ทอดน่องท่องย่าน ‘แขกตานี’ ตามหาร่องรอยชาวมลายูในบางกอก

เหลียวซ้ายหันขวาพบว่ากลุ่มคนและวัฒนธรรมอิสลามอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ หรือถ้าหากเจาะจงให้แคบลงเฉพาะในเมืองหลวง ลองเปิดแผนที่กรุงเทพฯ ดู ก็ปรากฏชื่อของมัสยิดตั้งอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในโซนเมืองเก่าที่เราเจอว่ามีกลุ่มคนมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหลายพื้นที่ นอกจากศาสนสถานและอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะดุดตา คำศัพท์ต่างๆ ที่ภาษาไทยหยิบยืมมาใช้ อาหารรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ยังมีมรดกอีกหลายอย่างที่ตกทอดและแทรกตัวอยู่ท่ามกลางวิถีชีวิตของคนไทยจนอาจไม่ทันนึกถึง นับว่าเป็นการผสานความหลากหลายของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอติดสอยห้อยตามเพจ Halal Life Magazine นิตยสารออนไลน์ของกลุ่มพี่น้องมุสลิม ไปทอดน่องท่องย่านในกิจกรรม ‘ย่ำตรอก ออกซอย ตามรอยบ้านแขกตานี’ ที่ชวนออกเดินทางสำรวจ ‘ย่านแขกตานี’ ชุมชนดั้งเดิมของคนมลายูที่อพยพมาจากภาคใต้ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ตามหาร่องรอยต่างๆ ของแขกมลายูบริเวณนี้ เช่น อาคารบ้านเรือน ชื่อบ้านนามถิ่น อาหารการกิน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของผู้คนแถบนี้ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ เรายังได้กูรูด้านประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยอย่าง ‘อาจารย์ศุกรีย์ สะเร็ม’ และผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน มาเป็นผู้พาเดินเที่ยวและช่วยเติมเต็มเรื่องราวต่างๆ ของคนมุสลิมในกรุงเทพฯ ให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย ถิ่นฐานย่านแขก ชุมชนคนมลายูในบางกอก ไม่ไกลจากถนนข้าวสาร แสงสีคู่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน และใกล้ๆ กันกับบางลำพู ช้อปปิงเซ็นเตอร์รุ่นเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ แต่เดิมแถบนี้เคยเป็นหมู่บ้านของพี่น้องชาวมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ประกอบกิจการร้านค้ากันเรียงรายทั่วย่าน แต่ปัจจุบันหากเดินสำรวจดูโดยไม่มีผู้รู้คอยนำทาง อาจไม่ทราบเลยว่าที่นี่เคยเป็นถิ่นฐานบ้านชาวมลายู เพราะเหลือเพียงชื่อกับร่องรอยไม่กี่อย่างที่บ่งบอกถึงเท่านั้น […]

‘มุมเดิม เวลาเดิม ต่างปี’ ชุดภาพถ่ายถนนข้าวสาร 13 เมษาที่หยุดอยู่ที่เดิมเป็นปีที่ 2

“ถนนข้าวสารปีก่อนในวันที่ 13 เมษายนเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปี 2563 – 2564 ทุกอย่างยังคงเงียบงัน” เป็นปีที่ 2 แล้วที่เราไม่ได้เห็นบรรยากาศคึกคักของเทศกาลสงกรานต์บนถนนข้าวสารแม้ปีนี้พ่อค้าแม่ขายและร้านรวงต่างๆ รอบถนนข้าวสารจะมีการเตรียมตัวจัดงานสงกรานต์เล็กๆ ที่พอจะเป็นไปได้ในช่วงที่โควิด-19 ดูจะซาลงไป แต่ก็ต้องพับทุกความตั้งใจเก็บไว้ เพราะเกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในเมืองไทย  จึงเกิดเป็นชุดภาพถ่าย มุมเดิม เวลาเดิม แต่ต่างปี ของถนนข้าวสารในเช้าวันที่ 13 เมษายน ที่ไม่ได้มีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มมา 1 ปีติดต่อกันแล้ว  พบว่าบางสิ่งที่เคยอยู่ตรงนั้น หายไปพบว่าบางสิ่งที่ไม่เคยมี ก็เกิดขึ้นใหม่พบว่าเมืองไทยย่ำอยู่กับที่มาตลอดพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น …นอกจากพื้นถนนดีไซน์ใหม่

เมื่อความเงียบเหงา ทำให้เรารู้จัก ‘ข้าวสาร’ Nightlife Scene ในวันที่เปลี่ยนแปลงไป

ชวนรู้จักถนนข้าวสารให้มากขึ้น กับงาน Khao San Hide and Seek: เข้าซอย ข้าวสาร โดยทีมศิลปากร

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.