GAOXINGLI Insun Cinema โรงภาพยนตร์แนวใหม่ที่ตั้งใจสร้างหาดทรายด้วยอิฐและแสงเงา

โรงภาพยนตร์นี้ตั้งอยู่ที่เมืองไหโข่ว บนเกาะไหหลำ ประเทศจีน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องทัศนียภาพชายฝั่งทะเล สตูดิโอออกแบบ One Plus Partnership จึงร่วมมือกับโรงภาพยนตร์ GAOXINGLI Insun Cinema ตั้งใจสร้างที่นี่เพื่อชูความสวยงามของทัศนียภาพริมทะเล แทนที่จะตบแต่งด้วยสีน้ำเงินซึ่งสื่อถึงทะเลโดยตรง ดีไซเนอร์กลับเลือกใช้อิฐเพื่อเชื่อมโยงกับชายหาดแทน ด้วยประโยชน์ของอิฐที่ทนทานเหนือกาลเวลา จึงสามารถสร้างพื้นที่ที่ทั้งสวยงามและใช้งานได้ยาวนาน โดยปกติแล้วเมื่อนึกถึงโรงภาพยนตร์ เราจะนึกถึงพื้นที่มืดสนิท บุด้วยกำแพงหนาที่พยายามป้องกันแสงและเสียงอื่นๆ ที่จะเข้ามารบกวน แต่ที่นี่กลับเปิดให้มีแสงส่องเข้ามาได้ด้วยการวางอิฐในช่องต่างๆ ให้มีหน้าตาคล้ายคลื่น และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมผ่านการผสานธรรมชาติภายนอกและใช้ประโยชน์จากแสงเงาเหล่านั้นแทน เมื่อเดินเข้ามาภายในจะพบกับพื้นที่นั่งพักที่มีโต๊ะและเก้าอี้รูปโค้งเสมือนเกลียวคลื่นด้วยอิฐที่เรียงตัวกันเป็นแนวกำแพงสูง รวมถึงบริเวณขอบของเก้าอี้และโต๊ะถูกทาด้วยสีเทาสะท้อนแสงเพื่อป้องกันอันตรายในยามกลางคืนที่แสงส่องเข้ามาไม่ถึง นอกจากนี้ ความประณีตในการออกแบบของที่นี่ยังรวมไปถึงมุมห้องและท่อสีต่างๆ รอบเพดาน โดยการใช้บล็อกสีที่ทำจากผ้ากำมะหยี่เข้ามาคลุมให้เกิดความกลมกลืนไปกับพื้นที่ภายใน ในห้องฉายภาพยนตร์ห้องแรกจะมีสีประดับไปรอบๆ เสมือนมีพู่กันเคลื่อนผ่านผนัง สีและพื้นผิวเชื่อมกันกับห้องรอบๆ รวมถึงเก้าอี้ที่ถูกจัดเรียงอย่างเฉพาะตัว ด้วยความตั้งใจของสถาปนิกที่อยากให้รู้สึกเสมือนอยู่ในห้องจัดดอกไม้ ด้านห้องฉายภาพยนตร์ที่สอง ขอบของโรงภาพยนตร์ทำด้วยแผงสีที่เลียนแบบดอกลิลลี่ลายเสือ รวมถึงไฟที่ติดตั้งไว้บริเวณพื้นและเส้นโค้งโดยรอบที่ช่วยสร้างความรู้สึกเหมือนคลื่นของทะเลจีนใต้พันรอบเกาะเอาไว้ ดูเป็นโรงภาพยนตร์ที่จะให้ความรู้สึกใหม่ๆ ไม่เหมือนที่ไหนแน่นอน Source : https://bit.ly/3CTco0V

สำรวจ ‘ฉงชิ่ง’ เมืองแห่งภูเขากับความซับซ้อนทางภูมิทัศน์และดาวรุ่งเศรษฐกิจจากการพัฒนาสถาปัตยกรรมล้ำยุค

นาทีนี้คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธความฮอตทั้งความเผ็ดชาและความนิยมของหมาล่าได้ แต่นอกจากความจัดจ้านจากพริกหมาล่าแล้ว เมืองผู้เป็นต้นกำเนิดหม้อไฟแสนอร่อยจากมณฑลเสฉวนอย่าง ‘ฉงชิ่ง’ เองก็กำลังร้อนแรงไม่แพ้กัน ฉงชิ่ง เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน จากการปลุกปั้นโดยรัฐบาลในช่วงปลายยุค 90 ให้กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ แต่ด้วยภูมิทัศน์ประเทศที่เป็นภูเขาและเนินสูงต่ำมากมายจนเรียกได้ว่าเป็น ‘เมืองแห่งภูเขา’ จึงเป็นเหมือนข้อจำกัดหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเมือง อย่างไรก็ตาม อุปสรรคเหล่านี้กลับกลายเป็นข้อดีในการสร้างเอกลักษณ์ด้านการวางผังเมือง ที่สามารถเชื่อมต่อระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น ทำไมรัฐบาลจึงเลือกเปลี่ยนเมืองชนบทกลางภูเขาให้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในจีน รวมถึงแนวคิดการสร้าง ‘เมืองซ้อนเมือง’ เพื่อทลายข้อจำกัดด้านพื้นที่ และจุดยืนในการเป็นเมืองไฮเทคด้วยสถาปัตยกรรมล้ำสมัย ตามคอลัมน์ City in Focus ไปดูกัน เมืองซ้อนเมืองซ้อนภูเขาซ้อนถนน หากจะนิยามเมืองที่ ‘ซับซ้อน’ ฉงชิ่งคือตัวอย่างของเมืองที่มีผังเมือง ‘ซ้อน’ กันอย่างแท้จริง ด้วยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาล้อมรอบและเนินเขาลาดชัน อีกทั้งยังมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำสองสายสำคัญทั้งแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเจียหลิง จุดโดดเด่นแรกคงหนีไม่พ้นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงาม แต่เมื่อรัฐเลือกให้เป็นพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจ การพัฒนาผังเมืองจำเป็นต้องยืดหยุ่นไปตามพื้นที่อย่างเลี่ยงไม่ได้ แนวคิดเมืองซ้อนเมืองจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับปัญหานี้ ตึกระฟ้า อาคารสูง และถนน ถูกสร้างขึ้นแตกต่างหลายระดับเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน อีกทั้งสะพานยกระดับข้ามแม่น้ำหรือบันไดวนสูงรอบภูเขาก็สามารถพบได้ทั่วไป จนทำให้มองเผินๆ ดูคล้ายกับว่ามีเมืองอีกเมืองหนึ่งซ้อนทับอยู่ด้านบน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์​เกินปกติของผังเมือง การสัญจรภายในเมืองจึงซับซ้อนคดเคี้ยวราวกับเดินเขาอยู่ตลอดเวลา แต่ฉงชิ่งก็แก้เกมการเดินทางด้วยเทคโนโลยีด้านคมนาคมที่ราวกับหลุดออกมาจากหนังไซไฟอย่าง ‘รถไฟลอยฟ้าทะลุตึก’ เมื่อเศรษฐกิจเติบโต เทคโนโลยีจึงเติบใหญ่ เมื่อได้รับเลือกให้เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ ฉงชิ่งกลายเป็นที่ตั้งของบริษัทขนาดใหญ่กว่า 500 […]

‘Rotating Water Drop Park’ สวนสาธารณะที่คืนประโยชน์ให้กับผู้คนด้วยพื้นที่ที่หน้าตาเหมือนน้ำไหลวน

การปรับปรุงพื้นที่เมืองหลายครั้งอาจไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อย่างในเมือง Yichang มณฑล Hubei ประเทศจีนเองก็เคยมีโครงการปรับปรุงพื้นที่ แต่กลับไม่ตอบโจทย์ด้านการอยู่อาศัย แถมยังทำให้พื้นที่คนเดินเท้าแออัดกว่าเดิม จึงมีการรื้อถอนอาคารบางส่วนบนหัวมุมถนนในใจกลางเขต Yiling ออกไป เมื่ออาคารถูกรื้อถอนไปแล้ว โจทย์ใหม่ในการปรับปรุงพื้นที่คือการให้ความสำคัญกับผู้คน โดยมองถึงพื้นที่การเดินเท้า พื้นที่ที่ผู้คนสามารถใช้งานได้ และเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตของผู้คนในละแวก ที่ว่างนั้นจึงถูกเปลี่ยนให้เป็น ‘สวนหยดน้ำ’ สวนสาธารณะที่เป็นประโยชน์กับชุมชน สถาปนิกจาก ‘HID Landscape Architecture’ ออกแบบสวนแห่งนี้ให้มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนในเมืองออกมาทำกิจกรรมร่วมกันในสวนแห่งนี้ เช่น เป็นพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ขายของ พื้นที่เต้นรำของผู้สูงอายุ รวมไปถึงสนามเด็กเล่นของเด็กๆ หากมองจากมุมสูง สวนแห่งนี้จะมีลักษณะเหมือนหยดน้ำที่กำลังหมุนวนรอบบริเวณ จากม้านั่งและสวนดอกไม้รูปหยดน้ำที่วางเรียงกันเป็นวงกลม รวมไปถึงไฟ LED ที่ฝังไว้บนพื้นก็วางเรียงตามแนวเดียวกับหยดน้ำ เป็นลูกเล่นที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าน้ำในสวนแห่งนี้ไหลวนอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นในช่วงกลางคืนก็ตาม ส่วนหลังคาด้านบนที่ช่วยบดบังความร้อนให้กับคนที่เข้ามานั่งพักก็ยังทำหน้าที่เป็นรางน้ำฝน ช่วยเก็บน้ำฝนที่ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ เมื่อฝนตกน้ำจะไหลไปตามหลังคาก่อนจะไหลลงมาสู่แอ่งเก็บน้ำฝนสเตนเลสที่พื้น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและลูกเล่นของสวนที่น่าสนใจ ทำให้พื้นที่ที่เคยเงียบเหงาแห่งนี้กลับมาคึกคักจากการแวะเวียนเข้ามาใช้พื้นที่ในการพักผ่อน รวมไปถึงเสียงหัวเราะจากสนามเด็กเล่นตรงกลางที่ชวนให้เด็กๆ ได้สนุกสนานและเพลิดเพลินกับการใช้พื้นที่กันอย่างเต็มที่ Sources : Designboom | tinyurl.com/4htytzhcGooood | tinyurl.com/4mfrbtwt

‘The Green Skyline Project’ พื้นที่สาธารณะจากพื้นที่ว่างเลียบชายหาด ที่สร้างสีสันอันโดดเด่นบนเกาะ Hengqin

พื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมักเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น พบปะพูดคุย ออกกำลังกาย เดินเล่น หรือกระทั่งเป็นสถานที่ที่หลายครอบครัวมาใช้เวลาด้วยกันในวันพักผ่อนได้ จากโจทย์นี้เอง นำมาซึ่งโครงการที่น่าสนใจอย่าง ‘The Green Skyline Project’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ว่างเลียบชายหาดและไม่ได้มีการใช้งานให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสีสันสดใสและมีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ บนเกาะ Hengqin ประเทศจีน Green Skyline ออกแบบโดยบริษัท 100 Architects จากเซี่ยงไฮ้ ที่เน้นการดีไซน์สถานที่ให้มีองค์ประกอบน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้โปรเจกต์นี้โดดเด่นด้วยสีฟ้าและสีเหลือง รวมถึงมีการใช้แถบไฟ LED ส่องสว่างในตอนกลางคืน เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้คนที่มาเดินเล่นในพื้นที่ และได้รับพลังงานบวกจากการทำกิจกรรมที่นี่ด้วย และอีกหนึ่งไฮไลต์ของ Green Skyline คือจุดทำกิจกรรมต่างๆ ที่รวมอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ เช่น จุดตั้งกล้องดูดาว พื้นที่พักผ่อน โซนสนามเด็กเล่น และด้วยความที่ทำเลอยู่ติดกับทะเล ทำให้ผู้ใช้พื้นที่มองเห็นวิวของมาเก๊าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้ นอกจากนี้ Green Skyline ก็ยังทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ บนเกาะ เนื่องจากตัวพื้นที่ได้รับการออกแบบให้ผู้คนมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ตลอดเวลา เพราะเปิดใช้งานทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน Sources :100 Architects | tinyurl.com/37hxpyyjDesignboom | tinyurl.com/c93afpde

‘Library in the Chrysanthemum Field’ อาคารอเนกประสงค์ท่ามกลางทุ่งดอกเบญจมาศ รองรับทั้งการเป็นห้องสมุด เวิร์กช็อป และที่เก็บอุปกรณ์

ห้องสมุดหรือ Co-working Space ส่วนใหญ่นั้นมักเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางของผู้คน ซึ่งบางครั้งเราเองก็คงอยากพักสายตาด้วยการมองวิวทิวทัศน์จากธรรมชาติกันบ้าง ถ้ามีสถานที่ลักษณะนี้ที่ห้อมล้อมไปด้วยสีเขียวขจีให้ใช้งานคงดีไม่น้อย ‘Library in the Chrysanthemum Field’ ตั้งอยู่ในสวนดอกเบญจมาศที่เชิงเขาหยุนไถ ประเทศจีน โดยสถาปนิกของ Atelier Xi ได้รับโจทย์ในการออกแบบอาคารอเนกประสงค์นี้สำหรับใช้งานในชุมชน เพื่อเป็นสถานที่รองรับการอ่านหนังสือ การชิมชาเก๊กฮวย การแสดงดนตรีขนาดเล็ก เวิร์กช็อปเพื่อการศึกษา พร้อมกับเป็นที่จัดเก็บเครื่องมือทางการเกษตร เพื่อไม่ให้อาคารนี้รบกวนวิวทุ่งดอกไม้ สถาปนิกจึงแบ่งอาคารออกเป็น 5 ส่วน และจัดวางให้ออกมาในลักษณะคล้ายกับหมู่บ้านขนาดเล็ก โดยแต่ละตึกนั้นจะเชื่อมต่อถึงกันและหันหน้าออกไปคนละทาง นอกจากจะไม่ทำลายภาพทุ่งดอกไม้แล้ว ยังช่วยเปิดรับภาพทิวทัศน์ได้จากทุกทิศทาง ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็สัมผัสกับธรรมชาติได้ทุกมุมมอง ส่วนผนังด้านในอาคารนั้นก็ประกอบขึ้นจากไม้ในท้องถิ่น ให้โทนสีที่อบอุ่นสบายตา แต่หากดูจากมุมมองภายนอกจะเหมือนประติมากรรมกลางทุ่งดอกไม้ ด้วยสีขาวของตัวอาคารสไตล์มินิมอลตัดกับสีเหลืองและสีเขียวของธรรมชาติ ทำให้ดูโดดเด่น สวยงาม แต่ไม่ขัดสายตา Sources :ArchDaily | tinyurl.com/yckhf2uuAtelier Xi | tinyurl.com/2s436r92

‘A Petal in the Urban Oasis’ ที่นั่งสาธารณะรูปดอกไม้ในเฉิงตู ที่ใช้งานได้หลากหลายทั้งนั่ง นอน และปีนเล่น

เก้าอี้ในพื้นที่สาธารณะมักเป็นม้านั่งรูปแบบต่างๆ ทั้งมีพนักพิง ไม่มีพนักพิง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกออกแบบมาในลักษณะที่เป็นเก้าอี้แนวยาวที่ตอบโจทย์เรื่องการใช้งาน แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงความสวยงามเท่าไรนัก แต่ที่บริเวณหน้าทางเข้าย่านการค้า ‘Luxezone Plaza’ ในเมืองเฉิงตู ประเทศจีน กลับมีดอกไม้ขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่ เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นว่าดอกไม้ดอกนั้นคือ ‘A Petal in the Urban Oasis’ ที่นั่งสาธารณะที่ให้ทั้งความสวยงามท่ามกลางต้นไม้รอบด้าน และยังสามารถใช้งานได้หลากหลาย ออกแบบโดยสตูดิโอในประเทศจีน ‘Epiphany Architects’ โครงสร้างที่นั่งดอกไม้นี้เป็นไม้ที่วางเรียงกันอย่างสวยงาม ส่วนตัวฐานของดอกไม้นั้นเป็นกระจกหกบานที่ออกแบบให้กลมกลืนกับกลีบดอกไม้ ทำให้ดูเหมือนว่าดอกไม้กำลังลอยตัวอยู่ในอากาศ และยังทำให้ไม้ด้านบนเล่นแสงและเงา เกิดเป็นเอฟเฟกต์ที่สวยงาม ไม่เพียงแต่ไม้และกระจกเท่านั้น แต่ด้านในยังติดตั้งกล่องไฟเพื่อสร้างแสงสว่างและเสริมความสวยงามให้กับดอกไม้ดอกนี้ในยามค่ำคืน โดยผู้คนสามารถพักผ่อน นั่ง นอน หรือจะเอนตัวบนกลีบดอกไม้ก็ได้ รวมถึงยังเป็นเครื่องเล่นให้เด็กๆ ที่เข้ามาใช้พื้นที่นี้ได้ปีนป่ายกันอย่างเพลิดเพลินและสนุกสนาน นอกจากการใช้งานอย่างรอบด้านและความสวยงามของพื้นที่แล้ว ที่นั่งดอกไม้นี้ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ผสมผสานกันระหว่างธุรกิจและธรรมชาติที่ช่วยสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ไม่เหมือนใครให้กับผู้คนที่มาใช้พื้นที่แห่งนี้ด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/547k4z8rEpiphany Architects | tinyurl.com/2p9nj3hj

‘Shenzhen Women & Children’s Center’ ศูนย์บริการสตรีและเด็กในเมืองเซินเจิ้นที่ปรับปรุงจากอาคารเก่า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้โลก

อาคารบางแห่งในเมืองใหญ่ก่อสร้างขึ้นในสมัยก่อนตามมาตรฐานอาคารของยุคนั้นๆ ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป ตัวโครงสร้างอาคารอาจไม่ตอบโจทย์มาตรฐานอาคารในยุคนี้ ทำให้ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นอาคารแห่งใหม่แทน เช่นเดียวกับอาคาร Mixed-use เก่าที่มีอายุกว่า 29 ปี ในย่าน Futian ประเทศจีน ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงที่เมืองเซินเจิ้นเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อาคารนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานสมัยก่อน ทำให้เกิดข้อกังวลด้านความปลอดภัยจนทำให้ร้านค้าภายในอาคารค่อยๆ ปิดตัวลง และถูกทิ้งให้กลายเป็นอาคารที่ว่างเปล่าเป็นเวลานาน เนื่องจากประเทศจีนมีความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนในระดับสูงสุด (Carbon Peak) ภายในปี 2573 และความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2603 อาคารแห่งนี้จึงเป็นหนึ่งใน 24 ตัวอย่างของการฟื้นฟูโดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ และเพื่อเป็นการแก้ไขตัวอาคารที่ไม่ตอบโจทย์เมือง ‘MVRDV’ บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและชุมชนเมือง จึงวางแผนออกแบบให้อาคารนี้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้งโดยไม่ต้องรื้อถอนหรือสร้างใหม่ ปัจจุบันอาคารนี้อยู่ในฐานะของ ‘Shenzhen Women & Children’s Center’ โรงแรมและสถานที่อำนวยความสะดวกสำหรับผู้หญิงและเด็ก ซึ่งภายในประกอบไปด้วยห้องสมุด หอประชุม โรงละครเด็ก Discovery Hall รวมไปถึงห้องบำบัดและสำนักงานสำหรับพนักงาน MVRDV ทำการเปลี่ยนแปลงส่วนด้านหน้าของอาคารด้วยตารางหลากสีที่สามารถลดความร้อนที่เพิ่มขึ้น และติดตั้งแผงที่เปิดได้จากด้านในซึ่งจะช่วยให้มีการระบายอากาศตามธรรมชาติ เพิ่มความสะดวกสบาย และลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ส่วนสีโทนเหลือง ส้ม […]

‘HELLO Gas Pavilion’ ปั๊มน้ำมันในจีนที่สะท้อนเอกลักษณ์ของเมือง โดดเด่นท่ามกลางทุ่งนาด้วยหลังคาทรงโค้ง

ภาพจำของสถานีบริการน้ำมันหรือปั๊มน้ำมันโดยทั่วไปล้วนมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งแต่ละแบรนด์มักต้องสร้างความโดดเด่นบางอย่างให้สะดุดตาผู้สัญจรไปมา เช่นเดียวกับปั๊มน้ำมัน ‘HELLO Gas Pavilion’ ที่ตั้งอยู่ในเมืองตงอิ๋ง ซึ่งเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในประเทศจีน และเป็นแหล่งกำเนิดของแบรนด์ ‘Hello’ บริษัทเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ ทีมนักออกแบบ ‘SITUATE Architecture’ จึงตั้งใจที่จะออกแบบปั๊มน้ำมันแห่งนี้ให้มีภาพลักษณ์ที่แตกต่างไปจากสถานีบริการน้ำมันแบบเดิมๆ ปั๊ม HELLO ตั้งอยู่บนนาข้าวที่ดินมีความเค็มและเป็นด่างสูง จึงต้องมีสายพานน้ำที่ฝังอยู่ระหว่างสันเขาเพื่อช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของดิน อีกทั้งทีมออกแบบยังสร้างความโดดเด่นให้ปั๊มน้ำมันแห่งนี้ด้วยหลังคาทรงโค้งครึ่งวงกลมทำจากโครงคอนกรีตที่สวยงามและดูร่วมสมัย สะท้อนถึงพื้นผิวดินที่มีลักษณะเป็นคลื่นหลังจากฝังสายพานน้ำลงไป ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ยังชวนให้นึกถึงท่อส่งน้ำมันกับเรือบรรทุกน้ำมันที่ถือเป็นมรดกทางอุตสาหกรรมของเมืองนี้อีกด้วย เมื่อรถยนต์จากถนนสายหลักขับผ่านเส้นทางนี้ จะมองเห็นด้านข้างของปั๊มน้ำมันได้จากระยะไกล และเมื่อขับเข้ามาใกล้ก็จะเห็นมุมมองด้านหน้าที่ทำให้เห็นเส้นโค้งชัดขึ้น จากความตั้งใจของนักออกแบบที่อยากสร้างมุมมองที่ให้ความรู้สึกสนุกสนาน และเป็นการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่จากภาพลักษณ์ของปั๊มน้ำมัน ภายในสถานี HELLO นั้นประกอบไปด้วยฟังก์ชันพื้นฐานสามอย่าง ได้แก่ การเติมน้ำมัน ตู้คีออสก์ และบริการล้างรถ รวมไปถึงมีคาเฟ่และเลานจ์บนชั้นสองของสถานี เพื่อให้ผู้ใช้บริการมองเห็นทุ่งนาด้านนอก ทำให้รู้สึกได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยพื้นที่ด้านบนนี้ยังปรับเปลี่ยนเป็นห้องประชุมหรือห้องสำหรับจัดนิทรรศการได้ด้วย Sources :ArchDaily | tinyurl.com/yr66aps3Designboom | tinyurl.com/yhzshzfe

Chengdu Science Fiction Museum พิพิธภัณฑ์ Sci-Fi แห่งใหม่ในเฉิงตู โดดเด่นเหมือน Star Cloud กลางทะเลสาบ

เฉิงตู ประเทศจีน คือเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 20 ล้านคน ที่นี่พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นศูนย์กลางระดับโลกด้านนวัตกรรมและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ปี 2023 เมืองเฉิงตูจะล้ำหน้าไปอีกขั้นเพราะจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน ‘World Science Fiction Convention’ หรือ ‘Worldcon’ ครั้งที่ 81 ซึ่งเป็นงาน Sci-Fi ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยภายในงานนี้ก็จะมีการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ Sci-Fi แห่งใหม่สำหรับผู้ที่หลงใหลในโลกอนาคตอย่าง ‘Chengdu Science Fiction Museum’ อีกด้วย Chengdu Science Fiction Museum ที่ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิกระดับโลกอย่าง Zaha Hadid Architects ตั้งอยู่บนทะเลสาบ Jingrong ตัวอาคารมีรูปทรงเป็นเมฆเนบิวลาที่กำลังขยายตัวและมีดาวอยู่ตรงกลาง เมื่อดูด้วยตาเปล่าจะเหมือน ‘เมฆดวงดาว’ หรือ ‘Star Cloud’ ที่กระจายพลังงานไปในทิศทางต่างๆ  พิพิธภัณฑ์นี้ถูกออกแบบให้กลมกลืนกับภูมิทัศน์ธรรมชาติและริมทะเลสาบ เพื่อผสมผสานพื้นที่ใช้งานในร่มและกลางแจ้ง และทำให้ผู้เข้าชมเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ภายในอาคารได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ ผู้คนยังสามารถเดินทางมายังพิพิธภัณฑ์ผ่านทางเดินที่เชื่อมจากสถานีรถไฟในตัวเมืองได้ Chengdu Science Fiction Museum […]

Chongqing Huguang City Exhibition Hall อาคารชั่วคราวทรงสามเหลี่ยมในเมืองฉงชิ่ง ใช้บริบทของพื้นที่มาออกแบบให้โดดเด่นท่ามกลางหมอกหนา

โครงการ Chongqing Huguang ในเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน ได้สร้างอาคารชั่วคราวอย่าง Chongqing Huguang City Exhibition Hall ขึ้นท่ามกลางความสวยงามของเมืองที่ด้านหลังเป็นที่ตั้งของอาคารทรงสูงทันสมัย ส่วนด้านหน้าเป็นสถานที่เชิงประวัติศาสตร์และธรรมชาติอย่าง Huguang Guild Hall มรดกทางสถาปัตยกรรมของเมือง ไกลออกไปเป็นสะพาน Dongshuimen และแม่น้ำแยงซี  ด้วยความที่ฉงชิ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งหมอก ทำให้ SUZAO Architects สตูดิโอออกแบบเลือกใช้สีทองมาทำให้ตัวอาคารโดดเด่นจากหมอกที่ปกคลุมทั้งเมือง ดูล้ำสมัย เรียบง่าย และแปลกใหม่ในสายตาคนที่ผ่านไปผ่านมา  ทั้งนี้ ตัวอาคารยังถูกออกแบบเป็นทรงสามเหลี่ยมที่ยกสูง เพื่อเพิ่มการมองเห็นในมุมมองที่กว้างขึ้น ส่วนฐานด้านล่างของอาคารก็ล้อมรอบไปด้วยกระจกที่ให้ความรู้สึกเหมือนตัวอาคารสามเหลี่ยมนี้กำลังลอยตัวอยู่บนพื้น  นอกจากภายในอาคารจะมีนิทรรศการขายโครงการ Chongqing Huguang แล้ว ตัวพื้นที่นั้นยังใช้เป็นหอชมวิวที่มองเห็นทิวทัศน์ของเมืองฉงชิ่งผ่านกระจกใสบานใหญ่ได้อีกด้วย ว่าแล้วก็อยากเห็นที่ไทยทำอาคารลักษณะนี้ออกมาบ้าง Source : ArchDaily | bit.ly/3jlN8Xy

รายการหาคู่จีน ชวนผู้สูงอายุมีรักครั้งใหม่ มีการเผยข้อเสีย หากรับได้ ไปเดตกัน

ต่อหน้าผู้ชมในสตูดิโอ Wang Qingming ชายสูงวัยรูปร่างผอมเพรียวในเสื้อโปโลสีน้ำเงินติดกระดุมคอ ออกอาการประหม่าเล็กน้อยเมื่อเผชิญหน้ากับคู่เดตของเขา ซึ่งเป็นผู้หญิงที่มีรูปลักษณ์น่าเกรงขาม มาพร้อมผมสีดำยาวสลวยซึ่งเกล้าเป็นมวยแบบหลวมๆ Wang เริ่มต้นด้วยการถามว่า “คุณมีนิสัยอะไรบ้างที่ไม่น่ารัก” “ฉันหิวตลอดเวลา” เธอตอบด้วยเสียงหัวเราะพร้อมบอกว่า “แต่ฉันไม่เล่นไพ่นกกระจอก ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่ม” เมื่อถามถึงด้านสุขภาพ เธอตอบว่าร่างกายของตนแข็งแรงดี พร้อมเรียกเสียงหัวเราะอีกครั้งด้วยการบอกว่าตอนนี้มีลูกไม่ได้แล้ว Wang อวดคู่เดตของเขาว่าตนไม่ได้กินยามาเป็นเวลาหนึ่งปีแล้ว ส่วนเธอสำทับอย่างภาคภูมิใจว่าสำหรับเธอคือสองปี ก่อนจะถามกลับไปเรื่องบ้านและการเงิน และรับข้อเสนอเรื่องค่าเลี้ยงดูก่อนที่ทั้งสองจะจับมือเดินลงจากเวทีไปพร้อมกัน  ฉากดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งใน Yinmi Shijia รายการหาคู่ทางทีวีของประเทศจีน ที่ได้รับการแชร์หลายแสนครั้งบนโซเชียลมีเดีย และรายงานจากสื่อท้องถิ่นจากความแปลกใหม่ของรูปแบบรายการหาคู่ ที่ไม่ได้เอาหนุ่มสาวหน้าตาดีมาหยอดคำหวานใส่กัน แต่หยิบเอาข้อเสียของคนสูงวัยมาเปิดเผยให้คู่เดตทราบกันโต้งๆ  ในประเทศจีนมีผู้คนมากกว่า 260 ล้านคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ซึ่ง 25 เปอร์เซ็นต์กำลังครองสถานะโสด เป็นหม้าย หรือหย่าร้าง กลุ่มผู้สูงอายุในแผ่นดินใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายเรื่องลูกคนเดียวซึ่งคุมกำเนิดประชากรมาหลายทศวรรษ  ทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงอายุมีอยู่ทุกที่ Dr. Pan Wang อาจารย์อาวุโสด้านเอเชียและจีนศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า ผู้สูงอายุถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่มักจะถูกกีดกันออกจากสื่อโดยสิ้นเชิง ซึ่งเขามองว่านอกจากรายการนี้ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสิทธิ์ในการบอกเล่าเรื่องราวของตนเอง ยังให้โอกาสในการมองหาความรักและการแต่งงานครั้งใหม่เช่นกัน 

ยาเสพติด รักร่วมเพศ และลูกโลก ถูกเซนเซอร์ในซีรีส์ Friends ที่ฉายในประเทศจีน

หลังจากก่อนหน้านี้มีข่าวใหญ่เรื่องการเปลี่ยนฉากจบของภาพยนตร์เรื่อง Fight Club ล่าสุดมีรายงานออกมาว่า Friends ซิตคอมที่โด่งดังไปทั่วโลกกลับมีการเปลี่ยนแปลงโครงเรื่องบางอย่าง และบางเนื้อหาก็ถูกถอดออกไปโดยสิ้นเชิงเมื่อเข้าฉายในประเทศจีน สตรีมมิงแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ของแดนมังกรไม่ว่าจะเป็น Tencent Video, Alibaba’s Youku หรือ Bilibili ได้เริ่มฉาย Friends ซีซันแรกในช่องทางของตัวเองเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการนำกลับมาฉายใหม่เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี อย่างไรก็ตามซีรีส์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของเพื่อนทั้งห้าในมหานครนิวยอร์กที่ลงจอตั้งแต่ปี 1994 กลับพบว่ามีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป ยกตัวอย่างเช่นภรรยาเก่าของรอสส์ จะไม่เคยถูกเล่าปูมหลังเลยว่าเป็นเลสเบียน หรือจุมพิตของสองเพื่อนซี้อย่างโจอี้ และแชนด์เลอร์ในคืนวันคริสต์มาสอีฟก็ไม่เคยเกิดขึ้น  แม้กระทั่งตอนที่โจอี้แนะนำรอสส์ให้ลองไป “บาร์เปลื้องผ้า” ซับไตเติลภาษาจีนกลับขึ้นว่าให้รอสส์ “ออกไปเล่นข้างนอก” แทน หรือตอนที่รอสส์ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงสามารถ “เสร็จได้หลายครั้ง” ซับไตเติลก็แปลออกมาเป็นคำว่า “ผู้หญิงมีเรื่องให้นินทาไม่รู้จบ” ยังมีอีกหลายเรื่องเช่นตอนที่ฟีบี้พูดถึงการเสพกัญชาก็ถูกเลี่ยงไปเป็นการสูบยาที่แรงมากชนิดหนึ่งโดยไม่ระบุประเภท  รวมถึงลูกโลกที่อยู่ในแบ็กกราวนด์ซึ่งแต่เดิมก็มองเห็นได้ไม่ชัดเจนอยู่แล้วก็ยังเบลอกว่าเดิมในเวอร์ชันนี้ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่ากองเซนเซอร์จีนทำแบบนี้เพราะอะไร VICE บอกว่าในเวอร์ชันออริจินัลมีลูกโลกโผล่ออกมาให้เห็นเพียงไม่กี่วินาที ซึ่งการแสดงตำแหน่งของทวีปยูเรเชีย และมหาสมุทรอินเดีย อาจจะสื่อถึงปัญหาเรื่องพรมแดนของจีนและอินเดียได้แม้รายละเอียดที่มองเห็นได้ในซีรีส์แทบจะไม่มีความชัดเจนเลยก็ตาม ภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ที่นำเข้าจากต่างประเทศมักจะถูกแก้ไขสำหรับออกฉายในประเทศจีนเสมอ เพราะพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องการให้เนื้อหาทุกประเภทสะท้อนถึงความถูกต้องทางสุนทรียภาพ ศีลธรรม และอุดมการณ์ที่สอดคล้องกับแนวทางของพรรค ที่ผ่านมาเนื้อหาประเภทที่มีความรุนแรง มีการใช้ยาเสพติด หรือเรื่องทางเพศถูกถอดออกจากสื่อต่างประเทศหลายครั้ง แต่การเซนเซอร์อย่างหนักหน่วงกับซีรีส์ที่ใกล้จะมีอายุครบ 30 ปี สร้างความตกใจและโกรธเคืองให้กับผู้คนอย่างมาก  แฟนๆ ของ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.