ญี่ปุ่นหาทำนามบัตรรอยยิ้ม มอบความสดใสช่วงโควิด-19 ช่วยปิดจ็อบธุรกิจด้วยยิ้มนอกแมสก์

จอห์นคะ…ผ่านมาเกือบสองปีแล้วสินะ ที่ฉันโดนแมสก์กินพื้นที่ไปเกือบครึ่งหน้า หลงเหลือแค่สายตาที่ใช้สื่อสารความรู้สึกแทน แม้เขาว่าสายตามันหลอกกันไม่ได้ แต่เชื่อเถอะว่าบางทีลูกค้าก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสายตาของฉันนั้นสื่ออะไร! (#ทีมตาแข็ง) แต่ แต่ แต่! ‘Nagaya Printing’ บริษัทพรินติ้งจากประเทศญี่ปุ่น ไม่นิ่งดูดาย เพราะพวกเขาเชื่อว่าการเห็นดวงตาที่หยีจนเป็นสระอิ ไม่มีทางสู้ ‘รอยยิ้ม’ ได้หรอก! ยิ่งแวดวงธุรกิจต้องคอยพบปะลูกค้าใหม่ๆ การส่งรอยยิ้มจะช่วยสร้างความประทับใจได้ดีกว่า และไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าแลกเปลี่ยนนามบัตรแต่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตากัน พวกเขาจึงผุดไอเดีย ‘Smile Meishi’ หรือแปลตรงตัวว่า ‘นามบัตรรอยยิ้ม’ เพื่อช่วยให้การเจรจาธุรกิจเต็มไปด้วยความสดใส การพรินต์หน้าตัวเองลงนามบัตรอาจไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรในญี่ปุ่น แต่การพรินต์ครึ่งหน้าเปื้อนรอยยิ้มของตัวเองลงนี่สิ เป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายไปสักหน่อย ลองนึกตอนแลกนามบัตรกัน แล้วให้ลูกค้าถือให้พอดีกับหน้าครึ่งบนของเราก็จะเห็นใบหน้าเต็มๆ โดยไม่ต้องถอดแมสก์ เรียกว่าเป็นอีกทางที่ช่วยส่งเสริมการขายให้คุณลูกค้าประทับใจแบบรัวๆ  หลังจากเปิดตัวบริการ ‘นามบัตรรอยยิ้ม’ ไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ก็ได้กระแสฮือฮาไปทั่วเลยทีเดียว ซึ่ง Smile Meishi ไม่ใช่โปรดักต์แรกที่เขาคิดจะทำในช่วงโควิด-19 เพราะก่อนหน้านั้นมี ‘หน้ากากนามบัตร’ ซึ่งสกรีนข้อมูล และช่องทางติดต่อลงบนแมสก์ที่ใส่ เพื่อให้ลูกค้ารู้จักเรามากขึ้น โดยไม่ต้องสัมผัสนามบัตร และเลี่ยงการติดเชื้อนั่นเอง Source :Grape | https://bit.ly/2V5Je92

ตามสั่ง-ตามส่ง Delivery ของชุมชนลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าส่งเท่านั่งวินฯ ค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน

คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่  แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.