5 ภาพยนตร์ LGBTQ+ ที่ขับเคลื่อนความรักของทุกคนให้เท่าเทียมกัน

“คนเท่ากัน สมรสเท่าเทียม” จากมูฟเมนต์ความเท่าเทียมทางเพศที่กลายเป็นกระแสสังคมที่แข็งแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก เราได้เห็นหลายประเทศหันมาสนใจ และลงมือแก้ไขกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสได้อย่างถูกต้อง และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศ  ในทางกลับกัน ประเทศไทยที่อ้างตัวเสมอว่า เป็นดินแดนเสรี กลับยังคงไม่มีหนทางที่ชัดเจนให้กับการผ่านกฎหมายนี้ จนมวลชนต้องลุกขึ้นมาล่ารายชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากใครๆ ด้วยวาระที่ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน Urban’s Pick จึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจความสำคัญของ #สมรสเท่าเทียม ผ่าน 5 ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความรัก ความสัมพันธ์ และสิทธิของคู่รัก LGBTQ+ ในเดือนแห่งความรัก ที่ไม่ว่าคนเพศไหนก็ควรจะรักกันได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม 01 Your Name Engraved Herein (2020) ไต้หวัน น่าจะเป็นประเทศในเอเชียที่เรียกว่า ‘ก้าวหน้าที่สุด’ ในมูฟเมนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะนอกจากจะเป็นประเทศแรกที่รัฐสภาให้ผ่านกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2019 สื่อไต้หวันยังทำคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนสิทธิของคนเพศหลากหลายจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง Your Name Engraved Herein ที่กวาดรายได้ไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภาพยนตร์ดราม่าเรื่องนี้ พาผู้ชมย้อนกลับไปในยุคหลังยกเลิกกฎอัยการศึก (Martial Law : 1949 […]

My Fluffy and Worthy Love : ความรักที่อยากแก่ชราไปด้วยกัน

เราชอบถ่ายรูปผ่านสมาร์ตโฟน เพราะมันบันทึกความทรงจำได้ไวและง่ายที่สุด บวกกับโตมาในยุคของ Instagram รูปถ่ายส่วนใหญ่ของเราจึงเป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสไปโดยปริยาย เรามีความสุขกับการเก็บภาพผ่านกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้มาก มุมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน อาหารที่กินแล้วอยากกินอีก แสงแดดที่เห็นแล้วชอบ ท้องฟ้าที่เห็นแล้วประทับใจ กระทั่งความทรงจำธรรมดาที่ผ่านตาแบบไม่ทันคิดอะไรแต่อยากบันทึกไว้ พูดง่ายๆ ว่าชีวิตในแต่ละช่วงของเราล้วนได้ถูกบอกเล่าในภาพถ่ายทั้งหมด และในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ภาพที่เราถ่ายไว้มากที่สุดคือ ‘คุณ’ เรากับคนรักที่เป็นผู้หญิงเหมือนกันคบกันมา 7 ปีแล้ว ความรักของเราคือความรักธรรมดาทั่วไป อยากเห็นเขาได้รับสิ่งดีๆ เจออะไรน่ารักก็คิดถึงเขา การมีความรักเป็นเรื่องที่งดงามและล้ำค่ามากๆ สำหรับเรา เพราะมันเป็นการได้รับพลังที่ส่งต่อจากคนคนหนึ่ง การถูกรัก การได้ส่งความรัก ทำให้เรามีพลังในการใช้ชีวิตและรักตัวเองมากขึ้น เราแชร์กับเขาได้ทุกความรู้สึก ความทุกข์ไม่ต้องถูกซุกซ่อนไว้ วันไหนที่ใจไม่ค่อยดี แค่คิดว่ากลับบ้านไปแล้วได้เจอเขา เรื่องหม่นใจก็ถูกปัดเป่าไปหมด  คนรักเราชอบอ่านหนังสือ ชอบจดบันทึก ไม่ชอบฟังเพลงเท่าไหร่ ชอบถ่ายพุ่มหญ้าต้นไม้ และชอบเขียนการ์ดขอบคุณ หน้าตาตอนมีความสุขกับของกินอร่อยๆ ตายิ้มๆ มือก้อนๆ ที่ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราอยากบันทึกไว้ทั้งหมด เพราะภาพถ่ายชีวิตประจำวันไม่ได้บรรจุแค่ความทรงจำเท่านั้น มันมีทั้งความรักความรู้สึกที่เรามีต่อเขาและสิ่งต่างๆ ที่รวมอยู่ด้วยในตอนนั้น เวลาย้อนกลับมานั่งดูมันชื่นใจ ความฝันของเรากับคนรักคือ อยากมีชีวิตที่ดี เติบโต และแก่ชราไปด้วยกัน แต่เราทั้งคู่กลับต้องสงสัยอยู่เสมอว่าจะมีชีวิตไปด้วยกันจนแก่ในฐานะคนรักได้ไหม หรือต้องถูกเข้าใจว่าเป็นเพื่อนสนิทกันไปแบบนี้ […]

“ยังมีคนที่ไม่มีสิทธิ์รักใครได้อย่างเป็นทางการ” คุยเรื่องสมรสเท่าเทียมกับคนจัดม็อบ LGBTQ+

แม้หลายคนพร่ำบอกว่าประเทศไทยเฟรนด์ลี่กับ LGBTQ+ มาก แต่เชื่อไหมผ่านมาหลายสิบปี รัฐไทยยังไม่เคยคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาจะรักกันได้อย่างเท่าเทียมเลยสักครั้ง ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสองปีก่อนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เรายังจดจำบรรยากาศและกิจกรรมของ ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ ได้ดี ในฐานะที่เป็นม็อบที่มีสีสันมากที่สุด มีลูกล่อลูกชนมากที่สุด และครีเอทีฟที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการต่อบทหนังเรื่อง ‘หอแต๋วแตก’ ที่บิดเอารายละเอียดประเด็นปัญหาทางการเมืองไทยมาสื่อสารอย่างลงตัว การใช้เพลงฮิตในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การแสดงออกอย่างเสรีผ่านเสื้อผ้าหน้าผมของผู้ชุมนุมที่สดใสจัดจ้าน การปรากฏของธงรุ้งงขนาดใหญ่โบกสะบัดสง่างามกลางถนน รวมถึงการปราศรัยรสแซ่บถึงรากปัญหาเพื่อเรียกร้องสิทธิและเป็นปากเสียงสื่อสารปัญหาใต้พรมที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญมาแสนนาน กิจกรรมทั้งหมดสร้างสรรค์ได้อย่างมีลูกเล่นชวนอมยิ้ม แต่ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงหลักการอย่างหนักแน่น เพราะต้องการสนับสนุนจุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยเต็มใบ รวมถึงต้องการเรียกร้องและผลักดันประเด็นความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงสักที ทำให้ แรปเตอร์–สิรภพ อัตโตหิ และเพื่อนสมาชิกกลุ่มเสรีเทยพลัส หยิบเอาไอเดียที่ตัวเองเสนอในแฮชแท็กทวิตเตอร์ #ไอเดียออกม็อบ มาเดบิวต์จัดม็อบแรกในชีวิต ในเวลานั้นประเด็นเรื่องเพศและมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม เริ่มมีกระแสพูดถึงอย่างแพร่หลายแล้ว ทว่าเมื่อเกิดม็อบที่โฟกัสถึงสิทธิของคนเพศหลากหลายขึ้น ทั้งยังมี ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ครั้งที่ 2 และอีกหลายๆ ม็อบตามมา ประกอบกับกลุ่มแอ็กทิวิสต์ที่ต่อสู้เรื่องเพศทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เริ่มมีพื้นที่ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ยิ่งเสริมพลังให้การต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และขอบเขตบทสนทนาเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าที่เคย ล่าสุดมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างดุเดือดว่า ทำไมรัฐบาลไทยถึงยังไม่ให้ผ่านซะที (วะ) โดยที่แรปเตอร์เองก็ได้ร่วมจัดม็อบสมรสเท่าเทียมในนามเครือข่ายภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม […]

‘สำนักพิมพ์สะพาน’ กับการใช้นิยายข้ามสะพานไปหาความเท่าเทียมให้หญิงรักหญิง

‘สำนักพิมพ์สะพาน’ สำนักพิมพ์นิยายหญิงรักหญิง ที่ต่อสู้ให้นิยายหญิงรักหญิงได้วางขายบนชั้นหนังสือ และยื่นคำร้องต่อศาล #สมรสเท่าเทียม

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.