30 ปี ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ สถานที่รวมประวัติศาสตร์ของชนชั้นสร้างชาติ

“เราอยากให้ผู้คนเห็นสิ่งที่เป็นเรื่องเบื้องต้นที่สุด คือการทำให้เห็นคุณค่าว่าแรงงานมีความสำคัญต่อสังคม นโยบายรัฐทำให้คุณค่าแรงงานมีราคาต่ำ เพื่อให้คนอีกกลุ่มเข้ามาได้ประโยชน์จากคุณค่าของพวกเขา การมีอยู่ของพิพิธภัณฑ์จะช่วยอธิบายคุณค่าของคนได้” ‘วิชัย นราไพบูลย์’ ผู้จัดการของ ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ บอกเล่าถึงการมีอยู่ของสถานที่รวมประวัติศาสตร์คนทำงาน ที่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐ และอยู่ยั้งยืนยงมาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของชนชั้นสร้างชาติ วาระที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำลังครบรอบ 30 ปี Urban Creature พาทุกคนไปท่องเที่ยวรู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพให้มากขึ้น

ครบรอบ 30 ปี ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ สถานที่รวมประวัติศาสตร์ของคนทำงาน ที่รัฐไม่เคยเหลียวแล

‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ เป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในเขตราชเทวี ตั้งอยู่บนถนนนิคมมักกะสัน ด้านหน้าของอาคารชั้นเดียวแห่งนี้จะมองเห็น ‘อนุสาวรีย์ศักดิ์ศรีแรงงาน’ เป็นรูปปั้นคนงานหญิงชายกำลังผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปข้างหน้า ใต้กงล้อมีรถถังถูกบดขยี้ อันบ่งบอกความหมายถึงการคัดค้านเผด็จการ สร้างขึ้นเพื่อยืนยันความมีศักดิ์ศรีของ ‘ชนผู้ใช้แรงงานไทย’ และถือเป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกของผู้ใช้แรงงานอีกด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดจากกระบวนการรวมตัวกันของเหล่าคนทำงาน นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ด้านแรงงาน ฯลฯ และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท เยอรมัน ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการศึกษาเรื่องสิทธิแรงงานและประเด็นทางสังคมต่างๆ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนลงมติร่วมกันเพื่อสร้างสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไม่ให้หายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย เปิดทำการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2536 ผ่านร้อนฝนมาจนเวลาที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำลังจะมีอายุครบรอบ 30 ปี คอลัมน์ Urban Guide ขอพาทุกคนไปเดินเล่นท่องเที่ยวรู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพให้มากขึ้น เด็กช่าง คนดนตรี นักเคลื่อนไหว ผู้อุทิศตนเป็นปากเสียงของแรงงาน เราได้พบกับผู้จัดการพิพิธภัณฑ์และเขาจะมาเป็นไกด์นำทัวร์วันนี้ ‘วิชัย นราไพบูลย์’ ผู้อุทิศตนให้กับการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิแรงงานมาตั้งแต่เรียนจบจนถึงปัจจุบันในวัย 67 ปี พี่วิชัยเล่าว่า เขาเรียนจบช่างยนต์ที่เทคนิคกรุงเทพ จากนั้นเข้าทำงานโรงงานแถวรังสิต ผ่านหนึ่งปีไปนิดหน่อยก็ถูกเลิกจ้าง และออกไปเล่นดนตรีหาเลี้ยงชีพ ผลิตผลงานเพลงออกขาย เขาเติบโตมากับเรื่องสิทธิแรงงาน เมื่อมีงานประท้วงหรือการจัดกิจกรรมชุมนุมเกี่ยวกับเรื่องแรงงานเมื่อไหร่ จะได้พบกับวิชัยและผองเพื่อนนักดนตรีไปเล่นให้กำลังใจอยู่เสมอ (หาฟังเพลงของพี่วิชัยได้ที่ วงภราดร หรือวงอินโดจีน เป็นต้น) ส่วนงานด้านวิชาการเขาก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสำรวจ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.