ย้อนดูหลักฐานการต่อสู้ของประชาชนที่นิทรรศการ ‘วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน’ 20 ก.พ. – 26 พ.ค. 66 ที่ มธ. รังสิต

หลายครั้งที่การชุมนุมประท้วงหรือการต่อต้าน มักถูกฉายด้วยภาพจากฝั่งรัฐว่าเป็นการกระทำที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดความวุ่นวาย จนประชาชนทั่วไปติดภาพของการออกมาชุมนุมว่าเป็นสิ่งที่เลวร้าย ทั้งที่จริงแล้วในรัฐธรรมนูญไทยหลายฉบับต่างรับรองเสรีภาพในการชุมนุมว่าเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงมี เพื่อให้การชุมนุมเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้สื่อสารความต้องการของตัวเองออกมาได้ และในการชุมนุมประท้วงเหล่านี้เอง สิ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงเจตจำนงอย่างมีศิลปะและความคิดสร้างสรรค์แต่คงไว้ด้วยความตรงไปตรงมา เพื่อให้สารหรือข้อเรียกร้องมีพลังและไปถึงผู้คนที่หลากหลายมากขึ้น นั่นก็คืออุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย หรือวัตถุพยานอื่นๆ ในช่วงเวลานั้นๆ เพื่อรวบรวมวัตถุพยานที่หลงเหลือจากเหตุการณ์การชุมนุมเอาไว้ ‘พิพิธภัณฑ์สามัญชน Museum of Popular History’ จึงได้ร่วมมือกับ ‘พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ โดยมี ‘KINJAI CONTEMPORARY’ เป็นผู้จัดร่วมและออกแบบจนเกิดเป็นนิทรรศการ ‘วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน (Evidences of Resistance)’ ขึ้น ภายในจะจัดแสดงวัตถุพยานสำคัญของความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยรัฐ รวมไปถึงวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ขันของผู้ชุมนุม ภายใต้สถานการณ์ตึงเครียดจนเหมือนไร้ซึ่งความหวัง เพราะสำหรับประชาชนมือเปล่าที่ไร้อำนาจและอาวุธ ความคิดสร้างสรรค์จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญเพียงไม่กี่อย่างที่พวกเขาใช้ได้  นิทรรศการ ‘วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน’ จัดขึ้นที่ห้อง 112 พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ – 26 พฤษภาคม 2566 โดยเปิดให้เข้าชมได้ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.30 – […]

องค์การนักศึกษาธรรมศาสตร์ประกาศใช้ ‘มอญดูดาว’ เป็นเพลงประจำมหา’ลัย แทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง

เป็นอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายเป็นที่พูดถึงบนโลกโซเชียลมีเดีย หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง ทั้งในกรณีของการยกเลิกประกวดดาว-เดือน ยกเลิกระบบโซตัส หรือการอนุญาตให้บัณฑิตที่เข้ารับปริญญาแต่งตัวตามเพศวิถีได้ และในครั้งนี้ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ อมธ. ได้ประกาศให้ใช้ ‘เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว’ แทนเพลงประจำมหาวิทยาลัยเดิมอย่าง ‘เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง’ ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ.  ความเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดเกิดขึ้นหลัง อมธ. ทำแบบสำรวจประชามติของประชาคมธรรมศาสตร์ที่ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของการจัดกิจกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะในการเลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยอันเป็นการแสดงออกที่สำคัญถึงอัตลักษณ์ การก่อกำเนิด และการเชิดชูประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมหาวิทยาลัย โดยแบบสำรวจครั้งนี้มีเพลงที่เข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 3 เพลง ได้แก่ เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว, เพลงมาร์ช มธก. และเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ซึ่งจากจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด 5,168 คน มีคนที่เลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาวกว่า 51.9 เปอร์เซ็นต์  ทำให้ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา อมธ. เห็นควรประกาศให้ใช้เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาวแทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ. ตามเจตนารมณ์ของประชาคมธรรมศาสตร์ นับแต่นี้ต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนเพลงประจำมหาวิทยาลัย ไม่ได้หมายความถึงการยกเลิกเพลงเดิมหรือทำให้หายไปถาวร เพราะมีการชี้แจงทางจดหมายจากมหาวิทยาลัยเรื่องการใช้เพลงมหาวิทยาลัย ที่ระบุว่า ​​“เพลงพระราชนิพนธ์ ยูงทอง เป็นเพลงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้คุณค่าและความสำคัญสำหรับงานพิธี พิธีการ และงานที่เป็นทางการของมหาวิทยาลัย และยังคงถือปฏิบัติเช่นนั้นโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง” […]

สมจริงเหมือนยกหอสมุดมาไว้ใน The Sims 4 โหลดฟรี ม็อดหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ฝีมือนักศึกษาฝึกงานราชภัฏวไลยอลงกรณ์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เป็นหนึ่งในบรรดาหอสมุดที่นับว่าสวยงามและมีทรัพยากรหลากหลายน่าใช้งานมาก ใครที่เป็นสาวกห้องสมุดน่าจะถูกใจหอสมุดแห่งนี้ไม่น้อย แต่สำหรับใครที่เดินทางมาหอสมุดฯ ไม่สะดวกหรือคิดถึงความหลังเมื่อครั้งเคยมาอ่านหนังสือและทำงานที่นี่ ก็ไปเยือนหอสมุดปรีดีฯ ในรูปแบบเกม The Sims 4 ก่อนได้ แค่โหลดของเสริมเกมหรือที่เรียกสั้นๆ ว่าม็อด (มาจากคำว่า Modification) ที่คนทั่วไปสร้างสรรค์เสื้อผ้าตัวละครหรือสถานที่ได้เอง ซึ่งขอบอกว่าม็อดหอสมุดปรีดีฯ นี้มีรายละเอียดครบสุดๆ เหลือแค่เร่งแอร์ให้หนาวเหมือนอยู่หอสมุดฯ อีกนิดเป็นอันใช้ได้ ม็อดหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ออกแบบโดย นางสาวรัชฎาภรณ์ ธัญญเจริญ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นักศึกษาฝึกงานที่หอสมุดปรีดีฯ ทำให้สถานที่มีความสมจริง ละเอียดทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่ชั้นใต้ดินทั้ง 3 ชั้น มุมยืม-คืนหนังสือ ชั้นหนังสือไทยและต่างประเทศ ห้องนิทรรศการประจำหอสมุดอย่าง ห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์, มุมป๋วย เพื่ออุษาคเนย์และอาเซียน, ห้องหนังสือหายาก ฯลฯ ไปจนถึงโต๊ะ-เก้าอี้ที่มีรูปทรงหลากหลาย นอกจากนี้ ในม็อดหอสมุดฯ ยังมีกิมมิกสนุกๆ เป็น QR Code ให้ผู้เล่นออกตามหาและสแกนดูข้อมูลที่น่าสนใจ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.