‘Forest Crayons’ กระตุ้นการดูแลป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น ด้วยการผลิตสีเทียนธรรมชาติจากไม้รีไซเคิล

ปกติแล้ว ไม้มักจะถูกนำมาแปรรูปเป็นของใช้ต่างๆ ที่ยังคงลักษณะของไม้เอาไว้ แต่สตูดิโอออกแบบในญี่ปุ่นได้มองเห็นความพิเศษของไม้ในมุมที่แตกต่างออกไป ทำให้เราได้เห็นการรีไซเคิลออกมาในรูปแบบใหม่อย่างสีเทียน ‘Daniel Coppen’ และ ‘Saki Maruyama’ ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบ Playfool พบว่า พื้นที่สองในสามของประเทศญี่ปุ่นปกคลุมไปด้วยต้นไม้ที่ถูกปลูกขึ้นหลังช่วงสงครามกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติ จึงต้องคอยตัดและปลูกต้นไม้อยู่เป็นประจำ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ไม้ในประเทศนั้นก็ลดน้อยลง ทำให้การดูแลต้นไม้เหล่านี้ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างความเสี่ยงต่อภัยพิบัติปัญหาดินถล่มตามมาด้วย Playfool ได้คิดถึงวิธีการนำไม้เหล่านั้นมาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลรักษาป่าไม้ และทำให้คนรุ่นหลังเห็นถึงคุณค่าของป่าไม้ เกิดเป็น Forest Crayons สีเทียนจากไม้รีไซเคิล ที่นำมาใช้งานได้จริง และยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย สีเทียนนี้สกัดขึ้นจากเม็ดสีจากต้นไม้สายพันธุ์ต่างๆ เช่น ซีดาร์ ไซเปรส และแมกโนเลีย ผสมกับไม้ ขี้ผึ้งข้าว และน้ำมันข้าว จนได้ออกมาทั้งหมด 10 สี ที่ไม่ได้มีแค่โทนน้ำตาลอย่างสีไม้ที่เราคุ้นเคยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว สีของไม้ในธรรมชาตินั้นมีหลากหลายเฉด ไม่ว่าจะเป็นสีเขียวอ่อนของต้นแมกโนเลีย ไปจนถึงสีเขียวอมฟ้าเข้มของไม้ที่ย้อมเชื้อรา โดยเฉดสีต่างๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ไม้แต่ละชนิดแล้ว ก็ยังเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้เหล่านั้นเติบโต มากไปกว่านั้น Forest Crayons ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยป่าไม้ของญี่ปุ่นอีกด้วย […]

‘ป่าทับคน คนทับป่า’ มาทำความเข้าใจต้นตอของปัญหา ผ่าน Interactive ที่เล่าเรื่อง 360 องศา

ทุกครั้งที่เห็นข่าวเรื่องความขัดแย้งเรื่องคนกับป่า คุณคิดว่าคุณเข้าใจเรื่องนี้มากแค่ไหน ก่อนจะตัดสินว่าใครคือผู้บุกรุกป่า เราอยากชวนมาสำรวจปัญหา ‘ป่าทับคน คนทับป่า’ ผ่านงาน Interactive Scrollytelling ชิ้นล่าสุดของ Punch Up ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ Southeast Asia Rainforest Journalism Fund โดย Pulitzer Center เพื่อบอกเล่าปัญหาเรื่องคนกับป่าในทุกมิติ ผลงานชิ้นนี้นำข้อมูลและตัวอย่างมุมมองจากพื้นที่มาเล่า ผสมผสานด้วย Data Visualization วิดีโอ และภาพ 360 องศา ทำให้คุณเห็นปัญหาจากพื้นที่จริงได้ทั้งด้านกว้างและลึก และทำเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่ายผ่านภาพและกราฟิกที่ทีมงานย่อยมาให้แล้ว งานชิ้นนี้จะพาเราตั้งคำถามและหาคำตอบว่า ปัญหาความขัดแย้งเรื่องคนกับป่ามีจุดเริ่มต้นที่ตรงไหน นโยบายทวงคืนพื้นที่ป่าสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าได้จริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้วคำตอบอยู่ที่การต้องทำความเข้าใจ ว่าการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวบ้านกับป่านั้น ‘ไม่ใช่ปัญหา’ ตั้งแต่ต้น แล้วใครกันแน่ที่เป็นต้นตอของปัญหาเรื่องนี้ งาน Data Visualization ชิ้นนี้ได้ร่วมกับ workpointTODAY ในการนำเสนองานสู่สาธารณะ และมีพาร์ตเนอร์ด้านข้อมูลจาก Land Watch THAI และ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ และทีมภาพถ่าย/วิดีโอ The […]

รัสเซียมีแผนใช้ป่าในประเทศ เป็นศูนย์กลางดักจับมลพิษขนาดใหญ่ ที่คาดว่าดูดซับคาร์บอนฯ ได้ 620 ล้านตัน

ปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษมากที่สุดในโลกเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้เอง รัสเซียจึงมีแผนที่จะใช้ป่าในประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงสองเท่า หรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งโลก ให้เป็นศูนย์กลางดักจับคาร์บอนฯ ขนาดใหญ่ โดยคาดว่าจะดูดซับคาร์บอนฯ ได้เกือบ 620 ล้านตันเทียบเท่าปี 2018 ซึ่งเพียงพอที่จะชดเชยการปล่อยมลพิษในประเทศได้ราว 38 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ ยังมีแผนเปิดแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อรวบรวมข้อมูลดาวเทียมและโดรนเกี่ยวกับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนฯ ของป่าไม้ในประเทศอีกด้วย หลายฝ่ายมองว่าการปลูกต้นไม้ไม่สามารถช่วยลดคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศ พวกเขาแค่ต้องการลบคำครหาที่ว่าเป็นผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ที่สุดของโลก และต้องการสร้างรายได้โดยการให้องค์กรอื่นๆ เช่าพื้นที่ตรงนี้ เพื่อปลูกป่าชดเชยที่ปล่อยคาร์บอนฯ ค่อนข้างน่าจับตามองว่า หลังจากนี้รัสเซียจะเดินหน้าต่ออย่างไรท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ ถ้าพวกเขาทำได้จริงๆ ก็ถือเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง Sources :Bloomberg | https://bloom.bg/3sZg5IyEarth | https://bit.ly/3wJhaGD 

คืนชีพป่าหลังไฟไหม้ เร็วหรือช้า ‘โลกร้อน’ คือกุญแจสำคัญ

ชวนทุกคนมาทำความเข้าใจวิธีการฟื้นตัวของป่า รวมถึงหาเหตุผลว่าโลกร้อนเกี่ยวข้องอย่างไรกับการเรียกคืนป่าอีกครั้ง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.