‘IM Project’ โครงการจากนิสิตจุฬาฯ ที่ช่วยร้านอาหารชุมชนให้อยู่ได้ในวิกฤตโควิด-19

เชื่อว่าไม่น้อยเลยที่จะเห็นร้านอาหารเล็กๆ ที่คุ้นเคยบริเวณชุมชนหรือที่พักปิดตัวไปเพราะภาระทางเศรษฐกิจในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดเป็นต้นมา บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็คล้ายกับพื้นที่การศึกษาอื่นๆ ที่บริเวณภายในและรอบๆ เต็มไปด้วยร้านอาหาร ร้านกาแฟ สำหรับนักเรียน นิสิตนักศึกษาและคนทำงานที่แวะเวียนมาในพื้นที่ แต่วันนี้ผู้คนกลับลดจำนวนลงมากเพราะมาตรการเรียนออนไลน์ นั่นทำให้ร้านอาหารรายเล็กบริเวณนั้นต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเท่าเดิม แต่รายรับลดฮวบ เมื่อนิสิตกลุ่มหนึ่งรับประทานอาหารที่ร้านในพื้นที่ชุมชนสามย่านและได้รับฟังปัญหาที่ร้านต้องเจอ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘IM Project’ หรือ ‘อิ่มโปรเจกต์’ โครงการที่ริเริ่มโดยกลุ่มนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ตั้งใจช่วยเหลือร้านอาหารชุมชนให้อยู่รอดได้ในช่วงวิกฤต เพราะกว่าที่สถานการณ์ทุกอย่างจะกลับไปเป็นปกติ ร้านอาหารที่เรารักและเคยผูกพันอาจจะล้มหายตายจากไปจากย่านนี้เสียก่อน ‘อนวัช มีเพียร’ หนึ่งในทีมงานของ ‘อิ่ม’ เล่าให้เราฟังว่าร้านอาหารแรกที่โครงการช่วยเหลือคือ ‘ก๋วยเตี๋ยวตี๋ใหญ่ต้มยำ’ ที่ซอยจุฬาฯ 48 ร้านเปิดขายในพื้นที่สามย่านมากว่า 14 ปี และเรียกติดปากจากผู้คนบริเวณนั้นว่า ‘ก๋วยเตี๋ยวกัญชา’ ทว่าทางร้านไม่ต้องการรับความช่วยเหลือเป็นตัวเงินโดยตรงแต่เป็นการรับทำอาหารแทน ดังนั้นสิ่งที่อิ่มโปรเจกต์ทำคือจับคู่ร้านอาหารเข้ากับสถานที่ องค์กร หรือมูลนิธิที่ต้องการสั่งข้าวกล่อง และเปิดรับบริจาคจากผู้ที่พร้อมสนับสนุน  สำหรับอนาคตว่าจะอยู่หรือไปของ ‘ก๋วยเตี๋ยวกัญชา’ อนวัชบอกว่าสิ้นเดือนมกราคมนี้เป็นเส้นตายที่ต้องช่วยทางร้านจ่ายค่าเช่าพื้นที่ให้เพียงพอกับจำนวนที่ต้องจ่าย หากไม่ครบตามเป้าทางร้านก็ต้องโยกย้ายไปพื้นที่ใหม่สำหรับประกอบการ  นี่อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากอีกหลายร้านที่พบความยากลำบากในช่วงวิกฤตนี้ ทาง ‘อิ่ม’ มองเห็นปัญหาและไม่ได้นิ่งนอนใจ “เราอยากพัฒนาโครงการที่ยั่งยืนและช่วยร้านค้าในวงกว้างขึ้นและได้ผลประโยชน์ทุกร้านอย่างเท่าเทียมกัน และช่วยให้ร้านโลคอลที่ไม่ได้มีใครซัปพอร์ต เป็นพ่อค้าแม่ค้าหาเช้ากินค่ำให้อยู่รอดได้ด้วยตัวเองในพื้นที่สามย่าน” อนวัชทิ้งท้ายกับเรา สำหรับใครที่อยากช่วย #saveก๋วยเตี๋ยวกัญชา ติดตาม ‘IM […]

ถ้าครูฟังอยู่ อยากให้รู้ว่า ‘หนูเหนื่อย’ ฟังความในใจของเด็กไทยในวันที่ต้องกลับมาเรียนออนไลน์

โจทย์การบ้านวันนี้ : ให้นักเรียนเขียนถึงความรู้สึกของการเรียนออนไลน์ในครึ่งเทอมนี้ มีอะไรอยากระบาย อยากบอกเล่าให้ครูฟัง พิมพ์มาได้เต็มที่เลย นี่เป็นโจทย์การบ้านจริงของเด็กมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่คุณครูโรงเรียนแห่งหนึ่งมอบให้พวกเขาได้รับบทผู้พูด ระบายความในใจจากการเรียนออนไลน์เต็มระบบมาตลอดระยะเวลาหนึ่งเทอม ตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 เด็กไทยจำนวนมากกำลังถูกพรากช่วงชีวิตในวัยเรียนและความทรงจำที่มีค่าไป เด็กไทยต้องปรับตัวเรียนออนไลน์ทั้งๆ ที่ไม่พร้อม ทั้งสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การเรียน และที่น่าเสียดายคือพวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้เจอเพื่อน ไม่ได้เจอคุณครู ไม่มีโอกาสเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และนักเรียนบางคนที่ย้ายโรงเรียนหรือขึ้นระดับชั้นใหม่ อาจจะไม่มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนร่วมห้องตัวเป็นๆ ด้วยซ้ำนี่คือคำตอบของเด็กที่มีตัวตนจริงๆ ซึ่งล้วนระบายความรู้สึกออกมาจากใจ จนทำให้เราคิดถึงวัยเด็กอีกครั้ง ถ้าฟังเสียงของพวกเขาจบแล้ว เราอยากชวนให้ทุกคนกลับมาฟังเสียงของลูกหลานในบ้าน และหันกลับไปถามความรู้สึกของพวกเขากันว่าวันนี้ “หนูเหนื่อยไหม?” หนูเรียนออนไลน์จนตาจะพังแล้ว เราล้วนโตมากับคำเตือนของผู้ใหญ่ว่า อย่าจ้องหน้าจอคอมและโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้สายตาเสีย หรือแม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็ออกมาเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์นานเกิน 2 ชั่วโมง  ทว่าเป็นที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันเด็กต้องอยู่หน้าจอคอมเพื่อเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่าวันละ 6 ชั่วโมง ​ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะตาล้า (Digital eye strain) ปวดตา ตาแห้ง แสบตา หรือบางคนอาจจะถึงขั้นปวดศีรษะร่วมด้วย และคำว่าเรียนออนไลน์อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เพราะนั่นหมายถึงการมีอุปกรณ์การเรียนที่มากกว่าสมุดและปากกา คือคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โต๊ะ และเก้าอี้ในการเรียนของเด็ก บ้านที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ […]

The Lost Year : เด็กไทยสูญเสียอะไรบ้างในยุคโควิด-19?

เริ่มต้นวันเสียงนาฬิกาปลุก เราลุกขึ้นจากที่นอนด้วยความขี้เกียจจะใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไปอีกวัน หยิบโทรศัพท์เข้าทวิตเตอร์เป็นอย่างแรกเพื่ออ่านเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้เหมือนกับอ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้า และเป็นอีกวันที่เราเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ และตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มขึ้นอีกแล้ว เพิ่มขึ้นทุกวันๆ ทวีตขอความช่วยเหลือทั้งหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด ข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือไม่ทันเวลา โพสต์ขายของที่เห็นได้ทั่วไปบนทวิตเตอร์ที่ตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤตโรคระบาดนี้มาก็เริ่มแยะขึ้นทุกวัน จนเราเกิดคำถามว่า เราอยู่กับโควิดกันมานานแค่ไหนแล้วนะ? คำตอบคือ 1 ปี 6 เดือน 30 วัน และที่น่าเศร้ายิ่งกว่าคือสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดูจะไม่ดีขึ้นในเร็วๆ นี้ บ้านที่ตอนนี้เป็นทั้งที่กิน ที่นอน ที่เรียน ที่เล่น ที่ทำงานก็คงจะมีสถานะเช่นนี้ไปอีกนาน มองออกไปนอกหน้าต่างก็เห็นเพียงถนนว่างเปล่า จากถนนที่มักจะคึกคักด้วยรถราในช่วงสายไปจนถึงเย็นของวัน ออกจากบ้านแต่ละครั้งเราไปได้ไกลสุดแค่ซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน ไม่รู้ว่าคุณป้าที่ขายผักที่ตลาดแล้วสนิทกับคุณยายเราจะเป็นอย่างไรบ้าง คุณพี่รถไอติมที่มักเข้ามาขายช่วงบ่ายของวันก็ไม่เจอเป็นเดือนแล้ว หรือคุณลุงขายผลไม้ที่กินประจำตอนไปเรียนที่คณะจะยังสบายดีอยู่ไหม ทุกคนได้รับผลกระทบและสูญเสียสิ่งสำคัญในชีวิตไปกับวิกฤตโรคระบาดในรูปแบบที่ต่างกัน คนกลุ่มหนึ่งที่เรานึกถึงอยู่เสมอคือผู้คนวัยเดียวกับเรา ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรกพวกเราถูกจำกัดพื้นที่ในการใช้ชีวิตมานาน ไม่มีโอกาสได้ไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย สูญเสียโอกาสใช้ชีวิตให้เต็มที่สมวัย ถูกพรากความฝันและตัวตนไปไม่ต่างกับผู้คนวัยอื่นๆ วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ประกาศให้เป็น ‘วันเยาวชนสากล (International Youth Day)’ เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงเสียงและการมีส่วนร่วมของเยาวชนในเรื่องต่างๆ ของเยาวชน เราในฐานะนิสิตที่เรียนออนไลน์มานาน กำลังจะเรียนจบ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.