‘Fast Fashion ช็อปล้างโลก’ นิทรรศการหมุนเวียนเรื่องแฟชั่น วันที่ 3 ส.ค. – 3 ธ.ค. 66 ที่มิวเซียมสยาม

ปัญหาเรื่อง ‘ฟาสต์แฟชั่น’ ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้คนถกเถียงอยู่เสมอว่าเทรนด์เสื้อผ้าเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไร จะต้องใช้เสื้อผ้าแบบไหนถึงจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือมีทางไหนบ้างที่จะช่วยให้เราสนุกกับการแต่งตัวแต่ก็ยังรักษ์โลกไปด้วยกันได้ เราจึงอยากชวนทุกคนไปเรียนรู้และทำความเข้าใจปัญหาฟาสต์แฟชั่นที่เกิดขึ้นกับ ‘Fast Fashion ช็อปล้างโลก’ นิทรรศการหมุนเวียนประจำปีที่ ‘มิวเซียมสยาม’ ที่จะชวนทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยกันคิดและหาทางออกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปกับเทรนด์แฟชั่นที่มาเร็วไปไว แต่ทิ้งความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเอาไว้บนโลก นิทรรศการ Fast Fashion ช็อปล้างโลก จะบอกเล่าเรื่องราวในหลากหลายแง่มุม ตั้งแต่ผลกระทบของฟาสต์แฟชั่นที่เกิดขึ้น ทั้งในส่วนของธุรกิจแฟชั่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้แรงงานในการผลิต รวมไปถึงวิธีการที่จะช่วยรักษาโลกของเราผ่านตัวเลือกต่างๆ ที่สามารถเริ่มได้ด้วยตัวเอง ตัวนิทรรศการหลักจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม – 3 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. (ยกเว้นวันจันทร์) ที่ห้องนิทรรศการชั่วคราว ชั้น 1 อาคารนิทรรศการ มิวเซียมสยาม เข้าชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนวันที่ 5 สิงหาคม 2566 นิทรรศการนี้จะมีกิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้นวันเดียวเท่านั้น นั่นคือ ‘Slow Fashion Market คืนชีวิตให้เสื้อผ้ามือสอง’ พบกับร้านค้ากว่า […]

ปลายทางของเสื้อผ้าที่ขายไม่ออก ภูเขาขยะเสื้อผ้ามหึมาในทะเลทรายชิลี ผลกระทบจากอุตสาหกรรม Fast Fashion

สินค้า Fast Fashion ได้รับความนิยมและกลายเป็นกระแสไปทั่วโลกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าแฟชั่นต่างๆ ออกมาอย่างรวดเร็ว ในราคาที่ต่ำที่สุด เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการแต่งตัวตามกระแสและเน้นใส่เพียงไม่กี่ครั้ง แต่กระแสนิยม Fast Fashion ก็ถูกตั้งคำถามอย่างหนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย Fast Fashion กำลังเป็นปัญหาระดับโลก เห็นได้จากกองภูเขาขยะเสื้อผ้ามหึมาที่ถูกทิ้งร้างในทะเลทรายอาตากามา (Atacama) ในประเทศชิลี ซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก เสื้อผ้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกผลิตในจีนและบังกลาเทศ ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังยุโรป เอเชีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนชิลีคือปลายทางสุดท้าย ทำให้ชิลีกลายเป็นศูนย์กลางของเสื้อผ้ามือสองและเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ในแต่ละปีมีเสื้อผ้าจากทั่วโลกประมาณ 59,000 ตัน ถูกส่งมายังท่าเรืออิกิเก (Iquique Port) ในเขตปลอดอากร อัลโต ฮอสปิซิโอ (Alto Hospicio Free Zone) ทางตอนเหนือของชิลี เสื้อผ้าจำนวนหนึ่งมีบรรดาพ่อค้าเดินทางมาซื้อเพื่อไปขายต่อ ขณะที่บางส่วนถูกลักลอบส่งต่อไปยังประเทศแถบลาตินอเมริกา  ทั้งนี้ จะมีเสื้อผ้าราว 39,000 ตันที่ไม่สามารถขายได้และต้องมาจบลงที่กองขยะในทะเลทรายอาตากามา ทำให้ขยะแฟชั่นกองพะเนินอย่างที่เห็น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าไม่มีใครจ่ายภาษีให้กับเสื้อผ้าที่ขายไม่ได้ สินค้าแฟชั่นเหล่านี้จึงต้องอยู่ในเขตปลอดภาษีต่อไป โดยสาเหตุสำคัญที่ชิลีมีภูเขาขยะเสื้อผ้าขนาดยักษ์ก็เพราะว่า สินค้าเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ (Non-biodegradable) และยังมีสารเคมี […]

จีนเจอวิกฤตเสื้อผ้าล้นประเทศ 26 ล้านตัน ผลจากการผลิตที่เน้นปริมาณมากเกินไป

รู้หรือไม่ ทุกๆ ปีจีนจะทิ้งเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วกว่า 26 ล้านตัน และมีเพียงแค่ 1% ของเสื้อผ้าเหล่านั้นที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.