ล้ำไปอีกขั้น! นักวิจัยจีนค้นพบวิธีผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิแซลมอน’ ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ทั่วโลกคิดค้นวิธีต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งการรณรงค์ลดใช้พลาสติก รวมไปถึงการทำวัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ อย่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ และมันสำปะหลัง  ไอเดียล่าสุดที่น่าสนใจก็คือการผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิปลาแซลมอน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ขั้นตอนในการผลิตก็คือ การแยกสายดีเอ็นเอสองสายออกจากอสุจิปลาแซลมอน หลังจากนั้นก็นำสายดีเอ็นเอไปผสมกับสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันพืช เมื่อโมเลกุลจับตัวกันก็จะได้ ‘ไฮโดรเจลสังเคราะห์’ สารประกอบเนื้อเจลที่สามารถกักเก็บและรักษาปริมาณน้ำได้ 99% เมื่อมีเจลแล้วก็นำไปเทใส่พิมพ์รูปทรงต่างๆ อย่างเช่น แก้วมัค จิ๊กซอว์ โมเดลดีเอ็นเอ และของชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำพิมพ์ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เพื่อให้รูปทรงต่างๆ เซตตัวอย่างสมบูรณ์ ท้ายที่สุดก็จะได้วัสดุที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘พลาสติกที่ทำจากดีเอ็นเอ’ (DNA-based Plastic) แม้ว่าการผลิตพลาสติกจากอสุจิแซลมอนยังคงต้องใช้ความร้อนและพลังงาน แต่ Dayong Yang หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า พลาสติกชนิดนี้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในบรรดาพลาสติกที่รู้จัก เนื่องจากการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกทั่วๆ ไป อีกข้อดีของพลาสติกชนิดนี้คือรีไซเคิลง่าย เพียงแค่ใช้เอนไซม์พิเศษสำหรับย่อยสลายดีเอ็นเอ หรือจะนำไปจุ่มน้ำเพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับไปเป็นเจลก็ได้ เพราะพลาสติกชนิดนี้จะนิ่มและยืดหยุ่นเมื่อโดนน้ำ  ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติการย่อยสลายง่ายทำให้พลาสติกดีเอ็นเอยังไม่เหมาะที่จะเป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำให้แก่วัสดุประเภทนี้อยู่ ทั้งนี้ […]

จุดจบสายปลาส้ม หลังอาร์เจนตินา ห้ามทำฟาร์มแซลมอนเป็นที่แรกของโลก เพราะห่วงสิ่งแวดล้อม

ประวัติศาสตร์โลกต้องจารึกไว้เลยว่า ‘อาร์เจนตินา’ เป็นประเทศแรกของโลกที่ออกกฎหมายห้ามทำฟาร์มแซลมอนบริเวณช่องแคบบีเกิล โดยรัฐสภาของรัฐเตียร์ราเดลฟวยโก (Tierra del Fuego) หมู่เกาะที่อยู่ใต้สุดของประเทศมีมติในเรื่องนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ การทำฟาร์มแซลมอนเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อใช้ในทางพาณิชย์ที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศในหลายด้าน เพราะแซลมอนไม่ใช่สัตว์พื้นถิ่นของแหล่งน้ำบริเวณนั้น แค่การนำสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาก็ส่งผลกระทบต่อจำนวนสัตว์พื้นถิ่นอื่นๆ แล้ว ทั้งยังต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงดูเพื่อให้แซลมอนแข็งแรง สารเคมีจากยาแพร่กระจายในน้ำเป็นวงกว้าง รบกวนระบบนิเวศโดยรอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ใช่แค่สัตว์และระบบนิเวศได้รับผลกระทบเท่านั้น ผู้อยู่อาศัยที่มีวิถีชีวิตเชื่อมโยงกับระบบนิเวศของ Tierra del Fuego มาอย่างยาวนานก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน การตัดสินใจครั้งนี้ของรัฐบาลจึงถือเป็นการตระหนักประโยชน์ส่วนรวมของประเทศและฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้การปฏิเสธการทำฟาร์มแซลมอนบริเวณช่องแคบบีเกิลในครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าฟาร์มแซลมอนทุกแห่งในอาร์เจนตินาที่ดำเนินกิจการอยู่จะต้องปิดตัวลง แต่ก็เป็นการตัดสินใจที่มีความหมายอย่างมากต่อทรัพยากรธรรมชาติของโลก เพราะ Tierra del Fuego เป็นหมู่เกาะที่มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ การออกกฎหมายในครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตระหนักถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทั้งยังเป็นต้นแบบให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลี ที่มีปัญหาเรื่องการทำฟาร์มแซลมอนเช่นเดียวกัน Sources : Patagonia works | https://tinyurl.com/2ephr8u6The Fish Site | https://tinyurl.com/72cz4x49

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.