เนเธอร์แลนด์รีโนเวตบ้านเก่า ให้ประหยัดพลังงานได้ภายใน 1 วัน ตั้งเป้าอาคารทุกหลังปล่อย CO2 เป็นศูนย์

บริษัทจากเนเธอร์แลนด์กำลังนำเสนอวิธีการใหม่ที่จะทำให้อาคารเก่าประหยัดพลังงานได้มากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาการก่อสร้างขนาดใหญ่  ในเวลาอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าอาคารทุกหลังบนโลกจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศของโลก และเนื่องจากอาคารส่วนใหญ่บนโลกถูกก่อสร้างมานานแล้วและใช้พลังงานแบบเก่าที่กินทรัพยากรและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก นั่นหมายความว่าจะต้องมีการปรับปรุงจำนวนมาก เพื่อลดการใช้พลังงานในอาคารนั่นเอง Martha Campbell อาจารย์ใหญ่จากโปรแกรมปลอดคาร์บอนของ RMI องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ศึกษาเกี่ยวกับพลังงานบอกว่าในสหรัฐอเมริกามีอาคารประมาณ 3 – 6 ล้านหลังต่อปีที่ต้องปรับให้การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ รวมถึงบ้านราว 15,000 หลังต่อวัน หากจะบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยคาร์บอนให้ทันภายในปี 2050  Energiesprong องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้การสนับสนุนซึ่งเปิดตัวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว กำลังทำงานเกี่ยวกับระบบการปรับปรุงบ้านเพื่อเร่งให้กระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนเกิดได้ไวขึ้น ผ่านโครงการที่ชื่อว่า RC Panels ที่ทำการผลิตแผงโซลาร์เซลล์น้ำหนักเบาซึ่งสามารถนำไปติดตั้งบนอาคารเก่าได้ทันที โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์วัดขนาดบ้านจริง ทำการตัดแผงที่ทับซ้อนกับตำแหน่งของหน้าต่างและประตูออกจากโรงงานเพื่อให้เข้ากันได้พอดีกับขนาดและตำแหน่งของอาคารทุกหลัง บวกกับบริการปรับเปลี่ยนปั๊มหรือท่อสำหรับทำความร้อนและน้ำเย็น ซึ่งดำเนินการได้รวดเร็วกว่าบริการแบบดั้งเดิมมาก ใช้เวลาเพียงวันเดียวสิ่งปลูกสร้างเก่าก็สามารถประหยัดพลังงานได้ทันที Christian Richter ทีมพัฒนาตลาดของ Energieprong บอกว่ากระบวนการดังกล่าวควรเป็นลักษณะของ Plug and Play กล่าวคือสามารถติดตั้งและพร้อมใช้งานได้ทันที สาเหตุเพราะว่าหลายประเทศในโลกนี้เช่นยุโรปกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน การรีโนเวตหรือปรับปรุงโครงสร้างแบบดั้งเดิมจึงกินเวลาและทรัพยากรมากเกินไป แต่พวกเขามีภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีความสามารถในการผลิตมากเพียงพอสำหรับเทคโนโลยีแบบนี้ เป้าหมายของการดำเนินงานในครั้งนี้คือการทำให้บ้านแต่ละหลังมีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หมายความว่าแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาต้องผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอตลอดทั้งปี เท่ากับพลังงานที่ใช้ในการทำความร้อน น้ำร้อน และเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งตอนนี้เมืองยูเทรกต์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี […]

‘Orkney’ หมู่เกาะในสกอตแลนด์ ต้นแบบเมืองพลังงานไฮโดรเจน

สาธารณูปโภคพื้นฐานที่กลายเป็นปัจจัยในการใช้ชีวิตและการขับเคลื่อนเมืองไปข้างหน้า อย่างหนึ่งคือ ‘ไฟฟ้า’ ในอดีตไฟฟ้าคือตัววัดความเจริญที่บ้านไหนเมืองไหนไฟฟ้าเข้าถึงถือว่าพัฒนาแล้ว ทุกวันนี้ความต้องการใช้พลังงานของคนทั้งโลกมากขึ้นทุกปี แต่การผลิตกระแสไฟฟ้านั้นมีส่วนสำคัญที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

รวม 5 เสบียงฉุกเฉินสำหรับปฏิบัติการณ์พิเศษ

จากคลิปเหตุการณ์ปะทะระหว่างหน่วยปฏิบัติการพิเศษกับคนร้ายในเหตุกราดยิงโคราช มีคนพบเห็น ‘กล้วยตาก’ ที่วางเป็นเสบียงฉุกเฉินไว้ไม่ห่างมือ เพื่อการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน ซึ่งต้องเป็นของที่ทำให้อิ่มท้อง น้ำหนักเบา พกง่าย และเก็บไว้ได้นาน จึงเป็นเรื่องท่ีน่าสนใจว่านอกจาก ‘กล้วยตาก’ แล้ว ในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ ยังมีอาหารประเภทไหนเป็นเสบียงได้อีกบ้าง ? กล้วยตาก เริ่มจาก ‘กล้วยตาก’ เรียกได้ว่าเป็น ‘Energy bar’ แบบไทยๆ ที่ไม่ได้มีดีแค่การถนอมอาหารเท่านั้น เพราะประโยชน์ของกล้วยตากนั้นมีเยอะมาก โดยกล้วยตาก 1 ลูก ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี ทั้งยังมีคาร์โบไฮเดรต รวมถึงน้ำตาลฟรุกโทส ชูโครส และกลูโคส ในปริมาณเหมาะสม ที่ส่งพลังงานโดยตรงแก่ร่างกาย และสมอง นอกจากนี้ มีเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งช่วยทำให้จิตใจสบาย ไม่หงุดหงิดง่าย และไฟโตเคมิคอล (Phytochemical) ที่ช่วยชะลอความแก่ได้ จึงไม่แปลกใจว่า ทำไมการกินกล้วยตากถึงสามารถทำให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แถมยังสามารถหยิบกินได้อย่างง่าย สะดวกต่อการทำงานอีกด้วย หมากฝรั่ง (Mililtary Energy Gum) อีกหนึ่งเสบียงฉุกเฉินที่ขาดไม่ได้คือ ‘หมากฝรั่ง’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.