น้ำหอมรักโลก ‘Air Eau de Parfum’ ทำจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หวังช่วยลดมลภาวะทางอากาศ

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวันมีส่วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้โลกของเราประสบปัญหาภาวะโลกร้อน แต่หากเราต้องการนำมลพิษเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์ จะเป็นไปในทางไหนได้บ้าง ‘AIR COMPANY’ บริษัทที่มีเป้าหมายเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นพลังงานที่ใช้ได้ไม่จำกัด ค้นพบวิธีใหม่ในการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นเอทานอล และนำมาผสมกับน้ำและน้ำมันหอมระเหย เพื่อผลิตเป็นน้ำหอมที่ไม่เหมือนใคร ด้วยข้อความบนแพ็กเกจผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า ‘กำลังทำให้ CO2 เป็นสิ่งสวยงาม’ เพราะ AIR COMPANY จะใช้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 3.6 กรัมที่ไม่ได้ปล่อยไปในบรรยากาศ มาใช้ทำน้ำหอม ‘Air Eau de Parfum’ ปริมาณ 50 มิลลิลิตร ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตน้ำหอมแต่ละขวดอาจทำให้น้ำหอม Air Eau de Parfum มีราคาสูงกว่า Coco Chanel No.5 ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน แม้ว่าเทคโนโลยีการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ใหม่จะเป็นวิธีเล็กๆ ที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมได้ก็ตาม แต่ปัญหาด้านค่าใช้จ่าย การโน้มน้าวผู้ใช้เทคโนโลยีใหม่ และวิธีการขยายธุรกิจนี้ออกไปในระดับอุตสาหกรรมก็ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องหาแนวทางแก้ไขและพัฒนากันต่อไป ไม่แน่ว่าหลังจากนี้เราอาจจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้สร้างมลพิษมาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการลดมลพิษผ่านการใช้น้ำหอม Air Eau de Parfum นี้ก็ได้ […]

FUL โซดาจากสาหร่ายสไปรูลินา นวัตกรรมที่อุดมด้วยสารอาหาร และกระบวนการผลิตที่ช่วยลดก๊าซ CO2

อุตสาหกรรมเครื่องดื่มโซดาก้าวหน้าไปอีกขั้น เมื่อบริษัทสัญชาติดัตช์ผลิตโซดาจากสาหร่ายสไปรูลินา ที่อัดแน่นไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมในการผลิตที่รักษ์โลก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศด้วย ‘Ful’ คือแบรนด์โซดาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ต้องการ ‘ปลดล็อกพลังอันน่าทึ่งของสาหร่ายขนาดเล็ก’ เพราะส่วนผสมหลักที่ Ful ใช้คือ ‘สาหร่ายสไปรูลินา (Spirulina)’ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่จัดอยู่ในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สีฟ้าของโซดาจึงมาจากธรรมชาติทั้งหมด ปราศจากการแต่งสี นอกจากสาหร่ายสไปรูลินาจะทำให้โซดา Ful มีสีสัน ดูสนุก และน่าดื่มยิ่งขึ้น สาหร่ายขนาดจิ๋วชนิดนี้ยังเต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ด้วย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจัดอยู่ในสาหร่ายสายพันธุ์ Platensis ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุด และยังเป็น ‘สุดยอดอาหาร’ ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินบี 2 รวมไปถึงสารต้านอนุมูลอิสระอย่างคลอโรฟิลล์ด้วย แม้ประโยชน์ของสาหร่ายสไปรูลินาจะถูกยอมรับในกลุ่มคนที่กินอาหารเสริมอยู่แล้ว ทั้งในรูปแบบผงและรูปแบบเม็ด แต่การที่ Ful นำสาหร่ายประเภทนี้มาเป็นส่วนประกอบหลักของโซดา ช่วยให้เจ้าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น อีกจุดขายของโซดา Ful ก็คือความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ Ful มีกระบวนการผลิตที่เรียกว่า ‘การรีไซเคิลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Recycling)’ เนื่องจากการเจริญเติบโตของสาหร่ายสไปรูลินาต้องดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงจะผลิตสารอาหารและออกซิเจนสู่ชั้นบรรยากาศได้ ดังนั้น […]

ปลูกป่าไม่ทันใจ Climeworks เลยใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 ในอากาศแทนต้นไม้ 4 แสนต้นซะเลย

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ (IPCC) ออกรายงานเตือนว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 ตัวเลขที่ฟังดูอาจจะเหมือนน้อย แต่จะทำให้ประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า รวมไปถึงวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหาร ดังนั้นทุกหน่วยงานทั่วโลกจึงต้องเร่งดำเนินการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้  เราจึงอยากพาไปรู้จักกับ ‘Climeworks’ บริษัทที่มีเป้าหมายเป็นการรักษาสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสองผู้ก่อตั้งผู้หลงรักการเล่นสกีที่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนขณะกำลังไถลตัวอยู่บนพื้นหิมะ จนตัดสินใจร่วมกันสร้างทางออกให้ปัญหานี้ พัฒนาเทคโนโลยีจนกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้โดยตรงแบบที่ยังไม่มีใครทำได้ และทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ในราคาเริ่มต้นเพียง 1 ยูโรต่อเดือนผ่านระบบสมาชิก ไปจนถึงการเตรียมสร้างโรงงานดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใหญ่ที่สุดในโลก ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ถึง 4,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 400,000 ต้น  โลกซวยด้วยมือเรา หลักการวิทยาศาสตร์เบื้องต้นคือ คนและสัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนออกมาเป็นออกซิเจน กระบวนการนี้คือวัฏจักรที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกอยู่ร่วมกันได้ราวหยินหยางที่สมดุลกัน นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของโลก เพื่อกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้อุณหภูมิของโลกเย็นเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ แต่ปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และสูงที่สุดในรอบ 8 แสนปี จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้จากระบบขนส่งมวลชน จนถึงการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ทั้งหมดล้วนเป็นฝีมือมนุษย์อย่างไม่ต้องสงสัย  ทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากเกินไป โลกจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว […]

ญี่ปุ่นปลุกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นพ่อให้กลับมาทำงานอีกครั้งหวังลด CO2 แต่ ปชช.กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกประกาศที่จะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนฯ ซึ่งรวมถึง ‘ญี่ปุ่น’ เองก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ตัดสินใจจะปลุกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อายุกว่า 44 ปีให้มันกลับขึ้นมาผลิตไฟฟ้าอีกครั้ง เพื่อที่จะใช้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050! เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาฮิมะหมายเลข 3 ในจังหวัดฟุกุอิได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากได้รับการอนุมัติเป็นการพิเศษจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) เพราะปกติแล้วกฎหมายได้กำหนดให้โรงงานนิวเคลียร์ปฏิบัติการได้ไม่เกิน 40 ปี โดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาฮิมะนี้อยู่ในความดูแลของโรงงานไฟฟ้าคันไซ ที่สัญญาว่าจะตรวจสอบและควบคุมการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่กลับมาทำงานใหม่นี้อย่างระมัดระวัง  โดยญี่ปุ่นกล่าวว่า การกลับมาใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าครั้งนี้ จะช่วยบรรเทาปัญหาด้านพลังงานสำรองลดลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนนี้ แต่เพราะเครื่องปฏิกรณ์นี้เป็นหน่วยแรกที่มีอายุมากกว่า 40 ปีที่ได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ซึ่งทำให้พลเมืองชาวญี่ปุ่นบางกลุ่มกังวลและไม่พอใจเกี่ยวกับความปลอดภัย จนยื่นฟ้องเพื่อขอให้หยุดการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานที่ไม่เห็นด้วยกับการอนุมัติให้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอายุเกินมาตรฐานนี้กลับมาทำงานอีกครั้ง เพราะกลัวว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่จังหวัดฟุกุชิมะเมื่อปี 2011 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 200,000 คน Sources :Insider | https://tinyurl.com/7n5epjhyVice World News | https://tinyurl.com/5sfs2et9

รัสเซียมีแผนใช้ป่าในประเทศ เป็นศูนย์กลางดักจับมลพิษขนาดใหญ่ ที่คาดว่าดูดซับคาร์บอนฯ ได้ 620 ล้านตัน

ปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษมากที่สุดในโลกเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้เอง รัสเซียจึงมีแผนที่จะใช้ป่าในประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงสองเท่า หรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งโลก ให้เป็นศูนย์กลางดักจับคาร์บอนฯ ขนาดใหญ่ โดยคาดว่าจะดูดซับคาร์บอนฯ ได้เกือบ 620 ล้านตันเทียบเท่าปี 2018 ซึ่งเพียงพอที่จะชดเชยการปล่อยมลพิษในประเทศได้ราว 38 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ ยังมีแผนเปิดแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อรวบรวมข้อมูลดาวเทียมและโดรนเกี่ยวกับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนฯ ของป่าไม้ในประเทศอีกด้วย หลายฝ่ายมองว่าการปลูกต้นไม้ไม่สามารถช่วยลดคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศ พวกเขาแค่ต้องการลบคำครหาที่ว่าเป็นผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ที่สุดของโลก และต้องการสร้างรายได้โดยการให้องค์กรอื่นๆ เช่าพื้นที่ตรงนี้ เพื่อปลูกป่าชดเชยที่ปล่อยคาร์บอนฯ ค่อนข้างน่าจับตามองว่า หลังจากนี้รัสเซียจะเดินหน้าต่ออย่างไรท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ ถ้าพวกเขาทำได้จริงๆ ก็ถือเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง Sources :Bloomberg | https://bloom.bg/3sZg5IyEarth | https://bit.ly/3wJhaGD 

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.