‘แฟลตเกิร์ล’ มองปัญหาเรื้อรังของการไม่มีบ้านและโอกาสที่ไม่มีอยู่จริงของคนจนเมืองผ่านที่อยู่อาศัยในภาพยนตร์

*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์* เมื่อการมีบ้านเป็นฝันที่เกินเอื้อมทั้งสำหรับคนเมืองและอาชีพอย่างผู้พิทักษ์สันติราษฎร์  สนามแบดฯ สภาพเสื่อมโทรม ไฟติดบ้างไม่ติดบ้าง กับเสาที่ถูกพ่นลาย และหลากหลายเรื่องราวของผู้คนในห้องขนาดเล็กจิ๋วของแฟลตตำรวจ สวนทางกับจำนวนคนในห้อง ทั้งภรรยา ลูกคนที่หนึ่ง คนที่สอง คนที่สาม พานจะมีคนที่สี่ ต้องอัดกันอยู่ในห้องที่ไม่มีสัดส่วน ผนังและฝ้าจะถล่มลงมาได้ตลอด ภาพบรรยากาศนี้ถูกเล่าผ่าน ‘แฟลตเกิร์ล ชั้นห่างระหว่าง เ ร า’ ภาพยนตร์ของ แคลร์-จิรัศยา วงษ์สุทิน กับเรื่องราวของพี่น้องต่างสายเลือดอย่าง เจน และ แอน แต่กลับมีจุดร่วมอย่างการมีพ่อเป็นตำรวจและอาศัยอยู่ในแฟลตเดียวกัน จนเติบโตและสนิทสนมเป็นความสัมพันธ์ที่แล้วแต่จะนิยาม ชีวิตที่สนุกแสนสุขสงบในแฟลต ช่วงต้นของภาพยนตร์เป็นความพยายามเล่า ‘ความสุข’ ของเหล่าเด็กวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในแฟลต ทั้งภาพของเจนที่ออกมายืนกินไอศกรีมรอแอนกลับบ้านพร้อมกัน นักเรียนกลุ่มใหญ่ที่พากันออกไปเรียกตุ๊กตุ๊กหน้าโรงเรียน และถึงแม้จะเรียกตุ๊กตุ๊กในราคาเดิมไม่สำเร็จก็ยังมีรถตำรวจที่พาไปส่งถึงแฟลตได้ หลังเลิกเรียนก็มาใช้เวลาว่างด้วยกัน ตีแบดฯ นอนเล่น กินขนม ไปจนถึงแอบทำอะไรป่วนๆ อย่างการลักลอบเข้าห้องของตำรวจที่ไม่ค่อยอยู่เพื่อเข้าไปดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ฟรีๆ เสมือนชีวิตนี้ไม่มีปัญหาและได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นกับเพื่อนที่ตนสนิทใจ แต่เราจะรู้สึกเอะใจตั้งแต่ภาพความสุขนั้นถูกฉายด้วยพื้นหลังของสภาพตึก ห้อง หรือบรรยากาศที่ดูเสียดสีอย่างสุดซึ้ง ก่อนภาพยนตร์จะพาเราไปเจอความเป็นจริงว่าชีวิตของเด็กแฟลตมันไม่ได้สนุกและสวยงามเท่าไรนัก ด้วยปัญหาคุณภาพชีวิตราคาถูกสวนทางกับค่าครองชีพราคาแพงที่ไม่ว่าใครในแฟลตแห่งนี้ก็ไม่สามารถจ่ายมันได้ ชีวิตที่แตกต่างจากระยะห่างของชั้นในแฟลต ผสมปนเปไปกับ ‘ความห่างระหว่างชั้น’ ของเจนและแอน สองพี่น้องที่สนิทและรักกันปานจะกลืนกิน แต่ความเป็นจริงนั้น […]

สิงคโปร์ พลิกฟื้นสลัมสู่เมืองแนวตั้งและชุมชนทันสมัย สร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

จากชุมชนชาวประมงเล็กๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเกาะภูเก็ตเพียงเล็กน้อย ปัจจุบัน ‘สิงคโปร์’ กลายเป็นหนึ่งในประเทศศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยโอกาสและเม็ดเงินมหาศาลจากทั่วโลก แต่ถึงอย่างนั้น ทุกเมืองทุกพื้นที่ย่อมมีข้อจำกัดของตัวเอง ด้วยความที่เป็นเกาะขนาดเล็กและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติ ทำให้ดินแดนแห่งเมอร์ไลออนกลายเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ติดอันดับหนึ่งในสามของโลกอยู่เสมอ แต่ด้วยความสามารถในการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้สิงคโปร์ยังรองรับผู้คนจากทั่วโลกได้โดยไร้ข้อบกพร่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายการสร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยด้วย ‘HDB Flat’ หรือแฟลตรัฐบาลที่เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในราคาที่จับต้องได้ และนอกจากโมเดลที่อยู่อาศัยแนวตั้งสำหรับชาวสิงคโปร์ อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงความท้าทายใน ‘แฟลตของประชาชน’ ที่ยังมีข้อจำกัดในกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นงานของรัฐบาลที่ต้องหาทางแก้ไขต่อไป จากชุมชนแออัดสู่ตึกอาคารชุดโดยรัฐ หลังจากหลุดพ้นการเป็นหนึ่งในอาณานิคมของประเทศอังกฤษในปี 1959 เกาะสิงคโปร์ต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพจากผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งชาวจีน อินเดีย และมาเลเซีย ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศในเวลาต่อมา ด้วยเหตุดังกล่าว ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในปี 1960 รัฐบาลสิงคโปร์นำโดยนายกรัฐมนตรี ‘ลี กวน ยู’ ได้เริ่มต้นวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยจัดตั้ง Housing & Development Board (HDB) หรือหน่วยการเคหะแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย โดยรัฐบาลได้กว้านซื้อที่ดินสลัมทั่วประเทศและเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาเมือง  ปัจจุบันประชากรในสิงคโปร์กว่า 80 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ใน HDB แฟลต ซึ่งเป็นตึกที่อยู่อาศัยแนวตั้งเพื่อป้องกันปัญหาความแออัด โดยที่รัฐเป็นผู้วางแผนทั้งหมด ผู้เช่าอาศัยจะได้รับสิทธิ์อยู่อาศัยเป็นเวลา […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.