FlexiFarm ตู้คอนเทนเนอร์ปลูกผัก นวัตกรรมฟาร์มสำเร็จรูป ปลูกง่าย เคลื่อนที่ได้ และทำให้คนเมืองมีสวนได้ง่ายขึ้น

มีพื้นที่ไม่เยอะ แต่อยากทำฟาร์มเล็กๆ ในเมือง จะทำอย่างไรให้คุ้มค่าและได้ผลผลิตดี เพราะในเมืองที่มีพื้นที่จำกัดอย่างกรุงเทพฯ ไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีฟาร์มหรือทำแปลงผักเหมือนในเกม Harvest Moon ได้ง่ายๆ  หากคุณมีพื้นที่บ้านจำกัด และอยากมีฟาร์มขนาดกะทัดรัดในรั้วบ้าน เราอยากพามารู้จักกับ FlexiFarm ต้นแบบ ‘ฟาร์มสำเร็จ’ ผู้คิดค้นโมเดลธุรกิจปลูกผักในตู้คอนเทนเนอร์ ที่ทำให้การปลูกผักสดเป็นเรื่องง่าย และตอบโจทย์คนเมืองที่มีพื้นที่น้อยได้เป็นอย่างดี FlexiFarm (เฟล็กซี่ฟาร์ม) นวัตกรรมการปลูกผักในตู้คอนเทนเนอร์ คือทางเลือกใหม่ของการทำฟาร์มในไทย เป็นฟาร์มที่เคลื่อนที่ได้ โยกย้ายสะดวก ใช้พื้นที่น้อยแต่ได้ผลผลิตคุ้มค่า เหมาะกับคนที่อยากทำธุรกิจฟาร์มเล็กๆ ในรั้วบ้าน หรืออยากจะปลูกผักไว้กินเอง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพที่อยากมีสวนผักปลอดสารพิษของตัวเอง คุณยุทธพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ก่อตั้ง FlexiFarm เล่าว่า “สถานการณ์ความเป็นอยู่ของเราในปัจจุบันมีความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงคราม สภาพเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และมลภาวะที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัย 4 โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกินซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ ด้วยเหตุนี้ FlexiFarm จึงถือกำเนิดขึ้น ด้วยความมุ่งหวังที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในยุคปัจจุบันให้ดีขึ้น ส่งเสริมความมั่นคงทางด้านอาหาร รับมือกับผลกระทบและทลายข้อจำกัดต่างๆ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่ดี มีคุณภาพ สะดวกสบาย และปลอดภัยได้ อีกทั้งยังเป็นโมเดลธุรกิจการปลูกผักที่ดีในอนาคต” คำว่า ‘Flexi’ […]

3D OCEAN FARMING ฟาร์มกลางทะเลที่ให้ผลผลิตจำนวนมาก และทำให้ทะเลสะอาดไปพร้อมกัน

องค์การสหประชาชาติคาดว่าเราจะต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 เพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้น ปัญหาคือพื้นที่การเกษตรที่มีคุณภาพของโลกถูกใช้ไปหมดแล้ว และในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็ยิ่งทำให้การเพาะปลูกเป็นเรื่องยากและมีผลผลิตน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งการทำฟาร์มรูปแบบใหม่ในมหาสมุทรคือความหวังที่จะแก้โจทย์เรื่องวิกฤตอาหารโลก และสามารถทำความสะอาดท้องทะเลไปพร้อมกัน แม้ว่าอาหารส่วนใหญ่ที่เรารับประทานถูกผลิตขึ้นบนแผ่นดิน แต่ท้องทะเลก็เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญเช่นกันไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือพืชบางประเภท ทำให้เป้าหมายของ GreenWave ที่ไม่ใช่คลื่นวิทยุแต่เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในอเมริกาเหนือ สนับสนุนเกษตรกรและชาวประมงในการจัดตั้งฟาร์มในทะเลในรูปแบบ 3 มิติ ที่จะใช้เชือกและตะกร้าในการปลูกอาหารทะเลประเภทต่างๆ ในเสาใต้ผิวน้ำ ในแต่ละเสาจะแบ่งเป็นพื้นที่หลายชั้น ซึ่งแต่ละชั้นจะปลูกพืชที่มีชนิดแตกต่างกันแต่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้บนพื้นที่แนวตั้ง และด้วยลักษณะพื้นที่แบบนี้จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นพืชทะเลได้มากถึง 30 ตัน และหอย 250,000 ตัวต่อปี โดยใช้พื้นที่แค่ 1 เอเคอร์ ฟาร์มเหล่านี้ช่วยฟื้นฟูท้องทะเลด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่ปลูก และมีส่วนช่วยในการดูดซับมลพิษจากน้ำ ที่สำคัญคือท้องทะเลเป็นสถานที่แห่งชีวิตที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ จึงไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ย ไม่ต้องใส่ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าปฏิชีวนะ หรือไม่จำเป็นต้องมีระบบน้ำชั้นยอด เพียงแค่หาที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำฟาร์ม แล้วเก็บเกี่ยวเมื่อถึงเวลาเท่านั้น ความหลากหลายทางชีวภาพในฟาร์มนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม อย่างแรกคือผลผลิตทั้งหมดจะไม่ล้มหายตายจากไปพร้อมกันด้วยโรคชนิดเดียว และฟาร์ม 3 มิติ ซึ่งเต็มไปด้วยพืชหลากชนิดยังสามารถดึงดูดสัตว์ทะเลให้เข้ามาในพื้นที่ได้มากขึ้นกว่า 150 สายพันธุ์อีกด้วย สาหร่ายทะเลและสัตว์บางชนิดยังทำหน้าที่เป็นเครื่องกรองน้ำธรรมชาติ หอยนางรมสามารถกรองน้ำได้มากถึง 225 ลิตรในแต่ละวัน ทำให้ฟาร์มแบบนี้สามารถลดทั้งปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และมลพิษต่างๆ ลงได้ […]

ฟาร์มแนวตั้งใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ปุ๋ยจากปลาเพิ่มผลผลิต 2 เท่า ความหวังสู้วิกฤตอาหารในภาวะโลกร้อน

Upward Farms วางแผนสร้างฟาร์มแนวตั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยจะใช้ของเสียจากปลามาเป็นปุ๋ย เพิ่มกำลังผลิตได้นับเท่าตัว และกลายเป็นความหวังในวิกฤตการณ์ด้านอาหาร เมื่อการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น  ฟาร์มแนวตั้งคือการปลูกพืชในรูปแบบวางซ้อนกัน และใช้พลังงานจากแสงไฟประดิษฐ์แก่พืชในการสังเคราะห์แสง รูปแบบการจัดวางแนวตั้งทำให้สามารถปลูกพืชได้มากขึ้นในพื้นที่เท่ากัน และนั่นเป็นเพียงข้อดีข้อแรกเท่านั้น ฟาร์มแนวตั้งยังมีการควบคุมด้วยระบบ AI ทำให้กำหนดทุกอย่างได้แม่นยำตั้งแต่อุณหภูมิไปจนถึงความชื้น ประหยัดทรัพยากรด้วยรูปแบบฟาร์มที่ไม่ต้องกังวลถึงการสูญเสียน้ำที่ไม่จำเป็น และทำให้ผลผลิตออกดอกออกผลอย่างสม่ำเสมอกว่าเกษตรกรรมดั้งเดิม ข้อเสียของฟาร์มแนวตั้งคือราคา แสงแดดจากธรรมชาติที่ไม่มีบิลค่าไฟมีราคาถูกกว่าแสงไฟประดิษฐ์แบบไม่ต้องเปรียบเทียบ ฟาร์มแนวตั้งส่วนใหญ่ยังต้องใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศ ระบบน้ำ และเทคโนโลยีอื่นๆ ทำให้การปลูกพืชรูปแบบนี้เต็มไปด้วยต้นทุนที่สูงกว่าเดิม  เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ฟาร์มแนวตั้ง 2 แห่ง ของ Upward ในบรูกลิน ไม่ได้ปลูกพืชเพียงอย่างเดียวแต่มีฟาร์มปลาในตัวด้วย ซึ่งของเสียจากปลาจะถูกกรองออกจากถังและใช้แทนปุ๋ยสังเคราะห์ บริษัทฟาร์มแนวตั้งแดนลุงแซมเปิดเผยว่าวิธีการนี้ทำให้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และมีผลอย่างมากต่อการตั้งราคาให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Upward ได้ประกาศแผนการสร้างฟาร์มแนวตั้งขนาด 250,000 ตารางฟุต ในรัฐเพนซิลเวเนีย ที่จะพร้อมเดินเครื่องผลิตพืชออกมาในปี 2023 และกลายเป็นฟาร์มแนวตั้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเช่นเดียวกับฟาร์มที่อื่นของบริษัท ฟาร์มแห่งนี้จะผลิตทั้งพืชผักและปลา ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของฟาร์มจะช่วยกระจายสินค้าไปยังผู้คนได้เร็วมากขึ้นด้วย “ฟาร์มแห่งนี้จะทำให้เราเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยยอดนิยมในสหรัฐอเมริกา ที่มีประชากรอาศัยอยู่ราวหนึ่งร้อยล้านคนได้ภายในวันเดียว จากที่เคยใช้เวลาราวหนึ่งสัปดาห์จากการจัดจำหน่ายจากฟาร์มในแถบชายฝั่งตะวันตก” Jason Green ซีอีโอของ Upward ตั้งเป้ากระจายสินค้าให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น แม้พืชผลส่วนใหญ่ของโลกยังคงปลูกในฟาร์มแบบดั้งเดิม แต่การทำฟาร์มแนวตั้งอาจกลายเป็นผู้เล่นคนสำคัญที่จะเลี้ยงปากท้องผู้คนในอนาคต […]

โคนมยุคเมตาเวิร์ส เกษตรกรตุรกีพบวัวผลิตนมมากขึ้น เพราะสวมแว่น Virtual Reality

หลายคนคงรู้จักหรือเคยลองสวมแว่น Virtual Reality (VR) อุปกรณ์สร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่ทำให้ผู้ใช้งานเห็นภาพแบบ 3 มิติ ผ่านมุมมอง 360 องศา ในตอนแรกเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาสำหรับเล่นเกมเป็นหลัก หลังจากนั้นก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายวงการ เช่น การแพทย์ การทหาร การศึกษา และการท่องเที่ยว และล่าสุดประโยชน์ของแว่น VR สุดล้ำครอบคลุมไปถึงภาคเกษตรกรรมแล้ว Izzet Kocak เกษตรกรในเมืองอักซารัย (Aksaray) ประเทศตุรกี ปิ๊งไอเดียนำแว่น VR สวมให้โคนมที่ถูกกักอยู่ในคอกช่วงฤดูหนาว เพื่อลดความเครียดให้แก่สัตว์เลี้ยง และต้องการทดสอบว่าพวกมันจะผลิตนมได้มากขึ้นหรือไม่  Kocak ทดลองสวมแว่น VR ให้วัวสองตัว หลังจากนั้นก็เปิดเพลงคลาสสิกและภาพวิวทิวทัศน์ให้พวกมันรู้สึกว่ากำลังเดินอยู่ในทุ่งหญ้าสีเขียวในวันที่แสงแดดจ้าและอากาศดี ดูเหมือนว่าการทดลองนี้จะได้ผล เพราะ Kocak เปิดเผยว่า โดยปกติวัวของเขาผลิตนมได้ 22 ลิตรต่อวัน แต่หลังจากได้สวมอุปกรณ์ VR พวกมันสามารถผลิตนมได้มากถึง 27 ลิตรต่อวันเลยทีเดียว  Kocak อธิบายต่อว่า การมองทุ่งหญ้าสีเขียวช่วยให้พวกมันอารมณ์ดีขึ้น เครียดน้อยลง และให้ผลผลิตมากขึ้น ดังนั้น สภาพแวดล้อมจึงมีผลกระทบต่อสุขภาพและการผลิตนมของวัว หลังจากภาพวัวสวมแว่น […]

‘GAARA’ ชุดเพาะเห็ดในบ้าน ปลูกง่าย กินได้จริง

อยากกินเห็ดก็เด็ดได้เลย ไม่ต้องเข้าป่าไปเก็บอีกต่อไป ชุดเพาะเห็ดในบ้าน ‘GAARA’ เป็นผลงานการออกแบบของ Klil Etrog ที่เหมาะกับช่วง WFH แบบนี้มากๆ ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ ไม่ต้องสร้างโรงเรือนก็มีเห็ดให้เด็ดกินได้ทุกวัน  ไอเดียของ Klil เริ่มมาจากเธออยากหาวิธีเพาะเห็ดง่ายๆ ในบ้าน (เหมือนที่เราปลูกถั่วงอกในทิชชู) และอยากให้ผลิตภัณฑ์นี้ออกมาเหมือนของใช้ในครัวที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องถนัดงานครัวหรืองานสวนมากก็เพาะเห็ดกินเองได้ทุกคน ที่สำคัญคือต้องวางในครัวแล้วดูดี หยิบจับมาใช้ได้ง่าย ทำกับข้าวอยู่ก็เด็ดเห็ดมาใช้ได้เลยทันทีที่ต้องการ  ชุดเพาะเห็ด GAARA ทำมาจากกระถางดินเหนียว 3 อันต่อกับพลาสติก และร้อยด้วยเชือกต่อกันเหมือนเสาโทเทม ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานใดๆ ในการทำงาน ใช้แค่พลังงานคนในการประกอบและรดน้ำก็พอ สามารถจัดเก็บและเคลื่อนย้ายง่าย แม้จะอยู่คอนโดฯ ห้องเล็กๆ ก็เพาะเห็ดได้ เพราะขนาดพอๆ กับกระถางต้นไม้เลย  เหตุผลที่ต้องใช้กระถางดินเหนียว เพราะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเพิ่มความชื้นและลดอุณหภูมิได้ดี เมื่อเทน้ำลงไปในรางจะทำให้น้ำหยดลงไปหล่อเลี้ยงเห็ดได้อย่างทั่วถึง และเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเห็ด  กระบวนการทำงานของ GAARA นั้นง่ายมากๆ เริ่มจากใส่แคปซูลเห็ดที่อยู่ในถุงพลาสติกลงไปในกระถางทั้ง 3 ชั้น นำกระถางมาร้อยต่อกัน ร้อยเชือกให้เรียบร้อย จากนั้นเจาะรูถุงพลาสติกตามรูกระถาง เทน้ำลงในร่องให้ครบทุกชั้นเพื่อให้น้ำค่อยๆ ซึมผ่านลงทำความชื้นถึงด้านล่าง และฉีดน้ำลงไปตามรูที่เจาะไว้ 2 […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.