สำรวจความวายป่วงของสัตว์ป่า ที่เข้ามาทำซ่าในเมืองมนุษย์

ในปี 1659 ตัวแทนจาก 5 เมืองตอนเหนือของอิตาลีรวมตัวกันพิจารณาคดีโดยมีจำเลยเป็น ‘หนอนผีเสื้อ’ ที่ถูกชาวบ้านร้องทุกข์ว่า หนอนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่และลักทรัพย์จากสวนผลไม้ โดยมีการออกหมายให้หนอนผีเสื้อมารายงานตัวกับศาล แน่นอนว่าไม่มีหนอนตัวไหนมาตามนัด แต่คดีก็ยังดำเนินการต่อไป และศาลตัดสินยอมรับสิทธิ์ให้หนอนผีเสื้อใช้ชีวิตอย่างอิสรเสรีและมีความสุข โดยจะต้อง ‘ไม่เบียดเบียนความสุขของมนุษย์’ นี่คือหนึ่งตัวอย่างของคดีจากคำนำหนังสือ ‘ป่วนปุย เมื่อธรรมชาติทำผิดกฎมนุษย์’ ผลงานจาก ‘แมรี โรช’ นักเขียนขายดีของ The New York Times ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวความซับซ้อนในปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ จากกระบวนการยุติธรรมที่แปลกประหลาด กับการใช้กฎหมายของมนุษย์ตัดสินการกระทำของเหล่าสัตว์ที่ไม่มีทางเข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือศีลธรรมอันดี ไปจนถึงคดีลักทรัพย์ ก่อกวน หรือการฆาตกรรม ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกจากสิ่งมีชีวิตผู้ไร้เดียงสา หากจะลดความอุกฉกรรจ์ลงมาหน่อย ก็คงเป็นปัญหาที่พบเจอได้ทั่วไปอย่างปัญหาสัตว์ที่ไม่ยอมข้ามถนนบนทางม้าลาย นกนางนวลที่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะอย่างไม่มีเหตุผล สัตว์ฟันแทะที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าลิงที่ฉลาดในการกลั่นแกล้งมนุษย์ เมื่อเหตุร้ายเกิดจากสัตว์ป่าแสนน่ากลัว มนุษย์บางคนก็ลุกขึ้นจับอาวุธทำร้ายสัตว์เหล่านั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันใช่ผู้ร้ายตัวจริงหรือไม่ แมรีจึงพาเราเข้าสู่กระบวนการสืบสวนด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการตามหาสัตว์ร้ายผู้กระทำความผิด และทวงคืนความยุติธรรมให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ แกะรอยสืบสาวหาสัตว์ร้ายและทวงคืนความยุติธรรม พบศพชายคนหนึ่งนอนตายอยู่ริมถนน สภาพศพเละเทะ เสื้อผ้าฉีกขาด คาดว่าเกิดจากการถูกสัตว์ป่าโจมตี คดีทำนองนี้มักเกิดขึ้นในตอนเหนือของประเทศแคนาดาและอเมริกาที่คุณพบสัตว์ป่าได้เป็นเรื่องปกติ แต่สัตว์ร้ายตัวไหนกันที่ก่อเหตุอุกฉกรรจ์ขึ้นกลางเมืองแบบนี้ ก่อนจะมาเขียนหนังสือเล่มนี้ แมรีเข้าอบรมหลักสูตร ‘WHART หรือ […]

FYI

เปลี่ยนห้องเป็นป่าด้วย ‘SCG Bi-ion’ ระบบไอออนที่ช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีภายในอาคาร

หนึ่งในปัญหากวนใจของคนเมืองหนีไม่พ้นเรื่องมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 หรือหมอกควันจากการเผาป่าที่พัดมาเยือนทุกปี จนพาลให้มนุษย์กรุงเทพฯ (รวมถึงปริมณฑล) รู้สึกว่าอากาศที่เราสูดเข้าปอดนั้นไม่สะอาดเอาเสียเลย แถมยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ครั้นจะมองหาอากาศดีๆ ก็ต้องหนีออกไปให้ไกลจากตัวเมือง เดินเข้าป่า ลุยภูเขา ออกไปทะเล ตามหาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ทำให้สูดลมหายใจได้อย่างสดชื่น แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมตามธรรมชาติเหล่านี้ถึงทำให้เรารู้สึกเฟรช หายใจได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล “ยิ่งปริมาณไอออนในอากาศสูง คุณภาพอากาศบริเวณนั้นยิ่งดี” – ไอออนคืออะไร แล้วบริเวณที่ว่านี้มักจะอยู่ตรงไหนกันนะ? ไอออน (Ion) คืออนุภาคอิสระที่มีทั้งประจุบวกและลบ ซึ่งตามปกติแล้ว ธรรมชาติจะสร้างไอออนขึ้นมาหมุนเวียนอยู่ในอากาศรอบตัวเราอย่างสมดุล โดยเฉพาะจากปรากฏการณ์ที่เกิดความเคลื่อนไหวในธรรมชาติอย่างฟ้าผ่าตอนฝนตก คลื่นที่เข้ามากระทบกับชายหาด น้ำไหลตามลำธาร หรือน้ำตกที่ลงมากระทบกับหินเบื้องล่าง ล้วนแต่ทำให้เกิดประจุไอออนในอากาศ ทว่าพื้นที่ที่เรียกได้ว่าเป็นบ่อเกิดของเหล่าประจุไอออนเลยคือ ‘ป่าไม้’ เพราะขณะที่ต้นไม้ผลิตออกซิเจน ก็มีสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาด้วย นั่นก็คือไอออนทั้งประจุลบและบวก ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการดังกล่าว ‘อาบป่า’ ให้ร่มไม้โอบกอดเพื่อบำบัดร่างกายที่เหนื่อยล้า ยิ่งในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นแหล่งที่มีประจุไอออนมากกว่าใครเพื่อน ทำให้เวลาที่เรามีโอกาสได้ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในป่า จึงรู้สึกว่าสูดลมหายใจได้เต็มปอดกว่าที่อื่น จนกระทั่งพักหลังมานี้เกิดเทรนด์ ‘อาบป่า’ (Forest Bathing) หรือการบำบัดร่างกายด้วยธรรมชาติ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจาก ‘Shinrin yoku’ ที่แปลตรงตัวว่าการอาบป่าในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าการเข้าไปให้ป่าไม้โอบกอดสามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายและลดความเครียดได้จริง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.