ปูบนพื้น มุงหลังคา ใช้ในงานก่อสร้าง ตีความสังคมผ่านผืนผ้าใบสีฟ้า-ขาว ในนิทรรศการภาพถ่าย The Fabric of Society

เคยสังเกตตัวเองมั้ย เวลาเจอผืนผ้าใบสีฟ้า-ขาว แล้วสมองจะนึกโยงไปถึงอะไรก่อน ไซต์ก่อสร้าง หลังคาชั่วคราวของคนไร้บ้าน หรือเครื่องมือคลุมของของร้านรวงริมถนน ฯลฯ ที่เป็นแบบนั้นเพราะไม่ว่าจะเป็นของเล็กน้อยหรือใหญ่โต ล้วนมีบริบทการใช้งานและชนชั้นผูกอยู่ด้วยเสมอ เหมือนที่ Barry Macdonald ช่างภาพอิสระชาวอังกฤษ มีมุมมองต่อเจ้าผืนผ้าใบนี้ในหลากหลายมิติ นำมาสู่นิทรรศการภาพถ่าย ‘The Fabric of Society’ หรือ ‘ผืนผ้าของสังคม’ ที่จะจัดแสดงระหว่างวันที่ 21 กันยายน ถึง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.30 – 19.00 น. ณ Front Lobby ชั้น 1 TCDC กรุงเทพฯ เพราะอย่างที่ทราบกันว่าผ้าใบมีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์การใช้งานอันหลากหลาย ตั้งแต่ความคงทน ราคาย่อมเยา เข้าถึงง่าย ทำให้เราเชื่อมโยงกับผ้าใบนี้แม้ว่าจะไม่ได้เป็นคนใช้งานโดยตรงก็ตาม เนื่องจากยังไงเราก็ต้องเคยเดินผ่านเห็นมันบ้างอยู่แล้ว ไม่ว่าจะใช้ในงานก่อสร้าง การขนส่ง หรือการนำมาดัดแปลงสร้างสรรค์​ให้เป็นของดีไซน์แบบไทยๆ แบบที่จะอยู่ในคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอของ Urban Creature เช่น […]

ชมภาพถ่าย ตามเรื่องเล่า ย่านเก่าพิษณุโลก กับนิทรรศการ ‘เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ’ วันนี้ – 18 ส.ค. ที่ย่านตลาดใต้

‘ตลาดใต้-ประตูมอญ’ คือย่านค้าขายเก่าแก่ที่อยู่คู่จังหวัดพิษณุโลกมานมนาน นอกจากจะเปี่ยมด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาหารรสโอชา สถาปัตยกรรมทรงคุณค่า และผู้คนที่โอบอ้อมอารี ย่านนี้ยังอัดแน่นด้วยประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตอันมีเสน่ห์ ที่รอคอยให้ทุกคนได้มาสัมผัส ถ้าใครอยากรู้จักย่านตลาดใต้-ประตูมอญมากขึ้น คงไม่มีโอกาสไหนดีกว่าการได้ไปนิทรรศการภาพถ่าย ‘เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ’ ในตอนนี้อีกแล้ว นิทรรศการภาพถ่าย เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับเทศบาลนครพิษณุโลก ชุมชนพุทธบูชา ชุมชนพญาเสือ และนักสร้างสรรค์ในและนอกพื้นที่ งานนี้เกิดจากเวิร์กช็อปสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่ได้คนในชุมชนและศิลปินภายนอกมาเรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นนิทรรศการที่เสนอเอกลักษณ์ของย่านในรูปแบบ ‘คนในอยากบอก คนนอกอยากเล่า’ แสดงภาพถ่ายที่สะท้อนมุมมองจากคนในชุมชนเองและคนนอกชุมชน ทำให้คนที่มาแวะชมได้ชื่นชมเรื่องราวของย่านอย่างรอบด้าน ค้นพบความงามและเสน่ห์ของย่านตลาดใต้-ประตูมอญไปด้วยกันที่นิทรรศการภาพถ่าย ‘เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ’ นิทรรศการจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ – 18 สิงหาคม 2567 ที่ถนนสุรสีห์ ย่านตลาดใต้ ในสี่พื้นที่ด้วยกันคือ อาคารบ้านก๋ง (โอฬาร ลานสร้างสรรค์), หน้าโรงงิ้ว ศาลเจ้าปุนเถ้ากง, Treat Tea House และชั้น 2 Finally Coffee Co. […]

Galleries’ Nights เปิดแมป Gallery Hopping ยามค่ำคืน 10 – 11 พ.ย. 66 ทั่วกรุงเทพฯ ตลอด 2 เส้นทางหลัก

ใกล้เข้ามาแล้วกับงานที่จะเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน กับ ‘Galleries’ Nights’ ที่จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ธีมปีนี้พิเศษกว่าครั้งไหนๆ เพราะเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี Galleries’ Nights งานนี้จัดขึ้นทั่วกรุงเทพฯ ในวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2566 มีแกลเลอรีเข้าร่วมกว่า 80 แห่ง พร้อมผลงานสร้างสรรค์จากศิลปินกว่า 220 คน ใน 2 เส้นทางหลัก คือ ‘สีลม-สาทร-ริมแม่น้ำเจ้าพระยา’ ในวันที่ 10 และ ‘อารีย์-ปทุมวัน-สุขุมวิท’ ในวันที่ 11 งานนี้เข้าชมฟรี แถมยังมีบริการ ‘MuvMi’ รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ากว่า 500 คัน ครอบคลุม 12 พื้นที่จัดงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่าคนรักงานศิลปะ รวมถึงสร้างประสบการณ์ Gallery Hopping ที่แปลกใหม่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ทางผู้จัดงานยังได้จัดทำแผนที่ตั้งของแกลเลอรีและเส้นทางการเดินรถ MuvMi ในแต่ละวันไว้เพื่อความสะดวกของผู้เข้าร่วมด้วย ดังนี้ […]

‘Some Time Exhibition’ ส่องความทรงจำจากภาพเก่าในแชตเฟซบุ๊ก ที่ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ วันนี้ – 3 ก.ย. 66

ภาพถ่ายถือเป็นสิ่งที่ทำให้เราย้อนคิดถึงความทรงจำในอดีตได้ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง ‘Some Time Exhibition’ คือนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 2 ของ ‘เต้ย-ณัฐวุฒิ เตจา’ ช่างภาพอิสระที่สนใจการสำรวจวัตถุที่หลากหลาย และหลงใหลในการทำความเข้าใจสิ่งของและสถานที่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป งานจัดแสดงครั้งนี้จะพาคุณย้อนกลับไปในความทรงจำสมัยมัธยมปลายของเต้ย (ปี 2014 – 2016) ซึ่งเป็นช่วงที่เขาเพิ่งเริ่มหัดถ่ายรูปใหม่ๆ ผ่านภาพถ่ายความละเอียดต่ำที่ครั้งหนึ่งเคยทับถมอยู่ในแชตเฟซบุ๊กของตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีการสะสมภาพถ่ายที่เต้ยมักใช้เป็นประจำในสมัยที่ระบบคลาวด์ยังไม่เป็นที่นิยม แม้จะดูสะเปะสะปะและไม่เป็นหมวดหมู่ แต่ก็ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในตอนนั้นที่จะบันทึกทุกอย่างเอาไว้ ไม่ต่างจากการอัดรูปเป็นอัลบั้มของแม่หรือการเก็บภาพไว้ในฮาร์ดดิสก์ของพ่อ Some Time Exhibition นำภาพเหล่านั้นมาจัดและเรียบเรียงใหม่ภายในขอบเขตของศิลปะการถ่ายภาพ แนวคิดของภาพความละเอียดต่ำถือเป็นอีกมิติหนึ่งในการนำเสนอ เพราะภาพเหล่านี้มีศักยภาพในการกระตุ้นอารมณ์ ความคิด และจุดประกายการแสดงออกทางศิลปะ รวมถึงเป็นการเปลี่ยนข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่เต็มไปด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ ให้มีเสน่ห์ ดึงดูดความสนใจ และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ ทั้งยังเป็นการใช้ภาพถ่ายเชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันเข้าด้วยกัน คล้ายกับการพาผู้ชมสำรวจลึกลงไปในตัวตนในอดีตของเขา ที่อาจเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นสำคัญของชีวิตที่ส่งผลมาถึงตัวตนในปัจจุบัน ภายในงานผู้เข้าชมจะพบกับ 3 โซนภาพถ่าย ได้แก่ โซนภาพถ่ายขนาดเล็กที่สามารถพิมพ์ออกมาได้ในขนาดไม่กี่เซนติเมตรเพราะความละเอียดที่ต่ำมาก โซนภาพขนาดใหญ่ที่ใช้ AI เข้ามาช่วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้และบทบาทของเทคโนโลยี และโซนภาพเปรียบเทียบรูปแบบการถ่ายภาพที่ทำให้เห็นว่า หลายวิธีที่ช่างภาพใช้กันในปัจจุบันคือสิ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากอดีต Some Time Exhibition จัดขึ้นที่ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ ชั้น 3 […]

‘ไม่ว่างมองฟ้า’ นิทรรศการภาพถ่าย เล่าถึงชีวิตคนที่ต้องก้มหน้าก้มตาทำงาน ชมฟรีถึง 30 เม.ย. 65 ที่ ปรีดี พนมยงค์ 42

‘ทำงานจนไม่มีเวลามองฟ้า’ เราเชื่อว่าน่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยประสบหรือกระทั่งตอนนี้ก็ยังอยู่ในภาวะข้างต้นนี้อยู่ อย่างที่ทราบกันว่าการมีชีวิตอยู่ในประเทศนี้ถ้าไม่ได้มีต้นทุนที่ดี บ้านมีฐานะมาก่อน คนก็จำต้องก้มหน้าก้มตาทำงานหนัก เพื่อหาเงินมาทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานก่อสร้าง เกษตรกร นักร้อง หรือดาราก็ตาม เพราะต้องดิ้นรนทำงานหนักในอุตสาหกรรมเพลงที่รัฐไม่สนับสนุน ทำให้ ‘AUTTA’ เลือกทำเพลงที่มีชื่อว่า ‘ไม่ว่างมองฟ้า’ ออกมาบอกเล่าถึงชีวิตของตัวเองและคนทำอาชีพอื่นๆ ที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ จนไม่มีเวลาเงยหน้าชื่นชมความสวยงามของท้องฟ้า (ฟังได้ที่ youtube.com/watch?v=_ItZdG8P8qY)  นอกจาก Music Video เพลงที่ถ่ายทอดถึงชีวิตของคนทำงานอาชีพต่างๆ และภาพที่พวกเขามองเห็นแล้ว ‘AUTTA’ ยังร่วมมือกับ ‘SEESAN’ หรือ สรรพัชญ์ วัฒนสิงห์ ช่างภาพฝีมือดีผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายเหล่าศิลปินระดับประเทศ ทำนิทรรศการภาพถ่าย ‘AUTTA – ไม่ว่างมองฟ้า’ โดยมีคอนเซปต์เป็นแก่นเพลงนี้ที่ว่าด้วยการก้มหน้าก้มตาทำงาน จนไม่มีเวลามองหาความสวยงามบนท้องฟ้า สรรพัชญ์เล่าว่า เขาตั้งใจนำเสนอภาพที่เหล่าคนทำงานหลากหลายอาชีพต้องจดจ้องในแต่ละวัน ยกตัวอย่าง คนขับตุ๊กตุ๊กกับภาพแฮนด์พาหนะที่เขาใช้ทำมาหากิน ช่างแต่งหน้ากับภาพเครื่องสำอางที่เรียงราย ดารากับภาพรถตู้ที่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในนั้นทั้งวัน เป็นต้น  “พอไปถ่ายภาพคนทำงานต่างอาชีพ เราก็ได้พูดคุยกับพวกเขา อย่างคนทำงานแรงงานจะมีปัญหาที่รุนแรง ต้องทำงานหนักมากเพื่อให้ได้รายได้ที่เพียงพอ ขณะเดียวกันคนที่ดูเหมือนทำงานสบาย เขาก็มีปัญหาชีวิตส่วนตัวที่คนอื่นอาจมองไม่เห็น เราคิดว่าต้นตอหลักๆ ของปัญหาทั้งหมดนี้คือความเหลื่อมล้ำ สุดท้ายมันไม่ใช่แค่เรื่องของการมีเวลามองความสวยงามของท้องฟ้า แต่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตคนทำงานด้วย” […]

หวนรำลึกถึงอาคารสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ ที่กำลังหายไปใน ‘Something Was Here.’ โดย Foto_momo 15 – 27 มี.ค. 65 ที่ BACC

หากต้องการสำรวจว่าบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยเป็นอย่างไร นอกจากดูที่ความคิดความสนใจของคนในสังคมช่วงเวลานั้นแล้ว อาคารสถานที่สิ่งก่อสร้างทั้งหลายก็เป็นเครื่องมือบอกเล่าที่สำคัญว่าเรารับเอากระแสนิยมหรือมีอิทธิพลใดที่ส่งผลถึงประเทศบ้าง และเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรหาวิธีอนุรักษ์มรดกของกาลเวลาเหล่านี้เอาไว้ หลังจากตระเวนถ่ายภาพสถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯ มาหลายปี เบียร์-วีระพล สิงห์น้อย เจ้าของโปรเจกต์ Foto_momo ได้ร่วมมือกับ Docomomo Thai กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับคุณค่าของอาคารไทยสมัยใหม่ จัดนิทรรศการภาพถ่ายเล็กๆ ที่มีชื่อว่า ‘Something Was Here.’ กับคอนเซปต์ The Fading Memories of Bangkok Modern Architecture. (ความทรงจำอันเลือนรางของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ) นิทรรศการนี้จะจัดแสดงภาพถ่ายอาคารประมาณ 20 หลังทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงโรงละครสกาลาที่ถูกรื้อถอนเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม จุดประสงค์ของนิทรรศการ Something Was Here. คือการหวนรำลึกถึงความรุ่งโรจน์ของฝีมือการออกแบบและเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารในยุคสมัยหนึ่งที่เคยเป็นหน้าเป็นตาของความ “สมัยใหม่” ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานบันเทิง สถานศึกษา ที่พักอาศัย และออฟฟิศทำงาน ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าสังคมไทยนั้นพร้อมปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่จากตะวันตกแล้ว  คำถามคือ เมื่อเวลาผ่านไป สงครามเย็นสิ้นสุดลงและเทคโนโลยีการก่อสร้างก็ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ความสมัยใหม่เหล่านี้ได้ไร้คุณค่าไปด้วยหรือไม่ ในฐานะคนที่ติดตามถ่ายภาพอาคารเก่ามาตลอด วีระพลอยากชวนทุกคนมาหาวิธีจัดการกับมรดกสถาปัตยกรรมเหล่านี้ภายใต้สมการของการอนุรักษ์และการพัฒนา มิฉะนั้นแล้ว เราอาจไม่มีอาคารเหล่านี้ให้จดจำ นิทรรศการจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC ผนังโค้งชั้น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.