ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่

เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]

อย่าปล่อยให้ปลาทูไทยหายไปจากท้องทะเล ร่วมแชร์ปัญหาปลาทูไทยที่ลดลงไปจนอาจสูญพันธุ์ ในแคมเปญ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’

ปลาทูไทยหายไปไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน เพราะมันอาจจะกลายเป็นเรื่องจริงในอนาคต ขนาดทุกวันนี้ ปลาทูที่เรากินกันก็ยังไม่ใช่ปลาทูไทย แต่อาจเป็นปลาทูจากอินโดนีเซีย! ช่วงระยะหลายปีที่ผ่านมา จำนวนปลาทูในท้องทะเลไทยลดฮวบอย่างน่าตกใจกว่า 10 เท่า แถมปลาทูยังมีขนาดตัวเล็กลงเรื่อยๆ ด้วย ซึ่งต้นตอของปัญหามีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำประมงเกินขนาด กฎหมายการประมงที่ไม่เข้มงวด หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ท้องทะเลร้อนระอุขึ้น แม้จำนวนปลาจะลดลง แต่ความต้องการของตลาดอาหารทะเลไม่ได้ลดตาม จนประเทศไทยต้องนำเข้าปลาทูจากอินโดนีเซียมารองรับ ถ้าหากวงจรชีวิตปลาทูไทยยังถูกคุกคามโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในอีก 20 – 30 ปีข้างหน้า ก็ถึงเวลาที่ปลาทูไทยจะสาบสูญไปจากท้องทะเล เพื่อไม่ให้ฝันร้ายกลายเป็นจริง Pulitzer Center เลยชวนทุกคนมาร่วมส่งเสียงเล่าปัญหาปลาทูไทย ด้วยการแชร์ภาพเมนูปลาทูของตัวเอง ติดแฮชแท็ก #imissyouplatuthai และแนบลิงก์ Infographic จาก Pulitzer Center ที่บอกเล่าปัญหาอันน่าตกใจ พร้อมแท็ก ‘@pulitzercenter’ หรือใครอยากแชร์รายงานข่าว ปัญหาปลาทูไทย ของ Pulitzer Center ติดไปด้วยก็ได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการจัดนิทรรศการศิลปะ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’ ที่ได้ พงษ์พันธ์ สุริยภัทร […]

พบทางเท้าพัง เจอถนนเป็นหลุม ฯลฯ แจ้งผ่านไลน์ @traffyfondue พร้อมส่งปัญหาไปถึงผู้รับผิดชอบโดยตรง

ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุม ไฟข้ามถนนไม่ทำงาน ป้ายบังทางเดิน ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือสารพัดปัญหาเมืองที่คนไทยน่าจะประสบมาแล้วไม่มากก็น้อย และในขณะเดียวกัน Urban Creature เชื่อว่าคงมีหลายคนที่อยากแจ้งปัญหาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาปรับปรุงแก้ไข แต่อุปสรรคใหญ่คือเรามักไม่รู้ว่าต้องแจ้งใคร และจะรู้ได้ยังไงว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว เพราะอยากให้ประชาชนกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมมือทำงานพัฒนาเมืองไปด้วยกันอย่างสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จึงคิดค้น Traffy* Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู) แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot หลักการใช้งานของ Traffy* Fondue คือการให้หน่วยงานต่างๆ เช่น อบต. เทศบาล อาคารสำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีระบบรับแจ้งปัญหาอยู่แล้ว นำแพลตฟอร์มนี้มาใช้เพิ่มช่องทางใหม่ในการรับแจ้งและจัดการปัญหาที่พบผ่าน LINE Chatbot แบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Citizen Engagement) และผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา นอกจากอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้หน่วยงาน ฟากประชาชนเองก็สามารถมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลเมืองได้ง่ายๆ แค่แจ้งปัญหาเมืองที่พบผ่าน LINE ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เราพบทั่วไปอย่างทางเท้าพัง ป้ายหาเสียงนักการเมืองบังทางเดิน ไฟถนนไม่ส่องสว่าง ไปจนถึงการแจ้งซ่อมในอาคารสำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ สาธารณภัย เป็นต้น จากนั้นระบบ AI […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.