‘Tactical Urbanism’ โครงการปรับพื้นที่ถนนในบาร์เซโลนา ที่ใช้กราฟิกลายพื้นเมืองชวนให้คนเดินเท้ากันมากขึ้น

หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงที่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จากพาหนะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสัญจรกันไปมา โดยหลายพื้นที่ในเมืองบาร์เซโลนาเองก็กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่เหมือนกัน รวมไปถึงการใช้ชีวิตในเมืองที่เร่งรีบยังส่งผลให้การพบปะสังสรรค์หรือหาพื้นที่พักผ่อนในเขตเมืองนั้นเป็นไปได้ยาก ‘Arauna’ สตูดิโอออกแบบกราฟิกในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน จึงเสนอวิธีแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนฟังก์ชันถนนที่ทำได้อย่างรวดเร็วและไม่แพง เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวา เรียกคืนพื้นที่ในเมือง พร้อมกับสร้างประโยชน์ให้ประชาชน ผ่านการสร้างถนนที่เป็นมิตรกับคนเดินถนนมากขึ้น และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีโดยทำให้เป็นพื้นที่สำหรับการเดินเล่นและพักผ่อนได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาคือรายละเอียดของโครงการ ‘Tactical Urbanism’ ที่ทั้งเพิ่มพื้นที่ในการเดิน เติมเต็มพื้นถนนด้วยกราฟิกสีสันสดใส เพื่อชวนให้คนมาเดินกันมากขึ้น Arauna ได้คิดค้นระบบกราฟิกโดยใช้เวลาในการออกแบบลายและเทคนิคการลงสีสร้างองค์ประกอบต่างๆ อย่างพิถีพิถัน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความต้องการ และบริบทอันหลากหลายที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในพื้นที่เหล่านี้ กราฟิกที่ปรากฏบนพื้นนั้นมีที่มาจากหินปูพื้นแบบดั้งเดิมของบาร์เซโลนาที่เรียกว่า ‘Panot’ ซึ่งถูกนำมาใช้สร้างทางเท้าของเมืองตั้งแต่ปี 1906 โดยทีมออกแบบของ Arauna นำลายเหล่านี้มาทาสีให้กลายเป็นภาพกราฟิกลงบนพื้น โดยไม่ลืมที่จะนึกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของถนนแต่ละสาย ละแวกบ้าน และหัวมุม นำไปสู่การปรับกราฟิกให้เข้ากับความต้องการและบริบทที่หลากหลายของพื้นที่ในเมืองแต่ละแห่ง นอกจากนี้ Arauna ยังเสนอให้สลักชื่อถนนบนทางเท้าทั่วบาร์เซโลนา เพื่อนำทางและเป็นหมุดหมายให้คนเดินเท้า แทนที่จะใช้ป้ายชื่อถนนที่ออกแบบมาสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์เพียงอย่างเดียว ซึ่งทีมออกแบบก็ได้ใช้ส่วนประกอบจาก Panot ประดิษฐ์ตัวอักษรในรูปแบบที่หลากหลายให้กลายเป็นอักขระแต่ละตัว เพื่อใช้ระบุถึงการใช้พื้นที่สาธารณะ ชื่อถนน โรงเรียน และอื่นๆ Sources :Barcelona Secreta | tinyurl.com/3tbr2wh8Designboom | tinyurl.com/3tnwrmc3

‘กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ’ สภาเมืองบาร์เซโลนาเปิดห้องสมุดใหม่ ตั้งชื่อเป็นเกียรตินักเขียนรางวัลโนเบล

หากคุณคุ้นเคยกับนวนิยายชื่อดังอย่าง ‘หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว (One Hundred Years of Solitude)’ ‘รักเมื่อคราวห่าลง (Love in the Time of Cholera)’ หรือ ‘ว่าด้วยความรักและบรรดาปีศาจ (Of Love and Other Demons)’ นี่คือผลงานของ ‘กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ’ นักเขียนชาวโคลอมเบียน ตลอดชีวิตนักเขียนผู้นี้ เขาเคยอาศัยที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ถึง 8 ปี ตั้งแต่ปี 1967 – 1975 นี่จึงเป็นที่มาของห้องสมุดเมืองบาร์เซโลนาแห่งใหม่ได้ตั้งเป็นชื่อของเขาเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักเขียนรางวัลโนเบลผู้นี้ ห้องสมุด ‘กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ’ แห่งนี้อยู่ในเขต Sant Martí de Provençals (ซาน มาร์ตี เดอ โปรเวนซาล) และตัวอาคารจะใช้ไม้กว่า 4,000 ตารางเมตร เป็นโครงหลัก (Timber-framed) […]

กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 5 เมืองที่พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวได้ดีที่สุดในโลก ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ทำให้โลกหยุดชะงักทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือประชากรโลกเอง ทุกอย่างเดินต่อด้วยความยากลำบาก แต่หลายเมืองก็ใช้ช่วงเวลานี้พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่บางส่วนที่เคยวางแผนไว้จนสำเร็จ  World Economic Forum สภาเศรษฐกิจโลกจัดอันดับ 5 เมืองที่มีการพัฒนาและฟื้นฟูสวนสาธารณะในช่วงมีการระบาด ซึ่งแต่ละเมืองก็พัฒนาแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ปารีส ฝรั่งเศส : ปรับปรุง Champs-Élysées ให้กลายเป็นสวนสาธารณะ ลดพื้นที่รถยนต์ เปลี่ยนถนนเป็นทางเดินเท้า และเพิ่มอุโมงค์ต้นไม้เพื่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น 2. กรุงเทพฯ ไทย : มีแผนสร้างสวนสาธารณะเพิ่ม 11 แห่งในเมือง รวมถึงอุทยานเชิงนิเวศที่มีป่าชายเลน เพิ่มเส้นทางสีเขียวระยะทาง 15 กิโลเมตร และเมื่อมิถุนายน 2563 สวนใหม่ที่เปิดให้เราได้ใช้บริการกันก็คือ ‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ 3. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา : เพิ่มต้นไม้ใน Union Square Park และเปลี่ยนเป็นเขตปลอดรถยนต์  4. ไนโรบี เคนยา : มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงที่มีการระบาด […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.