หนีจากเสียงที่ไม่ชอบ ไปสร้างซาวนด์ที่ใช่ กับ The Ambient Machine เครื่องสร้างบรรยากาศเสียงให้ตรงกับอารมณ์แต่ละวัน

ในวันธรรมดาที่เรานั่งทำงานที่บ้านหรือวันหยุดที่ใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจ บรรยากาศรอบตัวคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรามีสมาธิและรู้สึกผ่อนคลาย แต่หลายครั้งเสียงรอบๆ ตัวก็ไม่เป็นใจ ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนข้างบ้าน เสียงการจราจรบนท้องถนน หรือเสียงจอแจของเมือง เพราะมองว่า ‘เสียง’ คือสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ศิลปินนักออกแบบเสียงชาวญี่ปุ่น ‘Yuri Suzuki’ จึงคิดค้น ‘The Ambient Machine’ หรือเครื่องปรับบรรยากาศเสียงขึ้นมา โดยร่วมมือกับบริษัทเฟอร์นิเจอร์ของญี่ปุ่น E&Y เพื่อสร้างบรรยากาศที่ผู้อยู่อาศัยพึงใจและสามารถออกแบบเสียงที่ชอบได้ เครื่องปรับบรรยากาศเสียงนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นกล่อง โดยใช้วัสดุอย่างไม้วอลนัตที่เป็นโทนสีอ่อนให้ความรู้สึกสบายตา ชวนให้นึกถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนสมัยก่อน The Ambient Machine มาพร้อมแผงสวิตช์สีเงินทั้ง 32 ปุ่มที่ช่วยให้ผู้ฟังควบคุมความดัง ระดับเสียงก้อง หรือความเร็ว เพื่อสลับเสียงกับผสมผสานสร้างเพลงพื้นหลังที่ตรงกับอารมณ์ในแต่ละวันได้ โดยมีแหล่งกำเนิดเสียงที่คัดสรรจากหลายแหล่ง เช่น เสียงของเครื่องดนตรีอะคูสติก เสียงฟ้าฝน คลื่นลม เสียงน้ำไหลในลำธาร เสียงระฆัง และเสียงสิ่งมีชีวิต เป็นต้น Sources : Creative Boom | bit.ly/3sDyZtoYuri Suzuki | bit.ly/3P84Jy2

เมืองเสียงดัง เราเสียงดัง กรุงเทพฯ ติดอันดับ 9 เมืองเสียงดังที่สุดในโลก

แดดยามสายฉายเข้ามาผ่านหน้าต่างห้องทำงาน กาแฟคั่วอ่อนเพิ่งดริปจบมาหมาดๆ ไออุ่นและกรุ่นคาเฟอีนช่วยออกแรงผลักให้สมองเริ่มประมวลผล แต่แล้วรถบรรทุกขนาดใหญ่ก็ถอยหลังเครื่องกระหึ่มเข้ามาอย่างช้าๆ พร้อมกับเสียงสัญญาณแหลมกวนประสาท ต่อด้วยเสียงเพื่อนพนักงานที่ตะโกนคุยกันระหว่างบุหรี่หลังมื้อเช้า อีกสักพักเสียงเคลื่อนย้ายสิ่งของก็ดังขึ้นต่อเนื่องนานกว่าชั่วโมง ความเงียบสงบเมื่อครู่พาสมาธิเตลิดไปไกลกว่าจะเรียกคืนมาได้ก็เสียเวลาอยู่หลายนาที  เหตุการณ์เช่นนี้เป็นปัญหามลภาวะทางเสียงรูปแบบหนึ่งในอีกหลายพันปัญหามลภาวะทางเสียงที่เราหลายคนต่างพบเจอ เมื่อต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันกับผู้คนในสังคม ปัจจุบันเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ มีประชากรมากเกือบถึงหกล้านคน พูดได้ว่านอกจากเสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติแล้ว เราต่างเป็นแหล่งกำเนิดเสียงภายในเมืองเช่นเดียวกัน ด้วยปัญหามลภาวะทางเสียงส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึก และปัญหาของเสียงที่ดังขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติเรื่อยไปเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองในระยะยาว ในวันที่เมืองยังมีเสียง คอลัมน์ City by Numbers ขอพาทุกคนไปสำรวจดูว่า ย่านไหนในกรุงเทพมหานครที่มีเสียงดังที่สุด ไปฟังกันว่าเสียงที่ได้ยินอยู่นั้นยังคงเป็นเสียงที่ดังปกติหรือเปล่า พื้นที่สาธารณะเสียงดังได้แค่ไหน ข้อมูลระดับเสียงที่อนุญาตจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ 55 เดซิเบล (dB) สำหรับพื้นที่พักอาศัยกลางแจ้ง และ 70 dB สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์และที่ที่มีการจราจรติดขัด  หูของมนุษย์นั้นสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่ 0 dB ขึ้นไป เพื่อให้นึกระดับความดังของเสียงออกมากยิ่งขึ้น เราขอลองยกตัวอย่างเปรียบเทียบดังนี้  – ระดับเบามาก 0 – 20 dB เช่น เสียงกระซิบ เสียงลมหายใจ หรือเสียงในป่า– ระดับเบา […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.