‘อาคารพิงไผ่’ ศาลาอเนกประสงค์เชื่อมป่าเข้ากับคนผ่านการเรียนรู้วัฒนธรรมอาข่าและพัฒนาคุณภาพไม้ไผ่

‘ยุ๊มมาฉ่า เพื่อพี่น้องชาวอาข่า’ เป็นโครงการที่ดำเนินงานจากความร่วมมือของชุมชนบ้านป่าซางนาเงิน และโรงเรียนบ้านป่าซางนาเงิน ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในการก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ในชื่อ ‘อาคารพิงไผ่’ จาก ‘ไม้ไผ่’ ซึ่งมีอยู่เดิมในพื้นที่ เพื่อให้อาคารพิงไผ่กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอาข่าและพัฒนาคุณภาพทักษะการใช้ไม้ไผ่ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างแนวทางการต่อยอดสู่การสร้างรายได้ของชุมชนบ้านป่าซางนาเงิน รวมถึงสร้างพื้นที่ที่เยาวชนและคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมผ่านการคิด การออกแบบ และพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ปัจจุบันโครงการยุ๊มมาฉ่า เพื่อพี่น้องชาวอาข่า ได้ดำเนินโครงการนี้มาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ตั้งแต่การระดมทุน ทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน การศึกษาดูงานการออกแบบอาคาร และลงมือปฏิบัติจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ่อยืดอายุไม้ไผ่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานในระยะยาว หรือการจัดเวิร์กช็อปฝึกอาชีพออกแบบสิ่งปลูกสร้างตัวอาคาร จนในที่สุดอาคารพิงไผ่ก็เปิดใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา อาคารพิงไผ่เป็นผลงานการออกแบบร่วมกันระหว่างโครงการยุ๊มมาฉ่า เพื่อพี่น้องชาวอาข่า และ Bamboosaurus Studio ผ่านการนำคุณค่าและอัตลักษณ์ด้านไม้ไผ่ของชุมชนบ้านป่าซางนาเงินและรูปแบบของ ‘หมวกทรงสูงของชาวอาข่า’ มาพัฒนาออกแบบและต่อยอดให้ออกมาเป็นอาคารสาธารณประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อผสานประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคน โดยเฉพาะเรื่องการใช้ไม้ไผ่ และตัวอาคารจะกลายเป็นที่ทำการของ ‘วิสาหกิจชุมชนพัฒนาไผ่ดอยตุง’ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำไม้ไผ่ภายในพื้นที่มาสร้างรายได้ให้คนในชุมชนต่อไปในอนาคต รวมถึงอาจมีการเปิดหลักสูตรท้องถิ่นให้เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้บนทรัพยากรที่มี และต่อยอดทักษะความรู้ให้เห็นถึงสิ่งที่มีในชุมชน เพื่อให้อาคารพิงไผ่แห่งนี้เป็นเหมือนพื้นที่เรียนรู้ที่เชื่อมโยงโรงเรียน ชุมชน และคนนอกชุมชนที่สนใจอยากเรียนรู้บริบทในพื้นที่ หลังจากนี้ทางโครงการยังมีแผนพัฒนาโครงการด้วยการขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานไม้ไผ่อย่างยั่งยืนไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดค่าใช้จ่ายในการสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้คนกลับมาใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น […]

The Arc อาคารไม้ไผ่ของโรงเรียนในบาหลี แนวคิดการออกแบบด้วยวัสดุทางเลือกที่ยั่งยืน

IBUKU คือทีมนักออกแบบและผู้สร้างสถาปัตยกรรมที่ปรารถนาจะใช้ประโยชน์จาก ‘ไม้ไผ่’ และใช้ช่างฝีมือรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อพัฒนาแนวคิดโบราณและแนวคิดใหม่ให้สมดุลกัน เพราะพวกเขาเชื่อว่าศักยภาพของต้นไผ่นั้นถูกประเมินค่าต่ำเกินไป และน่าจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนได้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน เช่น เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก แปซิฟิกใต้ อเมริกากลางและใต้ เป็นต้น เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ต่างคุ้นเคยกับพรรณไม้ชนิดนี้มาเป็นร้อยๆ ปี เราขอยกตัวอย่างผลงานสถาปัตยกรรมแห่งหนึ่งในประเทศบาหลีที่นำวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาใช้สร้างสรรค์ที่อยู่อาศัย สถาปัตยกรรมนี้ชื่อว่า ‘The Arc’ ได้รับการออกแบบโดยความร่วมมือจาก Jörg Stamm ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ไผ่ชาวเยอรมัน และ Atelier One บริษัทวิศวกรรมโครงสร้างในสหราชอาณาจักร โครงการนี้เรียบง่าย โดยใช้ไม้ไผ่มาสร้างเป็นหลังคาที่มีลักษณะคล้ายเปลือก ทำหน้าที่บังแดดลมฝน ครอบสนามกีฬาอเนกประสงค์ของโรงเรียน Green School ซึ่งเป็นสถาบันชื่อดังในอินโดนีเซียที่ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องความยั่งยืนร่วมกับผู้คนในชุมชน เมื่อมอง The Arc จากภายนอกจะพบรูปร่างเปลือกที่มีความโค้งเว้าลื่นไหลไปกับรูปทรงของธรรมชาติโดยรอบ เป็นภาพหลังคาที่มีความซับซ้อนไม่ธรรมดา สถาปนิกกล่าวว่า โครงการต้องใช้เวลาหลายเดือนในการวิจัยเพื่อกำหนดวิธีการสร้าง ตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างแบบจำลอง ทดสอบอายุการใช้งานของไม้ไผ่ หรือวิธีการป้องกันแมลงต่างๆ ฯลฯ จนเกิดเป็นซุ้มไม้ไผ่ที่มีความสูง 14 เมตร ความยาว 19 เมตร แปลนของอาคารมีความกว้าง 23.5 เมตร […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.