‘Khudi Bari’ บ้านประกอบได้ราคาถูกและทำจากวัสดุธรรมชาติเพื่อรับมือกับวิกฤตภูมิอากาศ

คุณเคยย้ายที่อยู่อาศัยเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไหม? เราอยากชวนจินตนาการนึกภาพตามว่าถ้าหากบ้านของคุณตั้งอยู่ในจุดที่ด้านขวามือคือทะเล และด้านซ้ายเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน เป็นแหล่งสะสมตะกอนชั้นดีสำหรับเพาะปลูก หรือดำรงชีพด้วยการหาปลา แต่ผู้อยู่อาศัยก็ต้องโยกย้ายตามฤดูกาล คุณจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้อย่างไร?  และหากน้ำทะเลด้านขวาเพิ่มสูงขึ้น แม่น้ำด้านซ้ายปริมาณมากขึ้นเพราะน้ำแข็งละลายจากบนเทือกเขา และท้องฟ้าด้านบนฝนตกหนักผิดวิสัย สถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องเผชิญภัยธรรมชาติ บ้างต้องโยกย้ายที่อยู่บ่อยครั้งกว่าปกติ และบ้างต้องจำใจทิ้งวิถีชีวิตแบบเดิมเข้าไปหาเลี้ยงชีพในเมืองใหญ่และอาศัยอยู่ในสลัม นี่คือสถานการณ์ในบังกลาเทศจาก Marina Tabassum สถาปนิกชาวบังกลาเทศผู้ออกแบบโปรเจกต์ ‘Khudi Bari – บ้านจิ๋ว’ ขนาดรองรับสมาชิก 4 คนสำหรับผู้ที่อาศัยตามพื้นที่ลุ่มน้ำ  ความตั้งใจของ Tabassum คือจะใช้สถาปัตยกรรมที่เธอร่ำเรียนมาให้เป็นประโยชน์กับคนที่อาศัยตามพื้นที่ปากแม่น้ำ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Char Dwellers’) อย่างไรให้ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และปรับให้เข้ากับบริบททางธรรมชาติเพื่อรองรับความผันแปรให้ได้มากที่สุด จากการเก็บข้อมูลของเธอ โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายการสร้างบ้านสำหรับคนในพื้นที่ลุ่มน้ำอยู่ที่ราว 1,500 ปอนด์ (ประมาณ 60,000 บาท) และต้องใช้สถาปนิก 3 คน ช่างไม้ 1 คน เพื่อประกอบในเวลา 15 วันให้เป็นรูปร่าง โปรเจกต์ ‘Khudi Bari’ นี้ Tabassum […]

หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว

เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต  สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง  “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.