ABC Human Rights โปสเตอร์ท่อง ABC สำหรับเด็กยุคใหม่ ปลูกฝังเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ตั้งแต่เด็ก

อยากปลูกฝังให้ลูกเข้าใจเรื่องสิทธิตั้งแต่ยังเด็กจะเริ่มอย่างไร ถ้าหนังสือเรียนและระบบการศึกษาไทยแทบไม่มีเรื่องเหล่านี้อยู่เลย? ‘ABC Human Rights’ คือโปสเตอร์สื่อการสอน ABC ที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้พ่อแม่หรือคุณครูสามารถนำไปใช้ในการสร้างบทสนทนา เพื่อปูพื้นฐานให้เด็กๆ เข้าใจเรื่องสิทธิได้ง่ายขึ้น ผ่านภาพประกอบสื่อสารถึงความหลากหลาย และคำศัพท์ที่เหมาะกับการเรียนรู้เรื่องสิทธิในหลายช่วงวัย  โปสเตอร์ ABC Human Rights ขนาด A1 ชิ้นนี้เป็นผลงานการออกแบบของคุณบอม-วศิน ปฐมหยก และคุณตุ๊กตา-เพลงมนตรา บุบผามาศ สามีภรรยาที่กำลังสนุกกับการหาสื่อการเรียนรู้ดีๆ ให้ลูก จนได้พบกับหนังสือ ABC ที่น่าสนใจหลายเล่มจาก The Book Depository โดยเฉพาะการเลือกใช้คำศัพท์บน ABC ที่แตกต่างออกไปจากสื่อ ABC ที่มีขายในประเทศไทย และต่างจาก ABC ที่เราเคยท่องจำกันมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น A is for activist, E isfor equality หรือ F is for feminism  ด้วยความที่ทั้งคู่อยากหาสื่อการเรียนรู้ดีๆ ให้กับลูก เพราะมองเห็นปัญหาว่าสื่อแบบนี้ไม่ได้มีเยอะในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักจะเป็นสื่อจากต่างประเทศทั้งนั้น […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

Bangkok Budgeting เว็บชวนคนกรุงตื่นรู้ และมีส่วนร่วมกับงบประมาณ

หลายๆ ประเทศเปิดให้ประชาชนมีส่วนกับการตัดสินใจด้านการใช้งบประมาณ (Participatory Budgeting) ผู้คนจึงได้มีทางเลือกและได้ร่วมกำหนดทิศทางสังคมไปพร้อมกับภาครัฐ แล้วจะดีมากแค่ไหนกัน ถ้ากรุงเทพฯ มีแพลตฟอร์มให้ประชาชนทุกคนได้มีส่วนจัดการกับงบประมาณต่างๆ ที่นำมาพัฒนาเมืองของเรา เพื่อสร้างสรรค์ให้คนและพื้นที่กรุงเทพมหานครดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ข่าวดีคือในปีนี้ Good Society Summit 2021 จะเปิดเว็บไซต์ Bangkok Budgeting ส่วนหนึ่งของ Human Rights & Anti-Corruption Pavilion เพื่อให้ทุกคนได้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ได้ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 โดยคลิกเข้าไปที่ projects.punchup.world/bangkokbudgeting ซึ่งพัฒนาโดยทีม PunchUp, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), Hand Enterprise, Siam Lab ร่วมกับ Good Society (ติดตามข้อมูลอื่นๆ ได้ที่ www.facebook.com/goodsocietythailand) และการโยนคำถามสำคัญว่าตอนนี้กรุงเทพฯ มีภาพใกล้เคียงเมืองที่เราฝันหรือแผนที่เคยได้เห็นหรือยัง โดยมีการแสดงตัวเลขของงบประมาณในเมืองที่ถูกใช้ไป ซึ่งทุกคนสามารถโหวต 3 หัวข้อเร่งด่วนที่ควรต้องพัฒนาที่สุด เว็บไซต์จะคำนวณคำตอบเพื่อเปรียบเทียบกับภาพรวมว่าผลลัพธ์ออกมาเป็นยังไง แถมผู้ใช้แพลตฟอร์มยังแชร์ความคิดเห็นได้ถึง 2 รูปแบบ หนึ่ง […]

ติดคุกมีสิทธิ์สุขภาพดีไหม คำถามถึงคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังที่กำลังหายไป

อาบน้ำ 8 ขันต่อวัน ต้องเลือกจุดทำความสะอาดที่สำคัญ ขับถ่ายในห้องน้ำขนาดเล็กไม่มีประตู มองเห็นตั้งแต่หัวจรดเท้า นอนรวมกันในห้องขัง 30 – 40 คน หนึ่งในตัวอย่างชีวิตผู้ต้องขังที่เผชิญหลังกำแพงเรือนจำในประเทศไทย ความลำบากตั้งแต่ลืมตาตื่นยันหลับตานอนอาจไม่เกินจริงไปนัก เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตัวเลขการติดโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งยังมีประกาศตรวจพบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่กว่า 10,000 ราย กระจายอยู่ในเรือนจำกว่า 10 แห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  โดยสถานการณ์หนักสุดอยู่ที่เรือนจำและทัณฑสถานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเรือนจำขนาดใหญ่ที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลังจากข่าวนี้แพร่ออกไป พาเอาหลายคนตกอกตกใจไปตามๆ กัน ในสื่อโซเชียลเริ่มมีการแชร์ภาพการเป็นอยู่ของผู้ต้องขังที่ต้องนอนเรียงราย บ้างก่ายกอดกันจนแทบไม่มีช่องว่างให้นึกถึง Social Distancing เลยด้วยซ้ำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจต้องย้อนกลับไปมองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าแท้จริงแล้วการใช้ชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำนั้นเหมาะสม และถูกสุขลักษณะหรือไม่ แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งคิดว่า ทำไมล่ะ นั่นเรือนจำนะ จะให้สะดวกสบายเหมือนอยู่บ้านได้ยังไง คนทำความผิดจะต้องได้รับการดูแลอย่างดีงั้นเหรอ หยุดก่อน…เรากำลังพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์คนหนึ่งควรได้รับต่างหาก และยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศเรามีโรคระบาดหนักแบบนี้ พวกเขาควรได้รับการดูแลไม่ต่างกันกับคนที่อยู่ข้างนอก สอดคล้องกับข้อมูลของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ที่ว่า เรือนจำในประเทศไทยมีนักโทษมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่กลับไม่ได้มาตรฐานสากลเลยสักที่ เพราะไม่ผ่านการประเมินตามหลักที่กำหนดไว้ เช่น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.