X+living’s Cinema and Bookstore โรงหนังบรรยากาศร้านหนังสือในจีน ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภูมิทัศน์ภูเขาในท้องถิ่น

มองกลับไปในช่วงที่เกิดโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญล้วนส่งผลกระทบไปทั่วทุกหย่อมหญ้า แน่นอนว่า ‘อุตสาหกรรมภาพยนตร์’ ก็เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน เพราะโรงภาพยนตร์ทั่วโลกต่างต้องปิดตัวลงเป็นระยะเวลานาน เพื่อเติมชีวิตใหม่ให้กับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทางสำนักงานสถาปนิก ‘X+living’ ได้ร่วมมือกับโรงภาพยนตร์ ‘FAB’ และร้านหนังสือ ‘Zhongshuge’ เพื่อสร้างโรงภาพยนตร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับผู้มาเยือน ควบคู่ไปกับความสะดวกสบายของร้านหนังสือ โดย X+living ตั้งอยู่ในไท่หยวน ประเทศจีน บนพื้นที่ 4,600 ตารางเมตร ที่จะผสมผสานแง่มุมทางวัฒนธรรมของทั้งสองแบรนด์เข้าด้วยกัน โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับคนรักภาพยนตร์ พร้อมทั้งยกระดับคุณสมบัติของโรงภาพยนตร์แบบดั้งเดิมให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่ง X+living ตั้งใจที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความหลากหลาย เช่น พื้นที่สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วหนังที่มีห้องอ่านหนังสือของจงซูเก๋อ ซึ่งแวดล้อมด้วยบรรยากาศของชั้นหนังสือที่ตั้งใจออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์ภูเขาในท้องถิ่น เพื่อสร้างให้เกิดลักษณะของยอดเขาและถ้ำที่มีความพิศวงแต่อัดแน่นไว้ด้วยความรู้ มีที่นั่งเล่น นั่งอ่าน และการออกแบบพื้นที่เช่นนี้ยังสามารถรองรับงานอีเวนต์หรืองานพิธีการต่างๆ ได้อีกด้วย รวมถึงการใช้วัสดุไม้ที่ให้ความรู้สึกนุ่มนวลเป็นไม้กันไฟเกรด A ทั้งหมด ซึ่งไม่เพียงแค่ให้ความสวยงาม แต่ยังรับประกันความปลอดภัย และผสมผสานกับพื้นผิวโลหะที่ช่วยให้ผู้คนรู้สึกผ่อนคลายขณะนั่งเล่น นั่งรอภาพยนตร์ที่จะเริ่มฉาย ยังไม่หมดแค่นี้ เพราะหลังชมภาพยนตร์จบก็สามารถแวะจิบเครื่องดื่มร้อน เย็น ขนมหวาน หรือเมาท์มอยเรื่องหนังกับเพื่อนๆ ที่คาเฟ่ของจงซูเก๋อได้อีกด้วย ทั้งยังมีพื้นที่สำหรับเด็กที่นักออกแบบได้ใช้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์มาสร้างบรรยากาศ เช่น โปรเจกเตอร์ เครื่องบันทึกวิดีโอและภาพยนตร์ เพื่อสร้างโลกใบเล็กๆ […]

ตั๋วหนังราคาแพง เพราะต้นทุนสูงหรือถูกผูกขาด?

หลังจากกรุงเทพมหานครเริ่มจัดเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ตามสถานที่สาธารณะทั่วเมือง ปรากฏว่าเสียงตอบรับดีเกินคาด ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ ตบเท้าเข้าชมภาพยนตร์กลางแจ้งฟรีกันอย่างคึกคัก ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น กระแสจากการฉายหนังกลางแปลงครั้งนี้จึงอาจเป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนไทยนิยมและชื่นชอบการดูภาพยนตร์กันมากเหมือนกัน แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะชอบการดูหนังบนจอขนาดยักษ์ แต่มันไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะยอมจ่ายเงินซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปดูหนังในโรง เพราะข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า คนไทยดูหนังในโรงภาพยนตร์เฉลี่ยคนละ 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี และมีอัตราที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับจำนวนโรงหนังที่เพิ่มขึ้น  หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเข้าโรงหนังน้อยลงอาจเป็นเพราะค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันตั๋วหนังหนึ่งที่นั่งมีราคาเฉลี่ยราว 220 – 280 บาทต่อเรื่อง หากรวมกับค่าเดินทางไปกลับ หรือซื้อน้ำดื่มและป็อปคอร์นเข้าไปกินในโรงหนังด้วย เผลอๆ แบงก์ 500 ก็ยังไม่พอจ่ายด้วยซ้ำ แม้มีความตั้งใจไปดูภาพยนตร์ในโรงสักเรื่อง แต่เมื่อเจอค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่สูงขนาดนี้ การดูหนังแต่ละทีจึงกลายเป็นความบันเทิงราคาแพงที่คนหาเช้ากินค่ำหรือเด็กจบใหม่ยากจะเอื้อมถึง เพราะค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่ระหว่าง 313 – 336 บาทต่อวัน แทบไม่ครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศไทย ที่ดัชนีอาหารจานเดียวเพิ่มสูงขึ้น 6.7 เปอร์เซ็นต์ จนราคาข้าวผัดกะเพราแตะจานละ 60 บาทเข้าไปแล้ว  วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาตั๋วหนังในประเทศไทยแพงขนาดนี้ และเมื่ออ่านจบแล้ว เราอยากชวนทุกคนคิดต่อว่าสาเหตุเหล่านี้สมเหตุสมผลหรือไม่ และในอนาคตประเทศไทยควรทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนการดูหนังในโรงภาพยนตร์ให้กลายเป็นความบันเทิงที่คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ […]

คืนชีพโรงหนังเก่าอายุ 111 ปี ในอังกฤษ มรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งปลูกสร้างสำคัญ เตรียมกลับมาเปิดอีกครั้งหลังหยุดไป 3 ปี

โรงภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของอังกฤษจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากปิดเพื่อทำนุบำรุงครั้งใหญ่ Electric Palace Cinema สร้างขึ้นในปี 1911 สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียน Grade II* หรือสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญและมีความน่าสนใจเป็นพิเศษ จากคณะกรรมการอาคารประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์อังกฤษ และได้เข้าไปอยู่ใน Heritage at Risk Register หรือมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความเสี่ยงจะพังทลายตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งอาคารหลังนี้ระดมเงินสนับสนุนได้มากถึง 1.5 ล้านปอนด์ สำหรับแก้ไขโครงสร้างอาคารและปัญหาอื่นๆ เช่นการรั่วไหลของน้ำ งานครั้งนี้ยังรวมถึงการเปลี่ยนหลังคาอาคารให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยการกำจัดแร่ใยหิน ซ่อมแซมฝ้าเพดานที่เป็นปูนปลาสเตอร์ เปลี่ยนรูปแบบการตกแต่งภายใน เปลี่ยนพื้นหอประชุมบางส่วน และปรับปรุงที่นั่งในห้องประชุมด้วย แต่ก็รักษากลิ่นอายและสิ่งปลูกสร้างดั้งเดิมไว้ โถงทางเข้า ห้องฉายภาพยนตร์ และหน้าจอยังเป็นของดั้งเดิม David Looser ประธานของโรงภาพยนตร์ดังกล่าวบอกว่า หยุดการใช้แร่ใยหินบนหลังคาตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสมาคมประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์อังกฤษมีบทบาทในการช่วยเหลืออย่างชัดเจน ด้วยการลงทะเบียนโรงภาพยนตร์ว่าเป็นมรดกที่มีความเสี่ยงภัย และอนุมัติอย่างรวดเร็วเพื่อเคลียร์แร่ใยหิน ด้วยเงินสนับสนุนจากกองทุนมรดกสลากกินแบ่งแห่งชาติ Electric Palace Cinema ถูกสร้างขึ้นโดย Charles Thurston โชว์แมนที่สร้างโรงภาพยนตร์อีกสองแห่งคือ Empire Cinema และ Palace Cinema สำหรับ […]

ลาแล้ว สกาลา

ลาแล้วอย่างไม่มีทางหวนกลับ ไม่มีแม้กระทั่งตัวอาคารที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแห่งสยามสแควร์ กระทั่งสยามประเทศ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.