Baan Lek Villa บ้านของสถาปนิกสาวเมืองจันท์ที่อยากให้คุณรู้จักและรักจันทบุรีมากขึ้น
พาไปหลีกหนีความวุ่นวายที่ ‘บ้านเล็กวิลล่า’ บ้านใต้ถุนสูงกลางสวนที่จะทำให้คุณตกหลุมรักเมืองจันท์ยิ่งขึ้น
พาไปหลีกหนีความวุ่นวายที่ ‘บ้านเล็กวิลล่า’ บ้านใต้ถุนสูงกลางสวนที่จะทำให้คุณตกหลุมรักเมืองจันท์ยิ่งขึ้น
‘High loop’ คือโปรเจกต์ของสตูดิโอออกแบบ 100architects ผู้ปรับปรุงสะพานคนเดิน ‘Puji’ ในเซี่ยงไฮ้ให้สวย สดใส น่าใช้งานมากขึ้น สะพาน ‘Puji’ สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1997 ตรงแม่น้ำหวู่ซงหรือแม่น้ำซูโจว สำหรับคนเดินเท้าเท่านั้น โดยมีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างเขตจิ้งอัน (Jing’ an) และจ่าเป่ย (Zhabei) ของนครเซี่ยงไฮ้ ในปี ค.ศ. 2009 นอกจากนี้เพื่อต้อนรับงาน ‘Expo Shanghai 2010’ สะพานได้รับการปรับปรุงเพื่อให้คนที่ใช้มอเตอร์ไซต์ จักรยาน หรือสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า สามารถขับขี่ผ่านเส้นทางนี้ได้ ปัจจุบันแม้ Puji จะถูกยกระดับให้เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของเมือง แต่เชื่อหรือไม่ว่า เวลาถูกประเมินเรื่องเอกลักษณ์และศักยภาพต่างๆ มันกลับอยู่อันดับท้ายๆ เมื่อเทียบกับสะพานอื่นๆ ดังนั้น ‘100architects’ สตูดิโอออกแบบจากจีน จึงเสนอ ‘High loop’ โปรเจกต์เปลี่ยนสะพาน Puji ให้เป็นสวนสาธารณะ เพื่อให้ผู้คนได้มีสถานที่หลีกหนีจากการจราจรที่วุ่นวายในเซี่ยงไฮ้ ทั้งยังได้สัมผัสประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่ที่ไม่เหมือนใคร ภายใต้แนวคิดการออกแบบที่เน้นให้ความรู้สึกเหมือนการไหลเวียนของสายน้ำด้วยรูปร่างโค้งมนสลับไปมาแบบห่วง […]
โปรเจกต์ ‘Where We Stand’ คือการรวมตัวกันของสตูดิโอสถาปนิกชั้นนำ 15 แห่งจากทั่วทุกมุมโลกที่ได้รับเชิญมาให้เสนอไอเดียในการออกแบบพื้นที่สาธารณะแบบ Socially Distanced โดยแต่ละทีมได้เลือกพื้นที่สาธารณะที่ชื่นชอบ และเสนอไอเดียใหม่ที่สร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น ปลอดภัย และเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความระมัดระวังตัวมากขึ้น
ชวนส่องโรงแรมสู้คอนเทนเนอร์ Geneseo Inn ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่หยิบวัสดุต่างๆ มารีไซเคิลเป็นที่พักน่านอน
ส่องโมเดล ‘บ้านกลางทะเล’ เพื่อชาวเกาะท้องถิ่น จากสถาปนิกชาวฟิลิปปินส์
ที่ซิดนีย์ ออสเตรีเลีย กำลังมีโปรเจกต์อาคารไม้สูงที่สุดในโลก เพื่อแข่งขันชิงแชมป์ทั่วโลก
Purrcraft แบรนด์ปลอกคอแมวนิรภัย ที่ใส่ใจแมวตั้งแต่เลือกวัสดุธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อผิวแมวเลี้ยง และนำยอดขายไปบริจาคให้แมวจร ทั้งยังช่วยให้นักโทษในเรือนจำได้มีรายได้จากการเย็บปลอกคอแมว
กว่าจะเป็น ‘บุญ-แชร์ COLLECTION’ เก้าอี้ไม้สักสำหรับผู้สูงวัยจากฝีมือชาวแพร่
ชวนดูการออกแบบ YORIDOKO ศูนย์จ้างงานสำหรับคนพิการ ประเทศญี่ปุ่น โดยสถาปนิกท้องถิ่น
หากพูดถึงการล้างมือในช่วงการปรับตัวแบบ new normal นี้ สบู่กลายเป็นของจำเป็นสำหรับยุค Covid-19 ที่ขาดไม่ได้ ซึ่งการล้างมือบ่อยๆ ได้กลายเป็นด่านแรกของการป้องกันการแพร่กระจายไวรัสนี้ เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคออกจากมือของเราได้มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 90% แต่มีทริคเล็กน้อยว่าจะต้องล้างมือประมาณ 20 วินาทีขึ้นไปจึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด
‘Wutopia Lab’ บริษัทสถาปัตยกรรมระดับโลกจากจีน ได้ปรับปรุงสถานที่ประวัติศาสตร์อย่าง ‘โบสถ์เซนต์นิโคลัส’ ในมหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ให้กลายเป็น ‘Sinan Books Poetry Store’ ร้านขายหนังสือบทกวีกว่า 1,880 เล่มในภาษาต่าง ๆ ทั้งยังออกแบบมาเพื่อให้ที่แห่งนี้เป็นร้านขายบทกวีที่ใหญ่ที่สุดในเซี่ยงไฮ้อีกด้วย ‘โบสถ์เซนต์นิโคลัส’ ในเซี่ยงไฮ้ คืออดีตคริสตจักรออร์โธด็อกซ์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1932 เป็นโบสถ์ที่ผู้ลี้ภัยชาวรัสเซียในเซี่ยงไฮ้ที่หลบหนีจากการปฏิวัติรัสเซียช่วงปี ค.ศ.1917 ใช้ทำพิธีกรรมทางศาสนา จนเมื่อเกิดสงครามกลางเมืองในจีนทำให้ชาวยุปโรปเดินทางออกไป ที่แห่งนี้จึงถูกดัดแปลงเป็นโรงงานเครื่องซักผ้า คลังสินค้า โรงอาหาร สำนักงาน ที่อยู่อาศัยและสโมสร ครั้งหนึ่งยังเคยเป็นที่ตั้งของร้านอาหารฝรั่งเศส และบาร์ทาปาสของสเปน จากนั้นก็ถูกปล่อยร้างเรื่อยมา ‘Yu Ting’ หัวหน้าทีมออกแบบของ Wutopia Lab กล่าวว่า “แม้ภายนอกโบสถ์หลังนี้จะมีสภาพทรุดโทรม แต่หลังจากที่สำรวจอย่างจริงจัง ก็ได้เห็นร่องรอยประวัติศาสตร์ของการก่อสร้างที่มีมาตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นเราจึงพยายามที่จะรวบรวมการดีไซน์แบบเก่าที่มีอยู่แล้วเข้าไปกับการตกแต่งแบบใหม่ที่ทันสมัย เพื่อให้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวได้อย่างลงตัว” สำหรับการปรับปรุงโบสถ์ เนื่องด้วยเป็นอาคารมรดก จึงต้องได้รับอนุญาตจากศูนย์คุ้มครองอาคารประวัติศาสตร์เซี่ยงไฮ้ นั่นหมายความว่าจะไม่มีการดัดแปลงใดๆ กับตัวอาคารภายนอกของโบสถ์ ส่วนใหญ่จะเน้นที่การตกแต่งภายในเป็นหลัก และเมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว การเปลี่ยนโบสถ์ร้างให้กลายเป็นร้านหนังสือบทกวีก็เริ่มขึ้น ร้านหนังสือเหล็กใช้เหล็กทั้งหมด 45 […]
‘Shatron Mute’ คือ ‘มิวท์ทรัมเป็ต’ อุปกรณ์เก็บเสียงเครื่องดนตรีทองเหลืองที่ทำจากเศษไม้รีไซเคิล เป็นผลงานการออกแบบของนักวิจัย 4 คน คือ Ermanno Aparo, Liliana Soares, João Teixeira และ Jorge Passos ที่รวมกันเป็นกลุ่มวิจัยการออกแบบชื่อว่า ‘Altempo’ Shatron ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) และใช้วัสดุโพลีเมอร์เสริมด้วยเส้นใยคาร์บอนเพื่อเสริมความแข็งแรงทนทาน และด้วยคุณสมบัติของ ‘ไม้’ ที่ใช้ทำมิวท์ทรัมเป็ตตัวนี้ ทำให้สร้างโทนเสียงที่นุ่มและหวานกว่ามิวท์ทรัมเป็ตที่ทำจากโลหะ จุดประสงค์ในการพัฒนาของทั้ง 4 คนในครั้งนี้ นอกจากต้องการขยายมิวท์ทรัมเป็ตไปใช้กับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในตระกูลเครื่องเป่าโลหะแล้ว พวกเขายังอยากแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เศษไม้ที่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปไม้มารีไซเคิลเป็นเครื่องดนตรีขึ้นมาใหม่ และหวังว่าในสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นแนวทางใหม่ในการออกแบบของวงการเครื่องดนตรีในอนาคตด้วยเช่นกัน Shatron ยังได้รับรางวัลการออกแบบเครื่องดนตรีของปี ค.ศ 2020 จากเวทีการแข่งขันงานออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง ‘A’ Design Award & Competition’ มาครองอีกด้วย Source : https://competition.adesignaward.com/design.php?ID=101028