ขออนุญาต Educate นะคะอีเก่งกิจ : ฉอดเรื่อง Political Correctness กับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“เขียนชื่อผมลงไปเลยนะว่าอีเก่งกิจ เออ อีเก่งกิจนั่นแหละ เขียนแบบนั้นเลย”  รศ. ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสียงบอกเราอย่างยียวน หลังจากการพูดคุยกันเรื่องความถูกต้องทางการเมือง PC หรือ Political Correctness จบลงสดๆ ร้อนๆ สารภาพว่าหลังจากได้ติดตามการตั้งประเด็นทางสังคมและการโต้ตอบความคิดอันดุเดือดของเขาบนโลก Twitter มาตั้งแต่ต้นปี 2564 เมื่อได้เข้าไปเยือนพื้นที่ของ @Kengkij2 วลีหนึ่งที่ผุดขึ้นมาบนหัวคือ ‘ปังสัส’ ไม่อยากจะสปอยล์ แต่อยากให้ไปหาอ่านเอาเอง เพราะตั้งแต่ไล่สายตาอ่าน Bio ของเขาที่ระบุว่า ‘ทวิตเตอร์มีไว้ด่า ไม่ได้มีไว้คุยวิชาการ #คอมทวิต non-pc’ เราก็สนใจตัวตนบนโลกออนไลน์ของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยไบโอมันๆ และความสับในโลกนกฟ้า ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับบทบาทอาจารย์และนักวิชาการ ยิ่งทำให้เราสนใจในวิธีคิด เพราะเก่งกิจเขวี้ยงหมวกนักวิชาการทิ้งถังขยะ แล้วใช้คีย์บอร์ดฉอดยับสับแหลก ดีเบตเผ็ดแซ่บจนนักฉอดทวิตต้องรีพลายกันร่างแหลกกันไปข้าง อีหน้าไหนจะมา War เป็นต้องเจอสรรพอาวุธสุดจะปังของเขา ด้วยฝีปากกล้าท้ารบ จบทุกสกิลในคนเดียวชนิดที่ว่า Non Stop ความ Non PC เราเลยตัดสินใจคุยเรื่องความ PC […]

#saveตูดคอร์กี้ หนังสั้น 15 นาทีที่ชวนตั้งคำถามขอบเขตของ Political Correctness

Spoiler Alert : บทความนี้เปิดเผยรายละเอียดบางส่วนของภาพยนตร์สามารถรับชมเรื่อง #saveตูดคอร์กี้ เต็มๆ ก่อนอ่านได้ที่ (https://tv.line.me/v/20392024) ฉากจบของภาพยนตร์สั้น #saveตูดคอร์กี้ ดึงดูดความสนใจของผู้เขียนไม่น้อย เพราะลุ้นใจจดใจจ่อว่าตัวละครหลักอย่าง ‘โบล่า’ (ก้อย-อรัชพร โภคินภากร) ที่กำลังเก้ๆ กังๆ จะเลือกโพสต์หวีดศิลปินที่ชื่นชอบอย่างไรดี แม้โบล่าสรรหาคำสารพัดมาบรรยายความรู้สึกกรี๊ดกร๊าดข้างในใจ แต่คำที่ใช้กลับเอนเอียงไปทาง ‘Sexual Harassment’ ถึงเจตนาข้างในแค่อยากตะโกนบอกความน่ารักของศิลปินให้คนทั้งโลกฟัง ซึ่งเหตุการณ์นั้น ทำให้โบล่าคิดไม่ตก กดลบกดพิมพ์ข้อความอยู่นานสองนาน ก่อนภาพยนตร์จะตัดจบไป สถานการณ์ที่โบล่าเจอ ทำให้ผู้เขียนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองในฐานะที่คลั่งรักศิลปินหลายสิบคน และอยากโพสต์หวีดความน่ารักของเขา แต่ก็ต้องลบข้อความทิ้งอยู่เป็นประจำ แล้วแชร์โพสต์เปล่า เพราะกลัวว่าข้อความของเราอาจเผลอ Political Incorrectness (ความไม่ถูกต้องทางการเมือง) ต่อเพื่อนสักคนบนโลกออนไลน์ และทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจ #saveตูดคอร์กี้ ภายในระยะเวลา 15 นาที หนังพาเราไปตามชีวิตของโบล่า หญิงสาวผู้ยึดมั่นในหลักความเท่าเทียมกันของทุกสิ่งบนโลกมนุษย์ เวลาเห็นใครโพสต์ข้อความที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมลงโซเชียล โบล่าจะเข้าไปตักเตือนและให้ความรู้กับคนนั้นทันที ซึ่งบางฉากทำให้เราเห็นความลังเลของโบล่า และการฉุกคิดกับตัวเองว่าคนโพสต์เขากำลังมีเจตนาแบบไหนอยู่ ซึ่ง ‘แคลร์-จิรัศยา วงษ์สุทิน’ ผู้กำกับและคนเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง #saveตูดคอร์กี้ หยิบเหตุการณ์จริงของตัวเอง โดยเฉพาะฉากจบ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.