People-friendly Signs ออกแบบป้ายหาเสียงอย่างสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับเมือง

สำหรับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือเลือกตั้งนายกฯ คนใหม่ หนึ่งในประเด็นที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางก็คือเรื่อง ‘ป้ายหาเสียง’ เพราะในหลายพื้นที่ป้ายหาเสียงหลากขนาด หลากสี ถูกติดตั้งไว้ริมถนนจนเกะกะทางเท้า บดบังทัศนียภาพ และขัดขวางการจราจรของผู้คน ซึ่งจากกระแสเหล่านี้ก็ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ที่ผู้สมัครหลายรายลุกขึ้นมาปฏิวัติดีไซน์ป้ายหาเสียงให้เป็นมิตรกับคนเมืองมากขึ้น เช่น ป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส ป้ายขนาดเท่าเสาไฟ ป้ายที่นำไปรีไซเคิลได้ รวมไปถึงกลยุทธ์ลดการติดป้ายและติดเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนน้อยที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการติดตั้งป้ายเหล่านี้ก็ยังก่อให้เกิดปัญหาและความรำคาญใจต่อการใช้ชีวิตของคนในประเทศอยู่ไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากช่วยเหล่าผู้สมัครต่อยอดไอเดียการทำป้ายหาเสียงให้น่าสนใจกว่าเดิม ผ่านการออกแบบป้ายหาเสียงตามพื้นที่และบริเวณต่างๆ ที่จะช่วยให้บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นระเบียบและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น เพราะเราเชื่อว่าการออกแบบป้ายหาเสียงที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของประชาชนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร อีกทั้งยังสะท้อนความหวังในการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย  การดีไซน์ป้ายหาเสียงจะเป็นอย่างไร และจะติดตั้งบริเวณใดบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! หมายเหตุ : ทั้งหมดเป็นแนวคิดที่เราอยากให้เกิดขึ้น หากประเทศไทยไม่มีเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือกฎระเบียบใดๆ เกี่ยวกับการติดป้ายหาเสียง 01 | หาเสียงแบบไม่ขวางทางใครด้วยป้ายสไตล์มินิมอล ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายครั้งป้ายหาเสียงของเหล่าผู้สมัครเลือกตั้ง ถูกติดตั้งตามท้องถนนอย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นระเบียบ ในบางพื้นที่ป้ายจำนวนมากวางทับซ้อนกันจนไม่น่ามอง ส่วนในบางพื้นที่ก็มีป้ายชำรุดเสียหาย เนื่องจากพายุฝนลมแรงและฝีมือของคนมือบอน ทำให้บ้านเมืองสกปรก รกรุงรัง ที่หนักไปกว่านั้น ยังอาจทำให้ประชาชนที่สัญจรไปมาประสบอุบัติเหตุได้ด้วย เราจึงอยากติดตั้งป้ายหาเสียงให้เป็นระเบียบและเรียบง่ายที่สุด โดยเอาไอเดียมาจากการติดตั้งป้ายหาเสียงในต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ […]

สำรวจป้ายหาเสียงในฤดูกาลเลือกตั้งกรุงเทพฯ ติดแบบไหนพัง ตั้งตรงไหนปัง ลองมาดูกัน

ในฤดูเลือกตั้ง นอกจากจะได้เห็นภาพการปรากฏตัวของแคนดิเดตนักการเมืองหลายคนบ่อยๆ ทั้งในหน้าสื่อ และการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ สิ่งที่เห็นได้ถี่ไม่แพ้กันก็คือ ‘ป้ายหาเสียง’ และ ‘ประกาศหาเสียง’ ของแคนดิเดตแต่ละคนหรือแต่ละพรรค ที่จัดเต็มด้วยสโลแกน และนโยบายการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน 2565 นี้ ภาพบรรยากาศป้ายมากมายที่เราเคยเห็นในศึกการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ต่างทยอยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ใช่ เราหมายถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) นั่นแหละ อีกไม่นาน คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองในคูหาอีกครั้ง หลังจากรัฐริบเอาเสียงของประชาชนไปนานหลายปี ซึ่งคนกรุงจะได้เข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หลังยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีการคอนเฟิร์มแน่ชัด ผู้สมัครหลายคนก็เริ่มติดป้ายหาเสียงแบบไม่มีใครยอมใคร แถมยังมีการเริ่มปิดประกาศและติดตั้งป้ายก่อนมีการประกาศหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในวันที่ 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2565 เสียด้วยซ้ำ ถ้าสังเกตดีๆ ในโลกออนไลน์ตอนนี้เริ่มมีคอนเทนต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เยอะขึ้นเรื่อยๆ มีคนถ่ายภาพป้ายเลือกตั้งที่พบเจอมาแชร์ต่อมากมาย ทั้งในมุมตลกขบขัน มุมซีเรียส มุม Complain ไปจนถึงข้อเสนอ และเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบคอนเทนต์ ดีไซน์ป้ายหาเสียง ไปจนถึงความเหมาะสมของการติดตั้งป้ายในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพาทุกคนออกไปสำรวจเมืองในย่านต่างๆ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.