ปีใหม่ แบรนด์ใหญ่เปลี่ยนโปรดักต์ใหม่ Tim Hortons เตรียมลดการใช้พลาสติกด้วยช้อนส้อมและฝาแก้วเป็นมิตรต่อโลก

ปีใหม่ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นคนใหม่กันหมด รวมไปถึงแบรนด์ดังอย่าง Tim Hortons ที่ออกมาตรการปรับเปลี่ยนการใช้ช้อนส้อมและฝาแก้วจากพลาสติกมาเป็นวัสดุที่ไม่ทำลายธรรมชาติอย่างไม้และไฟเบอร์ เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คาดว่าจะช่วยลดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งได้มากถึง 90 ล้านชิ้นต่อปีเลยทีเดียว นอกจากจะเปลี่ยนวัสดุของผลิตภัณฑ์แล้ว Tim Hortons ยังทดลองใช้อุปกรณ์ห่ออาหารเช้าและกลางวันแบบใหม่ที่จะลดการใช้วัสดุในการผลิตถึง 75 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งรวมๆ แล้วทั้งหมดนี้จะประหยัดวัสดุได้มากกว่า 1,400 ตันต่อปี  ยังไม่นับรวมความตั้งใจที่จะเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และเปลี่ยนมาให้บริการถุงที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้กับลูกค้า โดยทางแบรนด์ยังมองหาวิธีต่างๆ ในการเลือกวัสดุและการออกแบบอย่างรอบคอบ เพื่อลดและเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สร้างขยะให้โลก รวมถึงสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมที่ยั่งยืนมากขึ้นด้วย ตอนนี้ทางบริษัทกำลังอยู่ในขั้นตอนทดสอบการใช้งานฝาเครื่องดื่มร้อนไฟเบอร์ที่รีไซเคิลได้ โดยตั้งใจจะทดสอบในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นทางเลือกที่ใช้งานได้จริง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังคงมีคุณสมบัติทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม  หากการทดลองใช้งานเป็นไปด้วยดี สาขาอื่นๆ ของ Tim Hortons ทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงสาขาประเทศไทยก็อาจได้ใช้มาตรการนี้ เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับเสิร์ฟความอร่อยให้ผู้ใช้บริการก็เป็นได้ Source : DesignTAXI | bit.ly/3QfvcKc

Eco-friendly Music Festivals 8 เทศกาลดนตรีที่การันตีเรื่องความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลายที่ทั่วโลกเริ่มกลับมาจัดอีเวนต์กันได้ตามปกติหลังจากต้องหยุดไปชั่วคราวเพราะโควิด-19 โดยเฉพาะ ‘เทศกาลดนตรี’ หรือ ‘Music Festival’ ที่หลายคนอดใจรอไปสนุกกับเสียงเพลงและกิจกรรมต่างๆ ภายในงานแทบไม่ไหวแล้ว ทว่าการจัดงานเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่แต่ละครั้งย่อมมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมของเทศกาลประเภทนี้ย่อมสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น มลพิษจากการขนส่ง และขยะจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนั้น หากมีการจัดงานเทศกาลดนตรีบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็มีผลต่อความยั่งยืนทางธรรมชาติอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกงานเทศกาลจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Urban’s Pick ครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ 8 เทศกาลดนตรีทั่วโลก ที่นอกจากจะมอบความสุขและความสนุกผ่านเสียงดนตรีแล้ว เหล่านี้ยังจัดงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนเป็นหลักด้วย  แถมทั้งหมดยังการันตีเรื่องความรักษ์โลก เพราะล้วนได้รางวัลจาก A Greener Festival องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยให้งานแสดงดนตรีมีความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาแล้วทั้งนั้น  Terraforma Festival ประเทศ : อิตาลี ช่วงที่จัดแสดง : เดือนกรกฎาคม เริ่มต้นกันที่เทศกาลดนตรีจากประเทศอิตาลี ‘Terraforma Festival’ ที่จัดขึ้นในป่า Villa Arconati นอกเมืองมิลาน เทศกาลนี้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและพยายามลดผลกระทบจากการก่อสร้างตัวงานให้เหลือน้อยที่สุด เช่น ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์, ใช้หลอดไฟ LED, ใช้ระบบควบคุมน้ำสำหรับฝักบัวและอ่างล้างมือเพื่อลดการใช้น้ำ รวมถึงนำเอาวัสดุส่วนเกินที่เหลือจากการก่อสร้างมาใช้ใหม่เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น โต๊ะ […]

ล้ำไปอีกขั้น! นักวิจัยจีนค้นพบวิธีผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิแซลมอน’ ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ทั่วโลกคิดค้นวิธีต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งการรณรงค์ลดใช้พลาสติก รวมไปถึงการทำวัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ อย่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ และมันสำปะหลัง  ไอเดียล่าสุดที่น่าสนใจก็คือการผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิปลาแซลมอน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ขั้นตอนในการผลิตก็คือ การแยกสายดีเอ็นเอสองสายออกจากอสุจิปลาแซลมอน หลังจากนั้นก็นำสายดีเอ็นเอไปผสมกับสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันพืช เมื่อโมเลกุลจับตัวกันก็จะได้ ‘ไฮโดรเจลสังเคราะห์’ สารประกอบเนื้อเจลที่สามารถกักเก็บและรักษาปริมาณน้ำได้ 99% เมื่อมีเจลแล้วก็นำไปเทใส่พิมพ์รูปทรงต่างๆ อย่างเช่น แก้วมัค จิ๊กซอว์ โมเดลดีเอ็นเอ และของชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำพิมพ์ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เพื่อให้รูปทรงต่างๆ เซตตัวอย่างสมบูรณ์ ท้ายที่สุดก็จะได้วัสดุที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘พลาสติกที่ทำจากดีเอ็นเอ’ (DNA-based Plastic) แม้ว่าการผลิตพลาสติกจากอสุจิแซลมอนยังคงต้องใช้ความร้อนและพลังงาน แต่ Dayong Yang หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า พลาสติกชนิดนี้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในบรรดาพลาสติกที่รู้จัก เนื่องจากการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกทั่วๆ ไป อีกข้อดีของพลาสติกชนิดนี้คือรีไซเคิลง่าย เพียงแค่ใช้เอนไซม์พิเศษสำหรับย่อยสลายดีเอ็นเอ หรือจะนำไปจุ่มน้ำเพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับไปเป็นเจลก็ได้ เพราะพลาสติกชนิดนี้จะนิ่มและยืดหยุ่นเมื่อโดนน้ำ  ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติการย่อยสลายง่ายทำให้พลาสติกดีเอ็นเอยังไม่เหมาะที่จะเป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำให้แก่วัสดุประเภทนี้อยู่ ทั้งนี้ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.