ชวนพี่น้องชาวใต้กลับบ้านไปมองความฝันที่ผลิบานในงาน Pakk Taii Design Week 2023

ถึงคราวของภาคใต้ที่จะมีเทศกาลสร้างสรรค์งานออกแบบเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกแล้ว กับ ‘เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566’ หรือ ‘Pakk Taii Design Week 2023’ ภายใต้ธีม ‘The Next Spring หลบเริน แล้วผลิบาน’ ที่อยากชวนพี่น้องชาวใต้กลับบ้านมาสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ ว่า ‘ปักษ์ใต้บ้านเรา’ สามารถเป็นอะไรได้อีกบ้าง เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับจังหวัดสงขลา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นักออกแบบและนักสร้างสรรค์ชาวใต้ เพื่อผนึกกำลังกันต่อยอดผลผลิตทางวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่ให้เกิดมูลค่าทางความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น ภายในเทศกาลมีการจัดกิจกรรมกว่า 60 โปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดง นิทรรศการศิลปะ วงเสวนา เวิร์กช็อป การฉายภาพยนตร์ แฟชั่นโชว์ ทัวร์เมือง ไปจนถึงตลาดสร้างสรรค์ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินและนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่มีพื้นที่นำเสนอผลงาน ภายใต้ 5 คอนเซปต์หลักว่าด้วยความเป็นปักษ์ใต้ที่เกี่ยวโยงทั้งประวัติศาสตร์ ผู้คน และองค์ความรู้การออกแบบ เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 หรือ Pakk Taii Design Week 2023 […]

สำรวจ ‘จะนะ’ ผ่าน ‘Voice of Chana’ แพลตฟอร์มข้อมูลจาก Greenpeace ที่จะทำให้รู้จักจะนะมากกว่าแค่ข่าวนิคมฯ

เมื่อปี 2562 โครงการ ‘นิคมอุตสาหกรรมจะนะ’ ได้ผ่านมติพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยเป็นโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า ท่าเรือน้ำลึก และโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งดูเหมือนว่าโครงการนี้จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมของชาวจะนะมากกว่าช่วยพัฒนาพื้นที่โดยรอบ จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น และกระแส #saveจะนะ บนแพลตฟอร์มโซเชียล จนทำให้ปัจจุบันโครงการถูกชะลอออกไปจนกว่าการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์จะเสร็จสิ้น หากสงสัย อยากทำความเข้าใจ และหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่จะนะนั้นจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง และทำไมชาวบ้านถึงออกมาเรียกร้องปกป้องบ้านเกิด Urban Creature ชวนไปติดตามข้อมูลทั้งหมดจาก ‘Voice of Chana’  Voice of Chana เป็นแพลตฟอร์มที่ชาวจะนะและกรีนพีซ (Greenpeace) ใช้เวลากว่าสองปีในการรวบรวมข้อมูลและศึกษาผลกระทบของโครงการนิคมฯ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งต่ออาชีพ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ก่อนจะนำมาย่อยเพื่อเล่าใหม่ให้เข้าใจง่าย โดยใช้วิธีเล่าข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) รวมไปถึงเป็นช่องทางการส่งเสียงของชาวจะนะให้สังคมได้รับรู้ว่าชาวบ้านไม่ได้จะขัดขวางการพัฒนา เพียงแต่ต้องการอยู่ในบ้านเกิดของตนเองภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี และมีสิทธิ์มีเสียงในการออกแบบการพัฒนาบ้านเกิดของตนเองด้วยเช่นกัน ตามไปสำรวจชีวิตชาวจะนะและผลกระทบของนิคมอุตสาหกรรมได้ที่ : voiceofchana.greenpeace.org

จิบกาแฟ อ่านหนังสือเที่ยงวันยันเที่ยงคืน ‘dot.b’ ร้านหนังสือใหม่บนถนนนครใน จังหวัดสงขลา เปิดวันแรก 25 ม.ค. 66

หลังจากที่ ‘ร้านหนังสือเล็กๆ’ บนถนนยะหริ่ง ได้บอกลาจังหวัดสงขลาไปสู่เมืองสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เมืองสงขลาขาดร้านหนังสืออิสระไปช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในวันที่ 25 มกราคม 2566 สงขลาจะกลับมามีร้านหนังสืออิสระอีกครั้ง กับ ‘dot.b’ ร้านหนังสือแห่งใหม่บนถนนนครใน ย่านเมืองเก่าสงขลา เพราะชอบอ่านหนังสือและยังอยากเห็นเมืองที่ตนอยู่อาศัยมีร้านหนังสืออิสระ ‘ธีระพล วานิชชัง’ เจ้าของ ‘dot’ ร้านกาแฟเล็กๆ ที่มีหนังสือไม่น้อยให้ลูกค้าอ่านฆ่าเวลาในตึกเก่าที่หันหน้าเข้าสู่ถนนนครนอก จึงตัดสินใจต่อเติมอาคารให้กลายเป็นร้านหนังสืออิสระแห่งใหม่ที่หันหน้าเข้าหาถนนนครใน เชื่อมสองฝั่งถนนในเมืองเก่าสงขลาไว้ด้วยสองพื้นที่ในอาคารเดียวกัน นอกจากนี้ ธีระพลยังมีความตั้งใจที่จะนำหนังสือหลากหลายประเภทกลับมาสู่เมืองสงขลา รวมถึงอยากสร้างพื้นที่ให้ชาวเมืองได้มีสถานที่หลบภัยสำหรับนั่งอ่านหนังสือหรือทำงานท่ามกลางความสงบในบริเวณชั้นสองของร้าน ขณะที่อีกด้านมีบริการกาแฟและเครื่องดื่มจากร้านเดิมร่วมด้วย  ร้าน dot.b ตั้งอยู่ที่ 115 ถนนนครใน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา goo.gl/maps/t46TK5zHD9KpRAaV6 เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 25 มกราคม 2566 ที่จะถึงนี้ และเปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.00 – 24.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุด เวลา 10.00 – 24.00 น.

เปิดแล้ว! ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ ห้องสมุดแห่งแรกในโครงการห้องสมุดประจำเมือง ที่ จ.สงขลา

ห้องสมุด คือวิธีการที่ดีที่สุดในการปลูกฝังให้คนรักการอ่าน เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเสียเงินสักสตางค์ แถมยังมีหนังสือหลากหลายประเภทให้เลือกสรร ประเทศที่เจริญแล้วส่วนใหญ่ล้วนมีห้องสมุดกระจายตัวอยู่ทั่วมุมเมือง เพื่อที่คนทุกเพศทุกวัยจะได้มีที่พักผ่อนหย่อนใจ หาความรู้ หรือใช้ร่ำเรียน สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับห้องสมุดในประเทศไทยที่เราอยากนำเสนอคือ ที่จังหวัดสงขลา ได้มีเจ้าของบ้านโบราณอนุญาตให้ใช้งานและบูรณะโกดังข้าว ซึ่งเป็นอาคารหลังหนึ่งของเหล่าอาคารอนุรักษ์ในเมืองเก่าสงขลา เป็นห้องสมุดประจำเมือง ใช้ชื่อว่า ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ นับว่าเป็นห้องสมุดแห่งแรกภายใต้โครงการห้องสมุดประจำเมือง ที่ดำเนินงานโดย มูลนิธิวิชาหนังสือ สำนักพิมพ์ผีเสื้อ และได้รับการสนับสนุนโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และชาวสงขลา แม้รูปลักษณ์จะดูไม่เหมือนห้องสมุดอย่างที่เราคุ้นเคยนัก แต่ห้องสมุดแห่งนี้ก็มีพื้นที่ให้อ่านหนังสือหลากหลายมุม ทั้งยังมีบริการจัดหาหนังสือที่ผู้ใช้งานต้องการมาให้ รวมถึงจัดกิจกรรมตามความต้องการของประชาชน เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายในการเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูล แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พบปะสังสรรค์ ตลอดจนรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น และองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในชุมชนให้เป็นหมวดหมู่และเป็นรูปธรรม หลังจากนี้จะมีห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่เกิดขึ้นที่ไหนอีก ชวนให้นักอ่านติดตามกันต่อไป เพราะในวันที่การซื้อหนังสือสักเล่มต้องเป็นเรื่องที่ใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำเล่า การมีห้องสมุดเกิดใหม่ที่กระจายออกจากเมืองหลวงบ้าง ถือเป็นมูฟเมนต์เกี่ยวกับโครงสร้างการอ่านระดับชาติที่น่าสนับสนุน แวะไปเยี่ยมเยียนและอ่านหนังสือที่ ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ ได้ที่โกดังข้าว ย่านเมืองเก่า ถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา Source :Facebook […]

The Wall at Songkhla 2022 กิจกรรมเติมแสงไฟให้สงขลาส่องสว่าง ปลุกย่านเมืองเก่าให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

แสงไฟไม่ได้ทำหน้าที่ให้ความสว่างอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาเมือง ไปจนถึงกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ให้กลับมาคึกคักได้ด้วย แนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของกิจกรรม ‘The Wall at Songkhla 2022’ ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และทีมนักออกแบบแสงจากกลุ่ม Lighting Designers Thailand (LDT) ร่วมมือกับเทศบาลนครสงขลาและภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม ชวนทุกคนมาค้นหาเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ของย่านเมืองเก่าสงขลาในยามค่ำคืน ผ่านการออกแบบแสงไฟเพื่อเปลี่ยนกลางคืนในเมืองเก่าสงขลาให้ส่องสว่างและกลับมามีชีวิตอีกครั้ง การจัดแสดงไฟบริเวณ 3 จุดที่เชื่อมโยงกันครั้งนี้ ช่วยให้ทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ได้เข้าถึง Hidden Gems และอาจต่อยอดไปเป็นการติดตั้งแสงไฟอย่างถาวรในการช่วยให้ร้านรวงต่างๆ ในท้องถิ่นได้ขยายเวลาค้าขายและต้อนรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในอนาคต คอนเซปต์การจัดไฟของแต่ละจุดเป็นอย่างไร แสงสว่างเหล่านี้ช่วยให้พื้นที่มีชีวิตชีวามากขึ้นขนาดไหน เราขอชวนทุกคนออกสำรวจเส้นทางเมืองเก่าสงขลาไปพร้อมๆ กัน ภาพงานไฟครั้งนี้แตกต่างจากที่เราจินตนาการกันไว้เล็กน้อย เพราะงานไฟส่วนใหญ่ที่เราเคยได้เห็นมักจะเป็น Installation Art เชิงศิลปะที่เน้นความน่าตื่นตาตื่นใจให้คนได้ถ่ายรูปกัน แต่งานนี้ผู้จัดตั้งใจออกแบบแสงสว่างที่สวยงามและเน้นเรื่องการพัฒนาเมืองเป็นหลักมากกว่า เริ่มกันที่จุดแรกกับ ‘The Wall 1: The Prime Light’ ที่ชุมชนมัสยิดบ้านบน มัสยิดที่เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางศาสนาของคนในชุมชนเป็นเวลานานกว่า 170 ปี แม้จะเป็นพื้นที่ที่คึกคักมีคนเข้าออกตลอดเวลา แต่เมื่อไม่มีแสงเข้าถึงกลับทำให้บริเวณนั้นมืดมิดจนหลายครั้งคนนอกพื้นที่ไม่รู้หรือดูไม่ออกเลยว่ามีมัสยิดอยู่ตรงนี้ด้วย ทาง LDT จึงเข้ามาออกแบบแสงเพื่อสะท้อนให้เห็นความงามของมัสยิดในยามค่ำคืน […]

บอกลาภาคใต้ไปแดนเหนือ ‘ร้านหนังสือเล็กๆ’ เตรียมย้ายจากสงขลาไปเชียงใหม่ ต้นปี 66

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เราได้เสนอข่าวการโยกย้ายร้านของ ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ บนถนนพระสุเมรุ มาเดือนนี้ก็เป็นคราวการโยกย้ายของ ‘ร้านหนังสือเล็กๆ’ ที่เคยอยู่ทำเลเดียวกันเมื่อครั้งประจำการบนถนนพระอาทิตย์ (ตอนนั้นร้านหนังสือเดินทางเช่าที่ร้านหนังสือเล็กๆ ต่อ) เป็นเวลากว่าหกปีที่ ‘เอ๋-อริยา ไพฑูรย์’ พาร้านหนังสือเล็กๆ มาลงหลักปักฐานบนถนนยะหริ่ง จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งนับเป็นร้านหนังสืออิสระแห่งเดียวของเมืองใหญ่สองทะเลก็ว่าได้ ที่ผ่านมา เอ๋เช่าอาคารเก่าแล้วปรับปรุงฟังก์ชันให้เป็นร้านหนังสือและพื้นที่ทำกิจกรรมของเด็กๆ ตามตัวตนของเธอที่เคยทำงานเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์แพรวเยาวชน แต่ด้วยความไม่สะดวกที่ต้องเทียวไปเทียวมา บวกกับต้องทำงานอื่นๆ หารายได้ ทำให้เธอไม่สามารถเปิดร้านเป็นประจำสม่ำเสมอได้ทุกวัน เพราะมีแพลนจะย้ายไปเชียงใหม่มาตลอด บวกกับคิดว่าตนได้ทำร้านหนังสือที่นี่มานานพอจนถึงเวลาสมควรแล้ว เอ๋ก็ตัดสินใจย้ายร้านหนังสือเล็กๆ ไปแถวโรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ “ถ้าย้ายไปที่นั่นมันจะเป็นบ้านเรากับเพื่อน คือเป็นบ้านกับร้านหนังสือในที่เดียวกันไปเลย ตื่นมาก็เปิดร้าน มีหนังสือรายล้อม บรรยากาศดี ในสวนมีต้นไม้ดอกไม้ แถมขายได้หรือไม่ได้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องยอดขายเท่าตอนเช่าร้าน เพราะยังไงก็เป็นบ้านเราเอง “ส่วนแนวหนังสือก็คงเหมือนเดิม เป็นแนวที่เราชอบและถนัด แต่จะเพิ่มโซนหนังสือเด็กขึ้นมา มีสนามหญ้า และห้องที่เป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆ” เอ๋เล่า ระหว่างนี้ร้านหนังสือเล็กๆ กำลังทยอยเก็บหนังสือ ทำให้ต้องปิดหน้าร้านอยู่บ่อยๆ ใครที่อยากแวะไปเยี่ยมเยือนอาจต้องติดต่อหาเอ๋ก่อน ส่วนการสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ยังพอทำได้บ้าง ขณะเดียวกัน แม้สงขลาจะไม่มีร้านหนังสือเล็กๆ แล้ว แต่ด้วยความร่วมมือกับคนรักหนังสือ บวกกับแรงผลักดันสนับสนุนจากเอ๋ ก็ทำให้เมืองยังมีร้านหนังสือต่อไป […]

พี่น้องเอ๋ย ฟังเสียงเราบ้าง l Urban Eyes จะนะ

“มันดีนะ…การที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษแล้วปกป้องบ้านเกิด มันยังคงติดชื่ออยู่ ต่อสู้เพื่อปกป้องอากาศ ปกป้องชีวิต  ปกป้องอนาคตให้กับลูกหลาน หนูว่าสำเร็จนะ ต่อสู้จนโดนคดี ต่อสู้จนแบบ ใจมันยังสู้อะ . . มันสำเร็จแล้วแหละ”  เราอยากพาคุณล่องเรือสู่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พูดคุยกับผู้คนในพื้นที่ถึงปัญหาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจนเกิดกระแส #Saveจะนะ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำไมการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรมถึงไม่เป็นที่ยอมรับ ผู้คนในท้องถิ่นต้องสู้กับอะไรและต่อสู้เพื่อสิ่งใด ร่วมเดินทางหาคำตอบไปพร้อมกับเราจาก Urban Eyes นี้กัน

ลงใต้ไปทัวร์เมืองเก่า ส่องร้านต้นตำรับ ที่งาน ‘เมดอินสงขลา’ 18 – 19 ธ.ค. 64

สุดสัปดาห์นี้ใครอยู่ใต้แวะไปเที่ยวสงขลากันนะ!  18 – 19 ธ.ค. 64 นี้ จังหวัดสงขลาจะมีงาน ‘เมดอินสงขลา’ (Made in Songkhla) อีเวนต์สนุกๆ ที่จะพาทุกคนลัดเลาะย่านเมืองเก่า พร้อมกับเดินผ่านร้านค้าดั้งเดิม 12 ร้าน มีทั้งร้านเจ้าแรก ร้านต้นตำรับ ร้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงร้านที่ไม่มีทายาทสืบทอดหรือไม่มีคนรุ่นใหม่อนุรักษ์ต่อแล้ว ส่วนสินค้าของแต่ละร้านก็มีตั้งแต่อาหาร ขนม เครื่องดื่ม งานปัก ไปจนถึงสิ่งพิมพ์ ผู้เข้าร่วมงานจะได้ซึมซับบรรยากาศและสถาปัตยกรรมสุดวินเทจแบบใกล้ชิด และยังได้เลือกชิมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านในตำนาน ที่ถูกแปลงโฉมให้โดดเด่น มีเอกลักษณ์ และทันสมัยยิ่งขึ้น ความพิเศษก็คือความร่วมมือจาก 9 นักออกแบบรุ่นใหม่ ทั้งดีไซเนอร์จากท้องถิ่นและจากส่วนกลาง ที่จะพาทุกคนสัมผัสกับเมนูใหม่ๆ และเปิดประสบการณ์ซื้อขายสำหรับธุรกิจสร้างสรรค์ ชื่นชมบรรจุภัณฑ์หรือหน้าร้านอันแปลกตา ที่ถูกผสมผสานด้วยไอเดียสร้างสรรค์ จนกลายเป็นผลผลิตใหม่ฉบับเมดอินสงขลาแท้ๆ ทุกคนจะได้รับรู้และเข้าใจเรื่องราวของร้านต่างๆ ในย่านนี้อย่างลึกซึ้งกว่าเดิม มากไปกว่านั้น งานเมดอินสงขลายังมีกิจกรรมสุดพิเศษอื่นๆ รอต้อนรับทุกคนอีกด้วย ได้แก่ 1) นิทรรศการขนาดเล็กและงานฉายสารคดีสั้นเกี่ยวกับเมดอินสงขลา จัดโดย a.e.y.space ที่จะพาทุกคนรับรู้ความเป็นมาเป็นไปของงานและจุดกำเนิดของงานสร้างสรรค์ที่ล้วนทำที่สงขลา พร้อมกับแผนที่สำหรับเดินท่องงาน 2) Family Talk […]

ช่างชัย-วีรชัย อินทราช ช่างที่สร้างช่างโซลาร์เซลล์ชุมชนไปจุดไฟฟ้าให้สว่างทั่วแดนใต้

คุยกับ วีรชัย อินทราช แห่งภาคใต้โซล่าเซลล์ ผู้ที่สร้างช่าง Solar Cell ชุมชนให้เด็กๆ ไม่ต้องเดิน 7 กม. ไปชาร์จมือถือ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.