Equal Space เปิดพื้นที่ฮีลใจ พูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างปลอดภัย วันที่ 4 – 25 ก.พ. 67 ใน 13 พื้นที่ทั่วประเทศ

ในปัจจุบันที่สังคมมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ทำให้หลายคนเลือกที่จะพูดคุยเพียงเฉพาะกับคนในกลุ่มของตัวเอง จนขาดการแลกเปลี่ยนความคิดกับบุคคลที่หลากหลาย และกลายเป็นช่องโหว่ของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) จึงจับมือกับ 13 พื้นที่สร้างสรรค์ทั่วประเทศจากทั้ง 5 ภูมิภาคทั่วไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันออก เพื่อเติมช่องว่างในการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์กิจกรรม ‘Equal Space’ ขึ้น กิจกรรมนี้เป็นการชวนทุกคนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านกิจกรรมและบทสนทนาที่ออกแบบมาให้สนุก สบายใจ และปลอดภัย โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างวัฒนธรรมการพูดคุยที่ปราศจากการตัดสิน รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมมองที่หลากหลาย กิจกรรม Equal Space จะจัดขึ้นทุกสุดสัปดาห์ของเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตั้งแต่วันที่ 4 – 25 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีตารางกำหนดการ ดังนี้ – วันที่ 4 ที่ พก : ร้านหนังสือและโรงหนัง ขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย– วันที่ 10 – 11 ที่ กิ่งก้านใบ LearnScape x […]

‘สรรสรางค์ แกลเลอรี’ พื้นที่สร้างสรรค์และห้องสมุดในตัวเมืองนครศรีธรรมราช

สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในปัจจุบันไม่ใช่แค่ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตอีกต่อไป แต่เป็นแกลเลอรีแสนน่ารัก ห้องสมุดบรรยากาศอบอุ่น หรือพื้นที่ทำกิจกรรมที่ให้คนมาพบปะ พูดคุย และเรียนรู้นอกเหนือตำราเรียน แน่นอนว่าสถานที่เหล่านี้หาได้ง่ายมากในกรุงเทพฯ แต่ในทางกลับกัน จังหวัดอื่นๆ กลับหาสถานที่พักผ่อนแบบนี้ได้ยากเหลือเกิน ซึ่ง ‘ต๊ะ-ณัฐชยา สุขแก้ว’ ก็คิดแบบนี้เช่นเดียวกัน เธอจึงตัดสินใจใช้ช่วงเวลาพักจากงาน IT กลับมาที่บ้านเกิดจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างพื้นที่แห่งศิลปะ การเรียนรู้ และเป็นมิตรกับจิตใจให้ผู้คนในจังหวัดของเธอ ต๊ะเล่าที่มาของชื่อ ‘สรรสรางค์ แกลเลอรี’ ว่ามาจากคำว่าสรรค์สร้าง แต่เธอนำคำมาปรับใหม่เพื่อให้ได้ความรู้สึก Feminine และสร้างความสมดุลกับสิ่งต่างๆ ในจังหวัดมากขึ้น เพราะเธอรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ในจังหวัดบ้านเกิดมีความ Masculine ทั้งการแสดงออกและศิลปะ เธอจึงอยากทำสถานที่นี้เป็นเหมือน Safe Space ที่ทำให้ศิลปะและความรู้เข้าถึงง่ายกว่าที่เคย ด้วยความที่ใช้เวลาพักงานในการสรรค์สร้างพื้นที่แห่งนี้ขึ้นมา ต๊ะจึงมีเวลาจัดการทุกอย่างแค่ 1 เดือนกว่าเท่านั้น ซึ่งหลายๆ คนที่ไปเยือนจะได้เห็นว่าส่วนต่างๆ ของตึกมีการจัดการแบบ Minimum คือตั้งใจปรับปรุงเท่าที่จำเป็น เพื่อปล่อยออกไปสำรวจตลาดก่อน ที่เป็นแบบนั้นเพราะต๊ะเล่าว่า นี่คือการสร้าง Minimum Viable Product (ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง) โดยอิงจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์นักเรียนทั้งอาชีวะและสายสามัญ รวมถึงคนทำงานในจังหวัด หรือพูดง่ายๆ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.