Kolon Sport ร้านอุปกรณ์กีฬาบนเกาะเชจู ที่ออกแบบและตกแต่งด้วยขยะจากทะเล

หากพูดถึงขยะจากท้องทะเล หลายคนคงนึกออกแต่การกำจัดทิ้ง เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและธรรมชาติใต้น้ำ แต่ทางสตูดิโอ Schemata Architects เลือกที่จะเปลี่ยนจากการทำลายมาชุบชีวิตใหม่ให้ขยะเหล่านั้นด้วยการนำมาเป็นส่วนหนึ่งในคอนเซปต์สโตร์ของแบรนด์อุปกรณ์กีฬา Kolon Sport สาขาเกาะเชจู ประเทศเกาหลีใต้ ด้วยความที่แบรนด์ Kolon Sport ขึ้นชื่อในเรื่องของการอัปไซเคิลเสื้อผ้าจากโปรดักต์ของตัวเอง ทางสตูดิโอ Schemata Architects จึงออกแบบร้านให้ออกมาสอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืนของแบรนด์ ด้วยการนำขยะจากทะเลอย่างแกลลอนน้ำมันและบล็อกโพลีสไตรีนมาใช้ตกแต่งภายในร้าน และนำซากปรักหักพังกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของไม้แขวนเสื้อ ชั้นวางของ และโต๊ะ ส่วนการตกแต่งภายในนั้น ทางสตูดิโอพยายามทำให้ร้านมีความมินิมอลมากที่สุด โดยผนังมีลวดลายของสีที่ลอก คอนกรีตเปลือย อิฐช่องลม และใช้แสงจากหลอดไฟแบบธรรมดา “ขยะทะเลจำนวนสองหมื่นตันถูกเผาทุกปีบนเกาะเชจูโดยไม่มีวิธีนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนำไปสู่การทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ” สตูดิโอ Schemata Architects พูดถึงสาเหตุการนำขยะมาใช้ประโยชน์ในครั้งนี้ นอกจากนี้ ทางสตูดิโอยังเล่าว่านี่คือแนวทางการพัฒนาเมืองที่เรียกว่า ‘การพัฒนาที่มองไม่เห็น (Invisible Development)’ นั่นคือ เมื่อมองภายนอกจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเข้าไปใกล้ๆ หรือกระทั่งเข้าไปในอาคาร จะเห็นถึงความน่าสนใจของมัน ทั้งยังทำให้เกิดความสงสัยว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ในอาคารหลังถัดไปหรือไม่ ร้าน Kolon Sport เป็นอีกหนึ่งผลงานของ Arario Project ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาชุมชนบนเกาะเชจู ที่มีเป้าหมายในการป้องกันสิ่งแวดล้อม และต้องการเป็นศูนย์กลางแห่งความยั่งยืนของเมือง […]

เกาหลีใต้เตรียมยก ‘Jeju Keungut’ พิธีกรรมหมอผี-ร่างทรงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ก่อนจะขยับร่างไปดู ‘ร่างทรง’ ที่เพิ่งเข้าโรงภาพยนตร์ไปสดๆ ร้อนๆ จากฝีมือผู้กำกับหนังสยองขวัญ อย่าง ‘โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล’ และ ‘นา ฮงจิน’ ในบทบาทของโปรดิวเซอร์ ซึ่งใครที่เป็นแฟนหนังของเขาต้องเคยเห็นลีลาการเล่าเรื่องหมอผี และพิธีกรรมไสยศาสตร์ฉบับเกาหลีเอาไว้ในภาพยนตร์เรื่อง ‘The Wailing (2016)’ ที่สร้างความหลอนแก่คนดูได้อยู่หมัด พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของเกาหลีเป็นหนึ่งในประเพณีที่เก่าแก่และสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น โดยเฉพาะ ‘เกาะเชจู’ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ชื่อว่า ‘Jeju Keungut (เชจู คึนกุต)’ มาอย่างยาวนาน และยึดโยงเข้ากับประวัติศาสตร์ของชุมชน ทำให้ Cultural Heritage Administration (CHA) หรือองค์การบริหารมรดกวัฒนธรรมของเกาหลี ไม่มองเรื่องหมอผี-ร่างทรง-ไสยศาสตร์ เป็นแค่สิ่งงมงาย แต่มองลึกไปถึงแก่นของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ควรค่าแก่การรักษาเอาไว้ เพราะการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายในแต่ละครั้ง ครอบคลุมรูปแบบศิลปะดั้งเดิมเอาไว้หลายแขนง ทั้งดนตรีดั้งเดิม การเต้นรำ การร่ายบทกวี การละเล่นพื้นบ้าน ภาษาถิ่น หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งเนื้อหาในบทเพลงจะสะท้อนถึงมุมมองของชาวเชจูที่มีต่อการสร้างโลก ชีวิต และความตาย  โดยรูปแบบจะเริ่มจาก ‘Yeongsin (ยองชิน)’ คือขั้นตอนการอัญเชิญเทพเจ้านำทางมายังโลก จากนั้นหมอผีจะเต้นรำและร้องเพลงเพื่อให้ความบันเทิงและสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเรียกว่า ‘Osin […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.