Seaspiracy ไม่บอกอะไร เมื่อประมงทำร้ายทะเล แต่ถ้าหยุดกินปลาตามสารคดีก็เป็นหายนะของคนจน

บรรณาธิการบริหารแห่ง Urban Creature บอกทีมในเช้าวันประชุมกองบรรณาธิการว่า “ภายในปี 2048 มหาสมุทรอาจว่างเปล่า ไร้สิ่งมีชีวิต” หลังจากเมื่อคืนพี่แกใช้เวลาจดจ่อกับ Seaspiracy ภาพยนตร์สารคดีใน Netflix ที่ตีแผ่อุตสาหกรรมประมงซึ่งทำร้ายสิ่งมีชีวิตในทะเลไปมหาศาล ทั้งอวนจับปลาที่สร้างขยะและฆ่าสัตว์น้อยใหญ่มากกว่าพลาสติก ปัญหาการจับสัตว์น้ำพลอยได้ที่เน้นกวาดทุกสปีชีส์ในทะเลด้วยอวนขนาดใหญ่ที่คลุมโบสถ์ได้ทั้งหลัง แรงงานทาสที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ฟาร์มสัตว์ทะเลที่เข้ามาแย่งพื้นที่ป่าโกงกางซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญบนโลกจนเกิด Climate Change รวมไปถึงการชี้ให้ทุกคนหยุดกินปลาเพื่อจบทุกปัญหา หลากเสียงในห้องประชุมเริ่ม “เชี่ย แล้วต้องทำไงวะ” “กูดูจบแล้วอยากเลิกกินปลา” “โหดร้ายว่ะ” “คืนนี้จะกลับไปดู” ขึ้นมาจนกลายเป็นเสียงนอยซ์ เย็นวันนั้น เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ฉันใช้ไปกับการดู Seaspiracy พร้อมความรู้สึกหดหู่ที่เกิดขึ้น แต่เดี๋ยวก่อน…หลังจากที่สติแตกไปครู่หนึ่ง อยู่ดีๆ ก็คิดขึ้นว่า “เคยเรียนข่าวมา หาข้อมูลเพิ่มเติมและอัปเดตมันหน่อยเป็นไง” อวนสร้างความเสียหายต่อทะเลมากแค่ไหน การลดใช้พลาสติกไม่จำเป็นเลยหรือเปล่า การจับสัตว์น้ำพลอยได้ต้องเร่งแก้ไขก่อนที่มันจะสูญพันธุ์หรือไม่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทะเลส่งผลเสียอย่างไร ตกลงแรงงานทาสในไทยมีอยู่ไหม และการเลิกกินปลาเป็นคำตอบที่ดีจริงหรือในวันที่ชาวประมงพื้นบ้านยังคงเลี้ยงชีพด้วยการหาปลา ทุกคำถาม มีคำตอบ ขอเวลาไม่นาน เพ่งสายตาให้มั่น ไล่อ่านทุกบรรทัด ไปเจาะข้อมูลเอกสารที่สารคดีไม่ได้บอก และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงในไทยกัน ลุย […]

กำแพงกันคลื่นไร้เงา EIA ทางออกที่ไม่ยั่งยืน ต้นเหตุหาดแหว่งและชายฝั่งขาดสมดุลธรรมชาติ

ฉันเป็นเด็กในเมืองที่ใช้ชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีต กว่าจะแล่นรถออกไปชายทะเลก็ต้องรอโอกาสเหมาะสม เช่น พักร้อน หรือวันหยุดเทศกาล มันเลยทำให้ฉันไม่ได้คลุกคลีกับหาดทรายและผืนทะเลบ่อยนัก จนกระทั่งฉันสะดุดประเด็น #กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA บนโลกออนไลน์ ที่ต้องคลิกเข้าไปดูความเป็นไปของชายหาด ฉันจึงพบว่าผลลัพธ์ของมันสร้าง ‘รอยเว้า’ และ ‘กลืนกินชายหาด’ อย่างไม่น่าเชื่อ การกัดเซาะที่มาของกำแพงกันคลื่น ฉันคว้าความสงสัยที่มีต่อสายตรงหา ผศ. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ‘การกัดเซาะชายฝั่ง’ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจาก ‘คลื่น’ หรือ ‘ลม’ โดยพัดตะกอนจากที่หนึ่งไปทับถมอีกที่หนึ่ง ทำให้แนวชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลบนเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้วิศวกรรมทางชายฝั่งเชิงโครงสร้างแบบ ‘กำแพงกันคลื่น’ สร้างติดชายฝั่ง ทำหน้าที่ป้องกันการกัดเซาะของดินจากคลื่นและกระแสน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นที่หลังกำแพงเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะช่วย ‘ชะลอ’ หรือ ‘ลด’ การกัดเซาะชายฝั่งได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้กำแพงกันคลื่นจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับไม่ครอบคลุมพื้นที่ใกล้เคียง ตามปกติแล้วคลื่นจะซัดชายฝั่งเข้า-ออก ทำให้ทรายไหลไปตามคลื่นและกระแสน้ำ โดยมีหาดทรายเป็นตัวชะลอความแรงของคลื่น ซึ่งหากสร้างกำแพงกันคลื่นขึ้นมา […]

ส่องนโยบายสิ่งแวดล้อมโลกปี 2021

ปฏิทินหมุนเข้าปี 2021 เข็มชีวิตเดินไปข้างหน้าในขณะที่นาฬิกาโลกกำลังนับถอยหลัง ในปีที่ผ่านมาการละลายของแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่กรีนแลนด์เดินเข้าสู่จุดที่ไม่มีวันหวนกลับ ภัยธรรมชาติหลายอย่างกำลังรุมเร้าจนสถานการณ์ของโลกตั้งอยู่ในความไม่แน่นอน   แม้ธรรมชาติกำลังสะสมขุมกำลังเพื่อเดินหน้าเข้าโจมตี แต่ทั่วโลกกำลังหาทางหยิบยื่นสันติ ถึงสถานการณ์ระหว่างประเทศจะเต็มไปด้วยข้อขัดแย้ง แต่นานาชาติเห็นไปในทางเดียวกันว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรอไม่ได้ ในปี 2021 นี้คืออีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในการแก้ปัญหาโลก ก่อนที่จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าจะลงเอยเช่นไรในปี 2030 . ตามไปดูนโยบายสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในปีหน้า ที่ขยับเขยื้อนกันตั้งแต่ระดับโลกไปจนถึงเอกชน  THE WORLD AGREEMENT : ทั่วโลกลงนามเพื่อสิ่งแวดล้อม ย้อนกลับไปในปี 2015 ท่ามกลางสนามการค้าที่คุกรุ่นและระอุไม่ต่างจากอุณหภูมิของโลกที่ค่อยๆ สูงขึ้น หลายประเทศต่างลงนามเพื่อเข้าร่วม ‘ข้อตกลงปารีส’ (Paris Agreement) ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อหวังว่าสถานการณ์ของโลกจะดีขึ้น  นับจากการบังคับใช้ข้อตกลงปารีสในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2016 เพื่อหวังให้สิ่งแวดล้อมพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น สถานการณ์ของโลกกลับย่ำแย่ราวตลกร้าย จนผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่าข้อตกลงปารีสไม่เพียงพอจะป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ก่อนยุคอุตสาหกรรม หรือขีดจำกัดที่ 2 องศาเซลเซียส ตามคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ แต่ทิศทางของแต่ละประเทศในอนาคตเต็มไปด้วยความน่าสนใจหลังจากเวลา 5 ปีที่ผ่านมายังไม่เห็นผล   นอกจากในปี 2030 จะครบกำหนดสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงปารีส สำหรับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 – […]

‘Upcycle’ ผ้าห่มจากพลาสติก ทางออกใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาขยะที่ยั่งยืน

‘พิษจาก COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพจิตของพวกเราทุกคนเพียงเท่านั้น’ แต่ยังส่งผลกระทบต่อโลกไม่น้อยเลยทีเดียว New Normal ทำให้ผู้คนหันมาอยู่บ้านมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากความหวาดระแวงไม่อยากพบเจอผู้คน จึงทำให้ไม่อยากออกจากบ้านไปไหน เพื่อลดอัตราความเสี่ยงต่อโรค COVID-19 อีกทั้งความนิยมที่พุ่งสูงของบริการ Food Delivery ที่แม้จะทำให้เราสะดวกสบาย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยปริมาณขยะพลาสติกที่สูงขึ้นเช่นกัน ท่ามกลางความสะดวกสบายกลับส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิดเมื่อขยะพลาสติกจำนวนมากจากระบบ Food Delivery และ Online Shopping ส่งผลให้ขยะพลาสติกในกรุงเทพมหานครเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 60 ในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นปัญหาพลาสติกในท้ายที่สุด ปัญหาของขยะพลาสติก ในหนึ่งวันคนกรุงเทพฯ สร้างขยะจำนวนมากถึง 10,500 ตัน คิดเป็นขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 20 หรือ 2,000 ตันต่อวัน แต่หลังจากการเข้ามาของ COVID-19 ทำให้ปริมาณขยะโดยรวมลดลงคิดเป็นร้อยละ 11 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับน่ากลัวกว่าที่คิดเพราะถึงแม้ขยะโดยรวมจะลดลง แต่ปริมาณขยะพลาสติกกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นกังวล โดยมีจำนวนขยะพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 60 ในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นปัญหาในเรื่องการจัดการขยะ นั่นเป็นเพราะถ้าเทียบกับขยะชนิดอื่นๆ แล้ว ขยะพลาสติกนั้นกำจัดยากกว่าขยะชนิดอื่น เนื่องจากพลาสติกถูกออกแบบมาให้มีความคงทนในการใช้งาน ซึ่งตัวมันเองตอบโจทย์การทำงานอย่างสูง แต่อาจจะดีเกินไปสักหน่อย จนไม่ตอบโจทย์การจัดการสักเท่าไหร่ กลายเป็นข้อเสียที่ใหญ่หลวงเพียงข้อเดียวคือ […]

“เพราะเรามีโลกแค่ใบเดียว” รักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืนและแก้วิกฤตประเทศ ด้วย ‘หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน’

หลายคนกำลังนับถอยหลังให้ปี 2020 จบลงโดยเร็ว จากสารพัดปัญหาที่โหมกระหน่ำอย่างไม่หยุดยั้ง นอกจากโควิด-19 ที่เป็นวิกฤตครั้งใหม่ ภัยธรรมชาติที่คุ้นเคยก็ดาหน้าเข้ามาเล่นงานอย่างต่อเนื่อง เราเจอกับภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ขยะที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ทรัพยากรมากขึ้นด้วยวิถีชีวิตแบบ New Normal และในเวลาไล่เลี่ยกัน ฝุ่น PM2.5 เจ้ากรรมก็ทำท่าจะกลับมาประจำการอีกต่างหาก แม้จะฟังดูหดหู่แต่อย่ารีบหมดหวัง เพราะเชื่อว่าทุกคนก็พร้อมจะร่วมใจกันแก้ปัญหา  เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้คนจากหลายภาคส่วนได้มาร่วมระดมความคิด และค้นหาแนวทางที่ดีที่สุดในการที่เราจะอยู่ร่วมกันบนโลกได้อย่างยั่งยืนในงาน SD Symposium 2020 “Circular Economy: Actions for Sustainable Future” ที่จัดขึ้นโดย เอสซีจี  ซึ่งทำให้เห็นถึงความสำคัญของ ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ ที่จะเป็นทางออกให้กับปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อไปถึงสังคม และเศรษฐกิจ จึงอยากชวนทุกคนมาดูส่วนหนึ่งจากกว่า 200 โครงการ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของพันธมิตร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนไปด้วยกัน  ขยะเป็นศูนย์ทำได้ หากร่วมมือกัน ย้อนไปช่วงที่ชาวไทยล็อกดาวน์ เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ปริมาณขยะจากบริการส่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 15 เปอร์เซ็นต์ และมีมากถึง 6,300 ตัน/วัน […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.