Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

โลงศพผลิตจากไมซีเลียม ย่อยสลายใน 30-45 วัน

ทุกวันนี้เทรนด์รักษ์โลกไม่ได้อยู่แค่ในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่เราสามารถเลือกชีวิตหลังความตายให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน เราจึงได้เห็นการพัฒนาทางเลือกใหม่ๆ ในการฝังศพเกิดขึ้นทุกๆ ปี โดยเฉพาะการฝังศพให้กลายเป็นปุ๋ยที่ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปแล้ว และก็ไม่ใช่แค่เทรนด์ที่ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่มีหลายองค์กรทั่วโลกที่ออกมาขับเคลื่อนทางเลือกนี้ให้ทำได้จริง สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา และทำให้ผู้คนเปิดรับกันมากขึ้น Living Cocoon คืออีกหนึ่งทางเลือกในการฝังศพที่ลดทั้งการใช้พื้นที่และเวลา เป็น ‘โลงศพมีชีวิต’ ชิ้นแรกของโลกที่ย่อยสลายตัวเองได้ภายใน 30 – 45 วัน จากการทดลองในเนเธอร์แลนด์ (ระยะเวลาย่อยสลายขึ้นอยู่กับดิน น้ำ และสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่)  เหตุผลที่เรียกว่า ‘โลงศพมีชีวิต’ เป็นเพราะว่าวัสดุที่ใช้ในการทำโลงทำมาจาก ‘ไมซีเลียม (Mycelium)’ หรือ ‘เส้นใยเห็ดรา’ ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดลูป (Loop) หรือวัฏจักรการย่อยสลาย ตัวโลงจะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ในการฝังกลบ ช่วยย่อยศพให้กลายเป็นปุ๋ยและกลับคืนสู่ธรรมชาติได้เร็วขึ้น และยังมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นรอบๆ หลุมฝังศพอีกด้วย Living Cocoon ผลิตโดย Loop Biotech บริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่หาทางออกให้กับวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คิดค้นและออกแบบโดยบ็อบ เฮนดริกซ์ (Bob Hendrikx) ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อตั้ง นักออกแบบ และสถาปนิก ที่สนใจและเชี่ยวชาญในนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เฮนดริกซ์ กล่าวว่า […]

ล้ำไปอีกขั้น! นักวิจัยจีนค้นพบวิธีผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิแซลมอน’ ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ทั่วโลกคิดค้นวิธีต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งการรณรงค์ลดใช้พลาสติก รวมไปถึงการทำวัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ อย่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ และมันสำปะหลัง  ไอเดียล่าสุดที่น่าสนใจก็คือการผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิปลาแซลมอน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ขั้นตอนในการผลิตก็คือ การแยกสายดีเอ็นเอสองสายออกจากอสุจิปลาแซลมอน หลังจากนั้นก็นำสายดีเอ็นเอไปผสมกับสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันพืช เมื่อโมเลกุลจับตัวกันก็จะได้ ‘ไฮโดรเจลสังเคราะห์’ สารประกอบเนื้อเจลที่สามารถกักเก็บและรักษาปริมาณน้ำได้ 99% เมื่อมีเจลแล้วก็นำไปเทใส่พิมพ์รูปทรงต่างๆ อย่างเช่น แก้วมัค จิ๊กซอว์ โมเดลดีเอ็นเอ และของชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำพิมพ์ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เพื่อให้รูปทรงต่างๆ เซตตัวอย่างสมบูรณ์ ท้ายที่สุดก็จะได้วัสดุที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘พลาสติกที่ทำจากดีเอ็นเอ’ (DNA-based Plastic) แม้ว่าการผลิตพลาสติกจากอสุจิแซลมอนยังคงต้องใช้ความร้อนและพลังงาน แต่ Dayong Yang หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า พลาสติกชนิดนี้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในบรรดาพลาสติกที่รู้จัก เนื่องจากการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกทั่วๆ ไป อีกข้อดีของพลาสติกชนิดนี้คือรีไซเคิลง่าย เพียงแค่ใช้เอนไซม์พิเศษสำหรับย่อยสลายดีเอ็นเอ หรือจะนำไปจุ่มน้ำเพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับไปเป็นเจลก็ได้ เพราะพลาสติกชนิดนี้จะนิ่มและยืดหยุ่นเมื่อโดนน้ำ  ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติการย่อยสลายง่ายทำให้พลาสติกดีเอ็นเอยังไม่เหมาะที่จะเป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำให้แก่วัสดุประเภทนี้อยู่ ทั้งนี้ […]

Save Our Planet: เมื่อโลกเต็มไปด้วยขยะ แล้วเราจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไร

ในวันที่ความสามารถในการจัดการขยะพลาสติก สวนทางกับปริมาณของกองภูเขาขยะ การหาทางออกด้วย “การสร้างสิ่งทดแทน” เพื่อให้เราทุกคนได้ใช้ชีวิตใน “เมืองไร้พลาสติก” (Zero Waste) จึงเกิดขึ้น

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.