@modernbiology ชายผู้สร้างเสียงดนตรีจากพืช เพื่อระดมเงินปกป้องผืนป่า

ในสมัยเด็ก เวลาเราเล่นเลียนเสียงธรรมชาติกัน เสียงที่เลียนแบบได้ง่ายๆ คงหนีไม่พ้นเสียงของสัตว์ต่างๆ หรือถ้าเป็นเสียงลมก็ยังพอจะนึกออกทำได้อยู่บ้าง แต่ถ้ามีใครบอกให้ทำเสียง ‘เห็ด’ ‘ใบไม้’ หรือ ‘แตงโม’ เราคงขมวดคิ้วไปสักพักใหญ่ ว่าสิ่งเหล่านี้มีเสียงกับเขาด้วยหรือ? สำหรับคนทั่วไป พืชเหล่านี้อาจจะไม่มีเสียง แต่สำหรับ Tarun Nayar อดีตนักชีววิทยาที่ผันตัวมาเป็นนักดนตรี ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดไหนก็มีเสียงด้วยกันทั้งนั้น เพราะเขาสามารถดึงเอาเสียงเพลงออกมาจากธรรมชาติเหล่านี้ได้ด้วยการเสียบอุปกรณ์ผ่านเครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) เข้ากับพืช ผัก และผลไม้ที่เขาต้องการ อาทิ เห็ด ต้นกระบองเพชร ใบเฟิร์น ลูกเบอร์รี หรือแม้กระทั่งผลมะม่วงสุก จนได้ออกมาเป็นเพลงให้พวกเราได้ฟังกัน โดยการดึงเอาเสียงออกมาไม่ใช่การที่พืชสร้างเสียงเพลงขึ้นมาได้เอง แต่ Tarun Nayar ใช้การเคลื่อนที่ของน้ำภายในพืชเหล่านั้นในการสร้างเป็นโน้ตเพลงที่แตกต่างกันออกไปขึ้นมา และเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Environmental Music’  ไม่ใช่แค่การค้นพบหรือมอบสิ่งที่แปลกใหม่ให้ผู้คนฟังเท่านั้น แต่ Tarun Nayar มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นในการตั้งมั่นตั้งใจที่จะทำหน้าที่ปกป้องผืนป่าที่ให้เสียงดนตรีกับเขาด้วย “ผมกำลังพยายามควบคุมพลังงาน ความสนใจ ความตระหนัก และเงินทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จากโครงการนี้ เพื่อปกป้องพื้นที่ป่า” Tarun Nayar กล่าว และสำหรับใครที่สงสัยว่าเสียงจากพืชมีลักษณะเป็นอย่างไร สามารถเข้าไปฟังเพลงที่สร้างจากเสียงของธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้นผ่านแอ็กเคานต์ TikTok […]

ที่ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน กลิ่นไม่แรง สมานแผลไว

เมื่อความหลงใหลในทุเรียนของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมากล้น นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์หัวใสเลยหยิบเอาความคลั่งไคล้นี้มาหวดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ  เรื่องมีอยู่ว่า เหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สิงคโปร์ (NTU) ได้แปลงร่างเจ้าเปลือกทุเรียนให้เป็นแผ่นเจลต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการนำส่วนเปลือกที่เรากินไม่ได้มาใช้ประโยชน์  กระบวนการสุดเจ๋งนี้ใช้การสกัดผงเซลลูโลสออกจากส่วนแกลบทุเรียนด้วยกรรมวิธี Free-Drying Process จากนั้นผงเซลลูโลสจะผสานเข้ากับสารกลีเซอรอล (ผลพลอยได้จากวิธีการรีไซเคิลรูปแบบหนึ่งที่มาจากอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและสบู่) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซอฟต์เจลที่ปรับให้เป็นที่ปิดแผลสุดมหัศจรรย์ได้ จากนั้นก็นำแผ่นเจลดังกล่าวไปเก็บรักษาด้วยสารประกอบจากยีสต์ขนมปัง เพื่อเตรียมการให้พร้อมสำหรับการใช้ปฐมพยาบาล ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาบริเวณบาดเจ็บให้เย็นและชุ่มชื้น แถมช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น แม้คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราๆ จะชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้มากๆ แต่พวกเราก็ไม่ค่อยได้นึกถึงการใช้สอยเปลือกทุเรียน ก็ใครจะไปคิดล่ะว่ามันเป็นมากกว่าอาหารได้ “ในสิงคโปร์ เราบริโภคทุเรียนประมาณ 12 ล้านลูกต่อปี นอกจากเนื้อผลไม้แล้ว เราไม่ได้นำแกลบและเมล็ดของมันมาใช้มากนัก เลยทำให้มันเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม” William Chen ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการด้านโปรแกรมวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกล่าว เฉินยังยืนยันแบบปังๆ ด้วยว่าเทคโนโลยีของทีมใช้ได้กับเศษอาหารอินทรีย์รูปแบบอื่นๆ ได้ อาทิ ธัญพืชและถั่วเหลือง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์มากๆ ต่อการแก้ไขปัญหาเศษอาหารของประเทศ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าปลาสเตอร์ทุเรียนนั้น ไม่มีกลิ่นและย่อยสลายได้ง่าย พร้อมทั้งยังได้รับการพิสูจน์ว่าใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าวัสดุแบบเดิมๆ ซึ่งมักใช้สารประกอบโลหะที่มีราคาแพงกว่า อย่างเงินหรือทองแดง  นับตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ต้นแบบมา ทีมงานก็ได้เจรจากับพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของการเพิ่มยอดการผลิตเจลปิดแผล ถ้าทุกอย่างราบรื่นดี เฉินกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ อาจไปถึงร้านค้าภายในเวลาเพียงสองปีเท่านั้น แค่นี้ก็มั่นใจได้เลยว่าราคาขายปลีกของที่ปิดแผลชนิดนี้จะแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอน Source : […]

‘ผักบ้างก็ได้’ ร้านขายผักน่ารักที่สร้างคาแรกเตอร์ผักผลไม้ให้น่าซื้อ

ถ้าลองไถดูเมนูร้าน ‘ผักบ้างก็ได้’ บน GrabMart ตั้งแต่บนจรดล่าง ต้องมีคำว่า ‘น่ารัก’ ผุดขึ้นมาในความคิดกันบ้างแหละ ทั้งทรงผมชี้ๆ ของต้นหอม หัวกลมๆ ของเลมอน หรือตัวไร้รูปทรงของข่า พอมีลูกตากับปากไปแปะไว้ ยิ่งเพิ่มมูลค่าให้น่าซื้ออีกเท่าตัว ซึ่ง ‘ปุ๊ก-ชมพูนุช พรรณพนาวัลย์’ เป็นเจ้าของไอเดียสร้างคาแรกเตอร์ให้ผักผลไม้ ที่มาของการเปิดร้าน ‘ผักบ้างก็ได้’ ตั้งต้นจากธุรกิจของทางบ้านซึ่งเป็นซัปพลายเออร์ส่งผักสดให้โรงแรมและร้านอาหารต้องเจอพิษโควิด-19 ทั้งโดนลดจำนวนออเดอร์บ้าง หรือโดนแคนเซิลแบบจวนตัวเลยก็มี ทำให้สินค้าเหลือค้างเป็นจำนวนมาก จึงต้องคิดหาวิธีการจัดการ จนมาจับพลัดจับผลูได้โพสต์ขายทางออนไลน์ดูสักตั้ง ช่วงแรกก็ชักชวนเพื่อนฝูงมาซื้อ แต่ปริมาณผักผลไม้ที่รับมาแบบสเกลหลักร้อยกิโลฯ ให้เพื่อนช่วยกันซื้ออย่างไรก็คงไม่หมด จึงต้องคิดกลยุทธ์ว่าจะดึงดูดให้คนมาซื้ออย่างไรดี ยิ่งเป็นสินค้าประเภทผักผลไม้ที่มีขายทั่วไป หน้าตาสินค้าก็เหมือนกับในตลาดไปเสียหมด ก่อนจะมาจบที่ไอเดียการแต่งหน้าตาให้ผักผลไม้ใหม่ให้ดูน่ารักขึ้น ส่วนชื่อร้านก็หยิบมาจากประโยคติดปากบนโต๊ะอาหารของครอบครัวว่า “กินผักบ้างก็ได้นะ” (เป็นห่วง) ส่วนหมวดของผักกาดขาว เป็นชาเลนจ์หนึ่งของร้าน เพราะเป็นสินค้าจำนวนหัว มีขนาดและน้ำหนักที่ต่างกัน บวกกับลูกค้าซื้อผ่านออนไลน์จะทำอย่างไรให้เลือกง่ายที่สุด แต่จะหยิบลูกตาพลาสติกคงดูซ้ำๆ เกินไปหน่อย ปุ๊กจึงหยิบผักกาดขาว 1 หัวต่างไซซ์ มาตกแต่งด้วยแคร์รอต กระเทียมปอกเปลือก และพริกแดงจินดา ออกมาเป็นคาแรกเตอร์ต่างๆ อย่าง ‘เจ้ผักกาดขาวจัมโบ้’ ‘เฮียลุ้ยจัมโบ้’ หรือ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.