นวัตกรรมใหม่ ‘Smart Registration’ ใช้ AI ช่วยลงทะเบียนผู้ป่วยที่ รพ.กรุงเทพ ช่วยเจ้าหน้าที่ทำงานได้ดีขึ้นถึง 45 เปอร์เซ็นต์

ความเหนื่อยหน่ายที่ทุกคนต่างต้องเจอทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาลคือ การรอคิวและการเสียเวลาไปกับการลงทะเบียนผู้ป่วยที่บางครั้งก็กินเวลานาน ด้วยหลายๆ ครั้งเจ้าหน้าที่เองก็มีงานล้นมือ ทำให้ดูแลผู้เข้ารับการรักษาได้อย่างไม่ทั่วถึง ‘Agnos Health’ บริษัทสตาร์ทอัพผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ ร่วมมือกับ ‘โรงพยาบาลกรุงเทพ’ พัฒนาระบบ ‘Smart Registration’ เพื่อยกระดับการลงทะเบียนผู้ป่วยด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และผลักดันให้โรงพยาบาลก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Hospital อย่างเต็มตัว หลังจากที่ใช้เวลาในการพัฒนามากว่าสองปี ตอนนี้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่สามารถใช้งานระบบ Smart Registration ผ่านตู้ Kiosk หรือบนแท็บเล็ตของเจ้าหน้าที่ได้แล้ว โดยการใช้เทคโนโลยี AI นี้มีส่วนช่วยในการทำงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดระยะเวลาการรอของคนไข้ใหม่และคนไข้เก่า ลดการกรอกเอกสารต่างๆ และลดการใช้กระดาษ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืน ESG (Environment, Social, Governance) ในการลดใช้กระดาษและลดปริมาณขยะ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ให้ความสำคัญอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ลง ช่วยให้ดูแลและให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทาง Agnos Health ก็ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับโรงพยาบาลอีกหลายแห่ง เพื่อยกระดับการให้บริการทางสุขภาพของประเทศให้ดีขึ้น .ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.agnoshealth.com/smart-hospital-and-clinics

FYI

#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์

จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]

Adamant Hospital โรงพยาบาลจิตเวชลอยน้ำในปารีส ที่สร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่โดดเดี่ยวในเมืองใหญ่

เพื่อให้การไปโรงพยาบาลจิตเวชสำหรับชาวปารีสไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด สตูดิโอออกแบบ ‘Seine Design’ ที่เชี่ยวชาญการออกแบบสิ่งปลูกสร้างลอยน้ำจึงรับหน้าที่ออกแบบโรงพยาบาลจิตเวช ‘Adamant Hospital’ ตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน ‘Pont Charles-de-Gaulle’ บริเวณใจกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส Adamant Hospital เป็นโรงพยาบาลลอยน้ำในลักษณะสมมาตรที่แยกตัวออกมาจากโรงพยาบาลหลักอย่าง ‘Esquirol Hospital’ เพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีปัญหาด้านจิตใจโดยเฉพาะ ผ่านการออกแบบที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นสตูดิโอส่วนตัวของศิลปินมากกว่าโรงพยาบาลในขนาดเพียง 600 ตารางเมตร Seine Design อธิบายการออกแบบ Adamant Hospital ไว้ว่า เป็นแนวคิดการออกแบบอาคารที่เปลี่ยนสิ่งธรรมดาให้น่าตื่นเต้น โดยให้ความหมายกับเหตุการณ์และสภาพอากาศทั่วไปในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น ไม่ว่าจะฝนตกหรือแดดออก ผ่านการใช้ไม้แบบโมดูลาร์และมีบานประตูหน้าต่างแบบเคลื่อนย้ายได้ เพื่อให้ตัวอาคารเชื่อมต่อกับบรรยากาศธรรมชาติและเป็นมิตรกับผู้ป่วยมากขึ้น โดยภายในของ Adamant Hospital ประกอบไปด้วยห้องทำงานของทีมแพทย์ และพื้นที่สำหรับรับรองผู้ป่วยที่เน้นไปที่การออกแบบกิจกรรม ‘Therapy Workshops’ ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การทำเครื่องปั้นดินเผา เล่นดนตรี หรือการวาดภาพ เพื่อช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีความสุข และไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในเมืองใหญ่อีกต่อไป Sources : ArchDaily | t.ly/gJuQSeine Design | www.ronzatti.com/adamant.html

บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัด สำหรับครอบครัวที่ไม่สะดวกพาไปเอง กับเพจเฟซบุ๊ก ‘ลูกสาวพาหาหมอ’

เมื่อถึงวัยหนึ่ง การไปหาหมอตามนัดอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา แต่พออายุมากขึ้น การจะไปไหนมาไหนเองคงไม่สะดวก ลูกหลานก็อาจไม่ว่างพาไปหาหมอทุกครั้ง บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัดจึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ Pain Point ข้อนี้ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ คือธุรกิจให้บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เกิดขึ้นจาก ‘เอมี่-อมรรัตน์ ขันตยาภรณ์’ และลูกสาวผู้ทำหน้าที่พาผู้สูงอายุในบ้านไปหาหมอเป็นประจำ เนื่องจากญาติคนอื่นๆ มักไม่ค่อยมีเวลาว่าง ทำให้ทั้งคู่นึกถึงครอบครัวอื่นๆ ที่คนในครอบครัวอาจประสบปัญหาไม่ว่างพาผู้สูงอายุไปหาหมอ จนเกิดเป็นไอเดียที่อยากให้บริการนี้ขึ้นมา หน้าที่ของ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จะเริ่มต้นตั้งแต่รับผู้สูงอายุจากที่บ้าน พาไปโรงพยาบาล ดำเนินการเรื่องเอกสาร เข้าพบคุณหมอพร้อมกับผู้ป่วยด้วยหากเป็นเคสที่ต้องการ ไปจนถึงพากลับบ้านอย่างปลอดภัย โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาลนั้นจะมีการอัปเดตความคืบหน้าให้ญาติผู้สูงอายุทราบอยู่เรื่อยๆ แต่เนื่องจากเป็นงานที่ต้องนัดล่วงหน้า ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จึงไม่สามารถรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ รวมถึงผู้ป่วยเองต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เช่น พูดคุยสื่อสารและเดินได้ เพราะด้วยข้อจำกัดของพื้นที่รถยนต์ ทำให้พวกเธอไม่สะดวกรับผู้ป่วยที่นั่งวีลแชร์ตลอดเวลาได้ อัตราค่าบริการนี้อยู่ที่ 1,000 บาทต่อ 8 ชั่วโมง โดยยังไม่รวมค่าเดินทางที่เริ่มต้นด้วย 300 บาท หรือคิดตามระยะทางระหว่างบ้านลูกค้าถึงโรงพยาบาลทั้งขาไป-ขากลับ ซึ่งหากใครต้องการใช้บริการต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนถึงวันนัด เพราะถ้าจองช้าคิวอาจเต็มก่อนได้ ปัจจุบัน ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ เน้นการให้บริการเพียงพาผู้สูงอายุไปหาหมอเท่านั้น แต่ในอนาคต หากลูกค้ามีความต้องการอื่นๆ ก็อาจมีบริการเพิ่มเติม เช่น การพาไปซื้อของหรือบริการอื่นๆ […]

FYI

ภาพถ่ายสื่อเรื่องราว “เป็นมากกว่าโรงพยาบาล” กับ โรงพยาบาลกรุงเทพ ผ่านมุมมอง 3 ช่างภาพ

เวลาพูดคำว่า ‘โรงพยาบาล’ เราอาจจะนึกถึงเสียงไอ จาม หรือโรคภัยไข้เจ็บ ที่เราต้องเจอในชีวิตประจำวัน นั่นอาจจะชวนให้เราสัมผัสความรู้สึกด้านลบในการใช้บริการแต่ละครั้งได้ แต่สำหรับ ‘โรงพยาบาลกรุงเทพ’ ในภาพจำของใครหลายคนกลับเป็นภาพเชิงบวกที่มีการบริการต้อนรับที่เป็นมิตร มีเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย มีเสียงดนตรีที่ช่วยผ่อนคลาย สร้างความสบายใจให้กับผู้ที่เข้ามารับบริการ นี่คือมาตรฐานการทำงานตลอด 50 ปีของโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่ ‘เป็นมากกว่าโรงพยาบาล’ และไม่ได้มีแค่เรื่องการรักษาพยาบาล แต่ยังเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวดี ๆ ที่เราอยากชวนมาสัมผัสผ่านผลงานภาพถ่ายฝีมือช่างภาพชาวไทย 3 คน ชวนมองโรงพยาบาลผ่านมุมมองศิลปะที่ทำให้เห็นทั้งสถานที่ ผู้คนเบื้องหลัง และการทำงานเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนในสังคม พญ.เมธินี ไหมแพง รองประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม 1 และผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ บอกเราว่า ตลอด 50 ปีนั้น ทางโรงพยาบาลยึดมั่นในแนวคิดการให้บริการที่มีคนไข้เป็นศูนย์กลาง มุ่งมั่นรักษาผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติให้มีสุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพที่ดี  นอกเหนือจากบริการทางสุขภาพที่ครอบคลุมทุกโรค หลักๆ แล้ว โรงพยาบาลกรุงเทพยังนำเทคโนโลยีมายกระดับการบริการมากขึ้นเป็น ‘Healthcare Intelligence’ หรือ ‘เพื่อนอัจฉริยะที่รู้ใจทุกเรื่องสุขภาพ’ มีการเชื่อมต่อข้อมูลในระบบโรงพยาบาลถึงกันตลอด 24 ชั่วโมง และยังมีแอปพลิเคชันมายบีพลัส (My B+) […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.