จอดทับทางม้าลาย ปรับ-จับจริง เริ่ม 1 ก.พ. 65 ที่แยกอโศกเป็นที่แรก มี AI จับภาพ พร้อมส่งใบสั่งให้ถึงที่บ้าน

หลังจากที่มีการถกเถียงเรื่องความปลอดภัยในการใช้ทางม้าลายในกรุงเทพฯ กันมาสักพัก ตอนนี้ กทม. เริ่มเอาจริงกับการบังคับใช้กฎหมายที่แยกอโศกมนตรีเป็นที่แรก โดยใช้กล้องที่มีเทคโนโลยี AI จับภาพรถที่จอดทับทางม้าลาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ปรับและจับจริงตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 65 เป็นต้นไป ใครทำผิดกฎหลังจากนี้รอรับใบสั่งส่งตรงถึงบ้านได้เลย  วันที่ 25 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร ได้แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับการปรับปรุงทางม้าลายบริเวณแยกอโศกมนตรี ผ่านเพจ เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง – Earth Pongsakorn Kwanmuang เอาไว้ว่า ต้อง “จับ” “ปรับ” ถึง “เปลี่ยน” พฤติกรรมคนได้ และมีแนวทางในการแก้ไขทางม้าลายให้สะดวก ปลอดภัย จะต้องแก้ด้วย 2 วิธีคือ 1. การแก้ไขทางกายภาพ ด้วยการออกแบบเชิงโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และ 2. การแก้ไขพฤติกรรมวินัยจราจร ด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในขณะนี้บริเวณแยกอโศกมนตรี แยกขนาดใหญ่ที่มีคนเดินเท้าใช้กันเป็นประจำ […]

ส่องทางม้าลายในกรุงเทพฯ l Urban Eyes

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยประสบอุบัติเหตุจากการเดินบนท้องถนนถึง 2,500-2,900 รายต่อปี กว่า 1 ใน 3 เป็นพื้นที่ กทม. เฉลี่ย 900 รายต่อปี ตัวเลขดังกล่าวมาจากการบันทึกไว้เป็นสถิติยังมีอีกหลายปัญหาที่อยู่นอกเหนือจากสถิติ ทั้งภาพที่เราเห็นกันบ่อยครั้ง เช่นเวลาจะข้ามทางม้าลายแต่กลับต้องหลบให้รถที่มาเร็วไปก่อน หรือทางม้าลายตรงทางแยกที่เต็มไปด้วยรถจอดทับ หรือแม้แต่ข่าวน่าเศร้าที่เราต่างรู้กันดี Urban Eyes ในตอนนี้เราจึงอยากจะถ่ายทอดภาพที่เราเห็นเหล่านั้นออกมา เพื่อสะท้อนปัญหาที่เราทุกคน ผู้ใช้เท้าย่างเดินบนท้องถนนกำลังเผชิญ #UrbanCreature #UrbanEye #ทางม้าลาย #กรุงเทพ

โซล เมืองคนเดินเท้าเป็นใหญ่ รัฐเพิ่มทางม้าลายซัปพอร์ตประชาชน

ถ้าเคยไปเยือนโซล ประเทศเกาหลีใต้ คุณน่าจะเคยได้สัมผัสทางเท้าที่มีคุณภาพ และการข้ามถนนที่แสนสะดวกสบาย แถมยิ่งนานวัน ระบบการสัญจรของเมืองก็ยิ่งพัฒนาขึ้น ล่าสุด ทางรัฐบาลกรุงโซล (The Seoul Metropolitan Government) รายงานว่า ได้ขยายการติดตั้งทางม้าลายใหม่ๆ ทั่วเมืองทั้งสิ้น 28 แห่งในปี 2021 โดยคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมของทางเท้าที่ปลอดภัยต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแผนการที่จะติดตั้งทางม้าลายอีก 31 แห่งในปี 2022 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลกรุงโซลดำเนินหลายๆ โปรเจกต์ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านนโยบายการจราจรบนยานพาหนะ จนกระทั่งนำมาสู่นโยบายการสัญจรทางเท้า โดยส่วนสำคัญของโครงการ คือการติดตั้งและขยายทางม้าลาย ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินถนนได้อย่างมาก และด้วยประสบการณ์ด้านบวก ที่ชาวเมืองได้รับจากการใช้งานได้ดีจริงๆ จึงทำให้โปรเจกต์นี้ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนในวงกว้าง ทั้งนี้ รัฐบาลกรุงโซลได้ติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยก 14 ทาง ในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง เพื่อบรรเทาความไม่สะดวกของคนเดินเท้า ที่เคยต้องเดินอ้อมเส้นทางไกลๆ ในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกันก็สร้างสภาพแวดล้อมของทางข้ามที่ปลอดภัยสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และยังมีการอำนวยความสะดวกด้วยการติดตั้งทางม้าลายต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนทางเดินเท้าที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับทางเดินอื่นๆ ด้วย สำหรับการขยายทางม้าลายอย่างต่อเนื่องในปี […]

ทางม้าลายเปลี่ยนไป Yinka Ilori เติมสีให้ถนนลอนดอนสนุก

ทางม้าลายลอนดอนเปลี่ยนไป๋ เมื่อ Yinka Ilori ดีไซเนอร์หนุ่มชื่อดังตัดสินใจพลิกโฉมทางม้าลายธรรมด๊า ธรรมดา 18 แห่งในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ให้เต็มไปด้วยสีสัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประจำปีอย่าง London Design Festival ปี 2021  Ilori ได้ลงมือเปลี่ยนแปลงแถบสีขาวและดำบริเวณทางแยก 11 แห่งบนถนน Tottenham Court ย่านใจกลางลอนดอนให้เต็มไปด้วยความสดใส ซึ่งแต่งแต้มด้วยสีน้ำเงิน ส้ม ชมพู ม่วง และเขียว นอกจากนี้ นักออกแบบหนุ่มยังได้แท็กทีมกับนักศึกษาจาก University of the Arts London เพื่อออกแบบทางแยกอีก 7 แห่ง โดยมีอาสาสมัครใจดีมาช่วยทาสีต่างๆ อย่างเต็มใจ ซึ่งแยกเจ็ดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ Queen Street นอกสำนักงานใหญ่ของ Bloomberg บริษัทผู้ให้ทุนสนับสนุนโครงการ  โปรเจกต์สุดน่ารักนี้เรียกว่า Bring London Together ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสุขสันต์ให้กับชาวเมืองลอนดอนหลายพันคนที่ใช้ท้องถนนทุกๆ วัน งานศิลปะแสนสนุกบนถนนในซีรีส์นี้ ไม่ได้มีแค่ทางเท้าหลากเฉดสีของ Ilori […]

ทางม้าลายแรกของโลกที่ The Beatles เคยเดินข้าม

ทางม้าลาย สัญลักษณ์บนท้องถนนสำหรับเดินข้ามที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่า แถบขาวสลับดำที่ถูกฉาบได้แรงบันดาลใจมาจากลายสองสีของเจ้าม้าลาย แต่รู้หรือเปล่าว่าความเข้าใจที่ว่านั้นผิดมหันต์ แถมช่วงแรกทางม้าลายยังไม่ใช่สีขาว-ดำ แล้วความจริงเป็นอย่างไร คอลัมน์ Urban Tales ชวนค้นคำตอบตั้งแต่จุดแรกเริ่มของทางม้าลายไปพร้อมกัน  ก่อนไปถึงเรื่องราวของสัญลักษณ์สำหรับข้ามถนน ขอเล่าประวัติการเดินข้ามถนนสู่กันฟังเสียก่อน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณราว 2,000 ปีที่แล้วในเมืองปอมเปอี นครโรมันโบราณ ตอนนั้นใช้หินก้อนใหญ่วางต่อกันโดยเว้นช่องว่างที่พอดีทั้งคนเดินข้าม และรถม้าวิ่งผ่าน เพื่อไม่ให้คนต้องย่ำเท้าลงถนนที่ด้านใต้เป็นระบบระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูล  เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ จากสิ่งประดิษฐ์ของนครปอมเปอีที่ล่มสลาย สู่จุดเริ่มต้นของทางข้ามถนนอีกครั้งในเดือนธันวาคม ปี 1868 ที่ถนน ‘Bridge Street’ เมืองเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดของ ‘John Peake Knight’ วิศวกรทางรถไฟผู้มองหาหนทางให้ชาวเมืองข้ามถนนที่เต็มไปด้วยรถราอย่างปลอดภัย ด้วยการนำเสาหางปลา (Semaphore Arm) ซึ่งเป็นสัญญาณของทางรถไฟมาปรับใช้ โดยด้านบนติดตะเกียงแก๊ส (Gas Illuminated Lights) สีเขียวและแดง และมอบหน้าที่ให้ตำรวจเป็นคนสับเสาขึ้น-ลงเพื่อส่งสัญญาณให้คนเดิน แต่เนื่องจากตะเกียงมีส่วนผสมของแก๊สที่ง่ายต่อการระเบิด ในปี 1896 จึงยกเลิกการใช้สัญลักษณ์เสาหางปลาสำหรับการข้ามถนน และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้เป็นเวลานานกว่า 50 ปี  เข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1930 สหราชอาณาจักรออกกฎหมายสำหรับการใช้ถนนปี […]

ฟุตพาท ทางม้าลาย สะพานลอย เรื่องพื้นๆ ของผู้ใช้ทางเท้า

ก่อนที่เราจะมีรถยนตร์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางทั้งหลาย หรือระบบขนส่งสาธารณะ วิธีการเดินทางที่เรียบง่าย เก่าแก่ และเสมอต้นเสมอปลายที่สุดของเราก็คือการเดินเท้า

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.