เรียนรู้ความเป็นมาและสัมผัสความสวยงามของผ้าไหมไทย Colors of Buriram

เมื่อพูดถึง ‘ผ้าไหม’ หรือ ‘ผ้าไทย’ ภาพที่เราจะได้เห็นผู้คนสวมใส่ชุดผ้าไหมนั้นมักเป็นโอกาสสำคัญๆ อย่างงานพิธีการ มากกว่าที่จะนำมาใส่ในชีวิตประจำวัน ด้วยภาพจำที่มีต่อผ้าไทยที่ดูไม่ทันสมัยหรือสวมแล้วดูเป็นทางการเกินไป ทำให้ส่วนใหญ่มีแต่ผู้ใหญ่ที่ให้ความสนใจกับผ้าประเภทนี้ คอลัมน์ประจำจังหวัดจะพาทุกคนไปเรียนรู้เรื่องราวผ้าไทยกับงาน ‘Colors of Buriram’ เพื่อเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับผ้าไทย โดยเฉพาะผ้าไหมของชาวบุรีรัมย์ที่มีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่มีความทันสมัย ใส่ได้ทุกเพศทุกวัย ผ่านการถักทอด้วยความประณีต ออกแบบและตัดเย็บอย่างสวยงาม เพื่อต่อยอดโครงการ ‘ผ้าไทยใส่ให้สนุก’ ให้อยู่คู่กับชุมชนและชาวบุรีรัมย์ รวมถึงสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย และสนับสนุนกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ‘Colors of Buriram’ สีสันและชีวิตของผ้าไหมทอมือ Colors of Buriram นั้นเป็นงานสุดยอดมหกรรมผ้าไทย ที่จัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมภูมิปัญญาชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด จัดแสดงผ้าทอนานาชนิดและงานหัตถกรรมผ้า 2,000 กว่าชิ้น ที่คัดสรรผลิตภัณฑ์มาจากทั้ง 23 อำเภอทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 19 – 21 มีนาคม บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอนาโพธิ์ ไม่เพียงแต่จัดแสดงผลงานผ้าไทยเท่านั้น แต่ผู้ที่เข้าร่วมงาน Colors of Buriram ทั้งชาวบ้านในพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวก็ยังจะได้สัมผัสและเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมความเป็นไทยผ่านผลิตภัณฑ์ผ้าทอนานาชนิด รวมถึงเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตผ้าไหมไทยตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพและความสามารถในการผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน ที่ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบให้มีความทันสมัยใช้ในชีวิตประจำวันได้ […]

รู้จักและสนับสนุนผ้าไทยผ่านแผนที่ลายผ้าพื้นเมืองประเทศไทย จัดทำโดย ร้านแพรอาภา ห้องผ้าไหม

คนไทยรู้ ทุกคนรู้ว่าผ้าไทยงดงามไม่แพ้ใครในโลก นอกจากนี้ ลายผ้าแต่ละลายยังล้วนมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นๆ จนนับเป็นอัตลักษณ์จังหวัดได้ เช่น ลายจกไทลื้อ ของจังหวัดเชียงราย หรือลายผ้าขาวม้าอ่างทอง ของจังหวัดอ่างทอง เป็นต้. เพราะมีความรักในผ้าทอและต้องการสนับสนุนผ้าถักทอ ผ้าพื้นเมืองของไทย ให้เป็นที่รู้จัก ‘ร้านแพรอาภา ห้องผ้าไหม’ ที่จัดจำหน่ายและจัดแสดงผ้าไหมมาเป็นเวลายาวนาน จึงจัดทำแผนที่ผ้าประเทศไทย ในรูปแบบอัลบั้มภาพในเพจเฟซบุ๊กของร้าน เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้ที่สนใจผ้าไทย ทางร้านได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือและข้อมูลตามอ้างอิง อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงผู้มีประสบการณ์ด้านผ้า แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดตามประวัติความเป็นมาและการเป็นที่รู้จักยอมรับในวงกว้าง ส่วนจังหวัดใดที่ไม่มีการทอผ้าหรือหาข้อมูลอ้างอิงไม่ได้ ทางร้านได้ใช้ลายผ้าประจำจังหวัดที่ออกแบบใหม่ในปีนี้ทดแทน ทั้งนี้ ในแผนที่เวอร์ชันล่าสุด ร้านแพรอาภาได้ปรับปรุงข้อมูลและถ่ายภาพลายผ้าใหม่ เพื่ออัปเดตฐานข้อมูลให้ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากตัวแผนที่ที่ใช้ลายผ้าซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อสื่อสารถึงจังหวัดนั้นๆ แล้ว ยังมีการจัดแสดงข้อมูลที่ประกอบด้วยภาพลายผ้า ชื่อลายผ้า และชื่อจังหวัด ให้ได้ศึกษากันชัดๆ อีกด้วย หลายลายงดงามมากจนอยากเห็นของจริงเลย ใครที่สนใจ ชมภาพและศึกษาแผนที่ลายผ้าพื้นเมืองประเทศไทยได้ที่ https://tinyurl.com/2f9x3w6d หรืออุดหนุนร้านแพรอาภาได้ในช่องทางออนไลน์หรือหน้าร้าน ย่านคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ (โทร. 08-1702-4552)

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.