รวมคำถามยอดฮิตจากคนเมืองถึงไรเดอร์

“ปักหมุดให้แล้วทำไมยังมาไม่ถูก” “ต้องส่งกี่ออเดอร์ถึงจะพออยู่ได้” “ไรเดอร์รวมตัวกันเรียกร้องอะไร” Urban Creature รวบรวม 108 คำถามยอดฮิตที่คนเมืองสงสัย จนหลายครั้งก็ยังนั่งจับเข่าคุยกับพี่ไรเดอร์ Urban Creature ร่วมกับ @Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

ป๊อก ป๊อก รับหิ้วมื้อเด็ดส่งถึงที่

หากเราขี้เกียจจะเดินออกไปกินข้าวแต่อยากกินอาหารมากมาย สิ่งที่เราทำก็คงหนีไม่พ้นการสั่ง Food Delivery ให้มาส่งถึงหน้าบ้านของเรา แต่กว่าจะเลือกอาหารที่จะกินได้ก็คงเสียเวลาเลือกร้านอาหารที่ถูกใจไม่ใช่น้อย จะดีกว่าไหมถ้าหากมีบริการที่เลือกร้านอาหารเด็ดมาให้แล้วเราแค่เลือกจากในนั้น Pok Pok คือแพลตฟอร์มที่รวมร้านอาหารเด็ดมากมาย จนเหมือนกับเราไปเดินหาของกินใน Food Court ที่มีทั้งร้านดังที่มีชื่อเสียง หรือร้านเด็ดประจำถิ่น รับหิ้วมาให้เราในครั้งเดียว และหลายครั้งยังบริการส่งอาหารข้ามโซนโดยไม่เสียค่าส่ง อีกทั้งวิธีการที่ Pok Pok ให้ลูกค้าสั่งอาหารนั้นก็ง่ายดายจนติดใจกลุ่มผู้สูงวัยจนกลายเป็นลูกค้าประจำ Urban Creature คุยกับ ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Pok Pok ถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้ และความคาดหวังที่จะกลายเป็น 1 ใน Food Delivery ที่ใครๆ ก็หันมาใช้กัน

ตามสั่ง-ตามส่ง Delivery ของชุมชนลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าส่งเท่านั่งวินฯ ค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน

คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่  แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.