จากการฝึกคัดลายมือของเด็กชั้น ม.6 สู่ฟอนต์ ‘ถาป่ง ถาปัด’ ใช้ได้ฟรีทุกงานออกแบบ

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นการแจกฟอนต์ลายมือชื่อ ‘ถาป่ง ถาปัด (thaphong thapad)’ ผ่าน Facebook Page : F0NT แหล่งรวมฟอนต์ไทย ทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่ายจากเว็บฟอนต์ (f0nt.com) ถาป่ง ถาปัด เป็นแบบอักษรที่ออกแบบโดย ‘อิง-จิรายุ บัวสุวรรณ’ นักเรียนชั้น ม.6 จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ บางเขน ซึ่งอยู่ระหว่างการทำพอร์ตโฟลิโอเข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และต้องฝึกทำ Sketch Design แต่ด้วยความที่เขารู้สึกว่าลายมือเดิมของตนไม่เข้ากับงานออกแบบเท่าไหร่ จึงนั่งคัดลายมือเพื่อนำมาปรับใช้กับภาพวาด จากการศึกษารูปแบบฟอนต์ในงานสเก็ตช์หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบในอินเทอร์เน็ต หนังสือออกแบบเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม และลายมือของพ่อที่ประกอบอาชีพสถาปนิก เมื่อนำรูปแบบการเขียนทั้งหมดมาผสมผสานกัน จิรายุก็ลองผิดลองถูก จนได้ออกมาเป็นลายมือที่เขาเขียน ก่อนทำมาเป็นฟอนต์ ถาป่ง ถาปัด พร้อมเปิดให้โหลดใช้ฟรีทุกรูปแบบ จิรายุบอกกับเราว่า เขาหวังว่าฟอนต์นี้จะเป็นประโยชน์กับใครหลายคน โดยเฉพาะนักเรียนที่ต้องฝึกคัดลายมือสำหรับงานสถาปัตย์เหมือนกัน ดาวน์โหลดฟอนต์ ถาป่ง ถาปัด ได้ที่ : f0nt.com/release/thaphong-thapad

สีสันบรรทัดทอง – ไฟและฟอนต์บนป้ายร้านรวงสีสัน

ถนนบรรทัดทองเต็มไปด้วยร้านอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านดังเก่าแก่หรือร้านใหม่ๆ นอกจากรสชาติอาหารเด็ดโดนลิ้น แต่ละร้านล้วนแข่งขันกันเรียกลูกค้าด้วยป้ายไฟสีสันสดใส ดีไซน์เก๋ๆ เพื่อดึงดูดสายตาทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ‘ป้ายไฟหน้าร้าน’ ถือเป็นสิ่งที่ลงทุนแล้วคุ้มค่า ยิ่งป้ายไฟสว่างแค่ไหน ยิ่งทำให้หน้าร้านมีความสวยงาม โดดเด่นมาแต่ไกล ลูกค้าสังเกตเห็นร้านค้าง่ายขึ้น กระตุ้นให้อยากลิ้มลองรสชาติอาหารของร้าน ขณะเดียวกัน บรรทัดทองยังเป็นย่านใกล้ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า และมหาวิทยาลัย ทำให้คนที่สัญจรไปมาแถวนั้นมีจำนวนมาก การแข่งขันจึงสูงตามไปด้วย จึงไม่แปลกใจถ้าเราจะเห็นร้านอาหารหน้าใหม่ที่เปิดตัวพร้อมป้ายร้านขนาดใหญ่ ตกแต่งแบบจัดเต็ม แฝงไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใครแวะไปแถวนั้น กินข้าวเสร็จแล้วลองไปเดินเล่นย่อยอาหาร สังเกตหน้าร้านรวงกันได้ เพลินดีทีเดียว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

แจกฟรีฟอนต์ลายมือ จิตร ภูมิศักดิ์ ต่อยอดจากนิทานวาดหวังเล่ม ‘จ จิตร’ โดยกลุ่มวาดหวัง

ย้อนไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ‘วาดหวังหนังสือ’ ได้จัดทำหนังสือภาพสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในเนื้อหาสิทธิ เสรีภาพ ความฝัน ความหวัง ประชาธิปไตย และความเป็นไปของบ้านเมือง ในรูปแบบเซตนิทานวาดหวัง 8 เรื่อง โดยหนึ่งในนั้นคือ จ จิตร ว่าด้วยชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ นักคิดนักเขียนที่มีผลงานวิชาการมากมาย ทั้งยังเป็นบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://urbancreature.co/8-children-books/) นอกจากได้รับการสนับสนุนในกลุ่มคนรักประชาธิปไตยแล้ว นิทานวาดหวังยังได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากกระทรวงศึกษาธิการและทางการไทย จนทำให้เกิดกระแสเป็นข่าวมากมาย ส่งผลให้ยอดขายพุ่งเกินความคาดหมายของทีมผู้จัดทำ ได้รับการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือ กลุ่มวาดหวังได้นำเงินไปส่งมอบให้หน่วยงานและกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่ทำงานเพื่อสังคม ช่วยเหลือประชาชนในช่วงโควิด รวมถึงผู้ลี้ภัยไทยในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังนำไปทำโปรเจกต์ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสังคมที่น่าสนใจด้วย โปรเจกต์ที่ว่านั้นคือการทำฟอนต์จิตร ภูมิศักดิ์ จากลายมือของจิตร โดยมีกลุ่มประชาธิปไทป์เป็นผู้จัดทำให้ฟอนต์นี้ใช้งานได้ จุดประสงค์คือต้องการให้คนไทยได้ใช้ฟอนต์จิตรในการอ่านเขียน ซึมซับรับรู้ และรู้จักจิตรในอีกแง่มุมหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการทำให้ชื่อของเขาที่มาพร้อมความหวัง พลัง และความปรารถนาดีต่อส่วนรวมอยู่ร่วมในสังคมไทยไปอีกตราบนานเท่านาน ผู้ที่สนใจนำฟอนต์ไปใช้พิมพ์หนังสือหรือสื่อต่างๆ สามารถดาวน์โหลดฟรีที่ https://tinyurl.com/y4g2n3xm ซึ่งทางทีมผู้จัดทำขอแค่ให้ช่วยระบุเครดิตชื่อฟอนต์จิตร ภูมิศักดิ์ หรือติดแฮชแท็ก #ฟอนต์จิตร เมื่อใช้งานบนโลกออนไลน์ *หมายเหตุ ฟอนต์จิตรมีเพียงตัวอักษรไทย เลขไทย และเลขอารบิกเท่านั้น  […]

ฟอนต์ทน ฝั่งธนฯ ป้ายเก่า – ฟอนต์ทน – ย่านธนบุรี

‘ฟอนต์ทน ฝั่งธนฯ’ คือผลิตผลของนิสัยความชอบสแนป (snap) ทุกทีที่เจอ ‘ฟอนต์ไทย’ บนป้ายนั่นนี่ระหว่างทาง แล้วสิ่งนี้ก็ทำให้พบว่าฝั่งธนบุรี แถบคลองสาน วงเวียนใหญ่ ตลาดพลู มีบรรดาป้ายเก่า ฟอนต์สวย และบางครั้งก็มีเรื่องราวที่ไม่เคยรู้มาก่อนซ่อนอยู่ในนั้นด้วย

นักวิจัยทำฟอนต์ไทยประหยัดพลังงานลดใช้หมึกพิมพ์ 30%

โดยปกติแล้วหน่วยงานราชการในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้ฟอนต์ TH Sarabun ทำงานเสมอมา แต่ติดตรงที่เจ้าฟอนต์ประเภทนี้น่ะเป็นฟอนต์ที่มีขนาดหนาไปสักหน่อย ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการต้องใช้หมึกพรินต์ตัวหนังสือซะเยอะ ส่งผลให้ปีหนึ่งๆ บรรดาหน่วยงานต่างๆ ต้องทุ่มเทค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณไปกับการจัดซื้อหมึกสำหรับพิมพ์เอกสารจำนวนมหาศาลกันเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ เลยตัดสินใจจับมือกับ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช และทีมนักวิจัยสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มวล. ด้วยโจทย์การแก้ไขปัญหาที่ว่า ทำยังไงให้เราลดการใช้หมึกพิมพ์ให้ได้มากที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคงความคมชัดของตัวอักษรไว้ให้เหมือนเดิมที่สุดด้วยเหมือนกัน คราวนี้ก็เลยตกผลึก ผุดเป็นไอเดียการดีไซน์ชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน หรือที่เรียกกันว่า Thai Eco font ครั้งนี้ ทีมงานไม่ได้เอาฟอนต์พิสดารหรือแหวกแนวจากที่ไหนมาเป็นเรฟเฟอเรนซ์หรอก แต่เป็นการหยิบเอาสิ่งใกล้ตัวอย่าง TH Sarabun มาพัฒนาและต่อยอด ทำออกมาแล้วนำมาทดสอบว่าประหยัดหมึกพรินต์ได้จริงหรือไม่ ซึ่งหลักการของไอเดียนี้ก็คือการลดขนาดพื้นที่ภายในแต่ละตัวอักษรลง และลดปริมาณ Black Pixel ให้มากด้วยวิธีการประมวลผลภาพถ่าย  เมื่อทำกันจริง ทีมวิจัยก็ค้นพบว่า Thai Eco font ให้ผลลัพธ์ด้วยการประหยัดหมึกพรินต์ได้จำนวนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และที่น่าสนใจมากคือตัวหนังสือยังคงชัดแจ๋วเหมือนเดิม แถมสังเกตเห็นการลดลงของขนาดไม่ได้ ที่ขนาดตัวอักษรสูงสุดถึง 18 pt ซะด้วย  […]

ใช้ฟอนต์แจกฟรีทำไมผิดลิขสิทธิ์?

ช่วงสองถึงสามอาทิตย์ที่ผ่านมามีหนึ่งข้อถกเถียงเรื่องลิขสิทธิ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมาหลังภาพยนตร์ซีรีส์ชื่อดังอย่าง ‘เด็กใหม่’ ถูกขโมยมาเผยแพร่ในโลกออนไลน์ จนเกิดข้อถกเถียงว่าผิดหรือถูก เดี๋ยวก่อน! ก่อนที่ประเด็นนี้จะถูกขยายความไปมากกว่านี้ เราแค่อยากจะบอกคุณว่าทุกสิ่งสร้างสรรค์ทางปัญญาล้วนมีลิขสิทธิ์ของตัวเองอยู่ ไม่เว้นแม้แต่ฟอนต์ ตัวอักษรที่คุณใช้เขียน มีเบื้องหลังมาจากความคิดของเหล่าผู้คนนักออกแบบ แล้วแบบนี้เรายังจะใช้ฟอนต์ฟรีได้อีกรึเปล่า แล้วฟรียังไงให้ถูก ทำไมลิขสิทธิ์ถึงสำคัญนักหนา เราได้รับเกียรติจากบริษัทออกแบบฟอนต์ คัดสรร ดีมาก มาร่วมให้คำตอบกับเราใน NOW YOU KNOW ตอนนี้

Nirat Paris ฟอนต์ไทย ดีไซน์จากสถาปัตยกรรมชื่อดัง เปิดให้โหลดฟรี!

บงชูร์! วันนี้เราจะพาทุกคนไปเยือนฝรั่งเศส ด้วย ‘Nirat Paris’ ฟอนต์ไทยสไตล์ปารีเซียง จากฝีมือสตูดิโอ ‘Mild Mutants’ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความชื่นชอบรูปร่าง โครงสร้างและส่วนเว้าโค้งต่างๆ ของสถาปัตยกรรมเมืองปารีส ซึ่งหยิบสถานที่ที่คุ้นเคยของคนทั่วโลกมาออกแบบร่วมกับฟอนต์ประเภท Inline ที่ทางสตูดิโอบอกว่าไม่ค่อยเห็นใครทำฟอนต์ไทยสไตล์นี้มาก่อน! ไม่ว่าจะเป็นการนำโครงสร้างเหล็กของหอคอยไอเฟล (Eiffel Tower) มาเป็นต้นแบบ หรือการใช้ส่วนเว้าโค้งบริเวณกระจก และส่วนโครงหน้าของรูปปั้นการ์กอยล์จากมหาวิหารนอเทรอดาม (Notre Dame Cathedral) มาปรับดีไซน์ให้เข้ากับฟอนต์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้กลับไปเยือนปารีสอีกครั้ง! และที่สำคัญ Mild Mutants ยังมีข่าวดีสำหรับนักออกแบบ เพราะฟอนต์ Nirat Paris เปิดให้ทุกคนดาวน์โหลดฟรีได้ที่ https://bit.ly/3u0vS9D

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.