัดที่ศูนย์บำบัดน้ำพร้อมกระดาษชำระและสิ่งปฏิกูลที่สลายตัว เกิดเป็นน้ำสะอาด พลังงานทดแทน และปุ๋ย การฝังกลบขยะจากผ้าอนามัยอาจใช้เวลากว่า 500 ปีในการย่อยสลาย ในขณะที่ Fluus สามารถทำให้ผ้าอนามัยสลายไปได้ในพริบตา นอกจากปัญหาขยะแล้ว Fluus ยังช่วยลดปัญหาการทิ้งผ้าอนามัยหากห้องน้ำที่เราเข้าไปใช้งานไม่มีถังขยะ หรือบางคนอาจรู้สึกไม่สบายใจหากต้องทิ้งผ้าอนามัยที่บ้านคนอื่น Sources :DesignTAXI | bit.ly/42F3CezFluus | wearefluus.com

ชวนลงชื่อยกเลิกภาษีผ้าอนามัย และแจกผ้าอนามัยฟรีให้ผู้มีประจำเดือน เข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้หญิงจำนวนมากที่กำลังเผชิญกับสภาวะขาดแคลน หรือไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนได้ (Period Poverty) เนื่องจากผ้าอนามัยมีราคาสูงเกินไปเมื่อเทียบกับอัตรารายได้หรือค่าครองชีพ ทำให้ผู้หญิงและเด็กหลายคนต้องสูญเสียโอกาสทางการงานและการศึกษาเมื่อมีประจำเดือน เพราะเหตุนี้ หลายฝ่ายจึงออกมารณรงค์และเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยทุกรูปแบบ และผลักดันให้มีนโยบายแจกผ้าอนามัยฟรีให้กับประชาชน ย้อนไปวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ‘ภาษีผ้าอนามัย’ กลายเป็นประเด็นถกเถียงที่สังคมให้ความสนใจในวงกว้าง หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศกฎกระทรวงกำหนดให้ ‘ผ้าอนามัยแบบสอด’ เป็น ‘เครื่องสำอาง’ ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 หมายความว่าจะมีการเก็บภาษีสินค้าชนิดนี้เพิ่มจาก 7 เปอร์เซ็นต์ เป็น 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียจำนวนมากไม่เห็นด้วย และแสดงความคิดเห็นว่า ผ้าอนามัยไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของผู้หญิง และรัฐบาลไม่ควรผลักภาระทางภาษีให้กับประชาชน ทว่า หลังจากเกิดกระแสดราม่าไม่กี่วัน ด้านกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรได้แถลงการณ์ชี้แจงว่า การประกาศให้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอางนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี แต่มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมสินค้าตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น พร้อมยืนยันว่าผ้าอนามัยแบบสอดไม่ถูกจัดเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย 30 เปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน แต่ยังคงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม องค์กรเพื่อสิทธิสตรี นักเคลื่อนไหว และประชาชนหลายรายยังคงมองว่า ผ้าอนามัยควรเป็นสินค้าปลอดภาษีที่ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงเดินหน้ารณรงค์และเคลื่อนไหวให้รัฐบาลแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากราคาผ้าอนามัย […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.