ศิลปะปลายใบมีดด้วยเทคนิค ‘Paper-cutting’ กับ Collagecanto

ติดสอยห้อยตาม ‘บัว-วรรณประภา ตุงคะสมิต’ ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นอาชีพรับจ้างทั่วไป แต่เรา (ไม่) แอบเรียกว่า ‘ศิลปินตัดกระดาษ’ ผู้สร้างลวดลายบนผืนกระดาษตั้งแต่ตั๋วรถเมล์ ลอตเตอรี่ ใบเสร็จทางด่วน ไปจนถึงพร็อพประกอบฉาก พร้อมคุยถึงเรื่องศิลปะปลายใบมีดด้วยเทคนิค ‘Paper-cutting’ กับการเปิดเฟซบุ๊กแฟนเพจ Collagecanto ที่เริ่มจาก ‘งานอดิเรก’ สู่โอกาสที่เปิดกว้างให้คนได้เห็นฝีมือ

ดอกไม้ไร้วิญญาณ เทคนิควิทยาศาสตร์ เพื่อคงสภาพให้เป็นอมตะ

จะยืดอายุดอกไม้สดอย่างไร ให้สวยทนและอยู่ได้นานยิ่งขึ้น คงมีหลายวิธีที่จะยืดชีวิตให้อยู่ไปได้สักระยะ แต่ไม่ใช่กับศิลปินชาวลอสแองเจลิส ‘ลูน่า อิคุตะ (Luna Ikuta)’ ที่สร้างศิลปะด้วยวิทยาศาสตร์เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตดอกไม้ให้เป็นอมตะ ! ‘Afterlife’ เป็นผลงานดอกไม้ไร้วิญญาณสุดบ้าระห่ำของ ‘อิคุตะ’ ศิลปินสื่อประสมที่เอากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาให้เป็น ‘เทคนิคศิลปะ’ แบบไม่เคยมีใครลองทำมาก่อนแน่ ! ซึ่งวิธีการที่ใช้มีชื่อเรียกว่า ‘Decellularization (การชะล้างเซลล์)’ คือวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อทำ ‘Extracellular Matrix (ECM)’ หรือ การแยกเมทริกซ์ หรือแยกตัวประกอบของเซลล์ออกไป ซึ่งจะยังคงโครงสร้างพื้นฐานเอาไว้แบบเดิม ถ้าพูดแบบให้เห็นภาพ ก็เหมือนกับปากกาลูกลื่นที่ถูกดูดหมึกออกจนเหลือแค่ปลอกปากกาเพียงอย่างเดียว โดยเขาเริ่มจาก ‘ดอกป๊อปปี้’ ก่อนอันดับแรก เพราะเป็นพันธุ์ที่ขึ้นอยู่ในแถบลอสแองเจลิสค่อนข้างเยอะ ซึ่งใช้การแยกเซลล์ด้วยวิธี ‘แช่ดอกไม้’ ลงไปในสารเคมีที่เป็นสูตรเฉพาะตัวของอิคุตะ เพื่อทำการลอกสีของดอกไม้ และดึงคลอโรฟิลด์ออกไป ทำให้ดอกไม้ถูกยับยั้งการสังเคราะห์แสงไม่ให้เจริญเติบโต โดยหลังจากที่เขาดึงสีออก ทำให้สีสันบนกลีบดอกไม้ถูกแทนที่ด้วยสีโปร่งแสง และเผยให้เห็นพื้นผิว รวมถึงโครงสร้างของดอกไม้ได้อย่างชัดเจนคล้ายกับการศึกษา ‘กายวิภาคศาสตร์’ ของดอกไม้ จนหลายคนต่างตั้งชื่อให้กับมันว่า ‘ดอกไม้ไร้วิญญาณ’ ที่สำคัญคือมันสามารถอยู่ใต้น้ำได้ตลอดไปเลยด้วย ! ซึ่งอิคุตะได้นำไปจัดแสดงเป็น ‘พืชน้ำ’ ในตู้ปลาของเขาเอง เพื่อสร้างภูมิทัศน์ทางน้ำให้กับปลากัด ซึ่งเป็นเพื่อนตัวจิ๋วได้แหวกว่ายอย่างอิสระไปกับความพลิ้วไหวของดอกไม้ที่เคลื่อนไปตามกระแสน้ำ […]

ล้วงลึกสกรีนพรินต์แบบเนิร์ดๆ ที่ The Archivist

“ผลิตงานพรินต์ด้วยมือ จะสู้พรินต์คอมพิวเตอร์ได้ไหม ?”

สารตั้งต้นที่สร้างความอยากรู้อยากเห็นเวลาไปดูงานตามแกลอรี ที่มองผิวเผินอาจมีความต่างเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อมองดูอย่างถี่ถ้วนกลับพบว่ามันแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง ‘มิน-มิญชญา ชโยสัมฤทธิ์’ จากสตูดิโอ @The Archivist ผู้คลุกคลีเรื่องงานพรินต์สกรีนอย่างช่ำชองจะพาเราไปเข้าใจถึงเทคนิคซิลค์สกรีนจนเกือบเนิร์ด พร้อมทั้งเผยเสน่ห์งานพิมพ์ที่มีมากกว่าแค่ทาบบล็อก แล้วปาดสี แต่จะปลุกพลังการดูงานศิลป์ในตัวเราให้สนุกยิ่งขึ้นไปอีก !

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.