พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

คนไทยไม่อ่านหนังสือ หรือพื้นที่การอ่านมีไม่มากพอ?

บรรยากาศห้องสมุดที่เราคุ้นเคยคงเป็นสถานที่น่าเบื่อเชยๆ ไว้ค้นคว้ารายงานส่งครู ขณะที่ห้องสมุดในต่างประเทศกลับมีรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุดที่หรูหราโอ่อ่าราวขุมทรัพย์ ไปจนถึงห้องสมุดจิ๋วในตู้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งเปิดกว้างให้นักอ่านทุกประเภท ชวนเราย้อนคิดว่า ทำไมบ้านเราถึงมีภาพจำว่า ห้องสมุดมีไว้สำหรับการเรียนการสอน หรือนักวิชาการเท่านั้น ?

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.