จุฬาฯ เปลี่ยนกิจกรรมวันแรกพบนิสิตใหม่ ไม่มีผู้นำเชียร์ คทากร กลุ่มเชิญพระเกี้ยว ต่อต้านสิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี

ในยุคที่สังคมไทยให้ความสำคัญและขับเคลื่อนประเด็นเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ หลายหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนจึงต้องกลับมาพิจารณาและเปลี่ยนแปลงกิจกรรมขององค์กรที่อาจส่งต่อวัฒนธรรมการเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหนึ่งต้นตอของความไม่เท่าเทียมในสังคม หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งเปลี่ยนแปลงกิจกรรมวันแรกพบนิสิตใหม่แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปี 2565 (CU First Date 2022) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 พร้อมระบุว่าในวันงานจะไม่มีกิจกรรมใดๆ จากกลุ่มผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Cheerleader) จุฬาฯ คทากร (The Drum Major of Chulalongkorn University) และกลุ่มผู้อัญเชิญพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Coronet) อบจ. ระบุว่า ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากนิสิตจำนวนมากและสาธารณชนตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ‘สิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี’ (Beauty Privilege) ที่เอื้อให้คนหน้าตาดีตรงตาม ‘มาตรฐานความงาม’ (Beauty Standard) มีโอกาสในสังคมมากขึ้น  ดังนั้น อบจ. จึงต้องการแสดงจุดยืนและหยุดส่งวัฒนธรรมการกดขี่และการเลือกปฏิบัติต่อผู้อื่นที่เกิดจากอคติทางรูปร่าง หน้าตา สีผิว เชื้อชาติ และเพศ เพื่อทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันตามปฏิญญาการต้อนรับนิสิตใหม่แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยข้อที่ 2 […]

ลาก่อนกิจกรรมที่สร้างความไม่เท่าเทียม สโมสรนักศึกษา ม.มหิดล ประกาศยกเลิกประชุมเชียร์และกิจกรรมประกวดดาวเดือน

ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมได้กลายเป็นคุณค่าที่สังคมไทยเริ่มตระหนักรู้และยึดถือ นอกจากมีกลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อย่างขันแข็งแล้ว หน่วยงาน องค์กร และสถานศึกษาจำนวนไม่น้อยก็ขยับปรับตัวให้ทันตามยุคสมัย เห็นได้จากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่ออกมายกเลิกกิจกรรมกับวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับเทรนด์สังคมปัจจุบัน ล่าสุด สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้ออกมาประกาศยกเลิกกิจกรรมประชุมเชียร์ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และยกเลิกกิจกรรม MU Ambassador หรือที่หลายคนคุ้นชินกันในชื่อกิจกรรมประกวดดาว-เดือน รวมถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมสิทธิพิเศษของคนที่มีหน้าตาดีตรงตามมาตรฐานสังคม (Beauty Privilege) ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป นี่ไม่ใช่แค่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเท่านั้น แต่หากย้อนไปดูปรากฏการณ์ทำนองนี้ในช่วง 2 – 3 ปี จะพบว่ามีมหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยที่ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ยกเลิกกิจกรรมรับน้องที่เข้มงวด ระบบโซตัสที่แบ่งแยกรุ่นพี่-รุ่นน้อง ห้องเชียร์ที่บังคับนิสิตนักศึกษาเข้าร่วม ไปจนถึงกิจกรรมประกวดหาตัวแทนคณะและมหาวิทยาลัยที่มีหน้าตากับบุคลิกภาพดี เป็นต้น ยกตัวอย่างเมื่อปี 2020 องค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ก็ออกมายกเลิกการประกวดทูตกิจกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หลังจากสำรวจความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อกิจกรรมนี้ พบว่า 55.6% ของผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามทั้งหมด 1,272 คน ไม่เห็นด้วยกับการประกวด และเห็นควรให้ยกเลิกการประกวดดังกล่าว นอกจากนี้ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ก็ออกมาประกาศยกเลิกกิจกรรมการประกวดดาว-เดือน และอีกหลายๆ คณะของมหาวิทยาลัยในไทยก็ตบเท้าเข้าร่วมมูฟเมนต์นี้เช่นกัน แม้แต่ในงานบอลประเพณี […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.