ชวนย้อนเวลากลับไปในลอนดอนยุค 90 ผ่านเว็บไซต์ ‘Public Lettering’ เพื่อศึกษากราฟิกดีไซน์บนป้ายในช่วงเวลานั้น

สิ่งหนึ่งที่ทำให้การเดินในเมืองสนุกขึ้นคือ การที่ระหว่างทางเราได้สำรวจมองหาความน่าสนใจของการออกแบบกราฟิกบนป้ายที่พบเห็นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณาหรือป้ายร้านค้า เพราะนั่นคือสิ่งเล็กๆ ที่บ่งบอกถึงความคิดสร้างสรรค์และสถานที่นั้นๆ ต้องการนำเสนอ ถ้าเดินดูป้ายในไทยจนฉ่ำใจ แล้วอยากดูงานออกแบบป้ายของประเทศอื่นๆ บ้าง Urban Creature อยากแนะนำอีกหนึ่งเว็บไซต์ให้รู้จัก นั่นก็คือ ‘Public Lettering’ ที่รวบรวมป้ายโฆษณา ป้ายร้านค้า และงานออกแบบกราฟิกที่นำเสนอเอกลักษณ์องค์กรบริเวณใจกลางกรุงลอนดอนในยุค 90 Public Lettering สร้างขึ้นโดย ‘Phil Baines’ (ฟิล เบนส์) กราฟิกดีไซเนอร์ผู้ออกแบบปกหนังสือของสำนักพิมพ์ Penguin Books ไปจนถึงป้ายพิพิธภัณฑ์ และอนุสรณ์สถานในลอนดอน เพื่อส่งต่อภาพถ่ายงานออกแบบกราฟิกให้กับนักเรียนออกแบบกราฟิกดีไซน์ของเขา หลังจากได้รับผลตอบรับที่ดีในการประชุมของ ATypI (Association Typographique Internationale) องค์กรไม่แสวงหากำไรระดับนานาชาติที่มุ่งเน้นด้านการออกแบบ Typography และ Typeface ในปี 1997 เรียกว่าเป็นเว็บไซต์ที่เก็บรวบรวมภาพถ่ายโดยฟิล เบนส์ ที่ส่งผลต่องานออกแบบของเขาตั้งแต่ปี 1992 อีกทั้งยังทำให้เห็นความน่าสนใจของการออกแบบกราฟิกบนป้ายของลอนดอนในยุคหนึ่งที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ที่ยากจะพบเจอในปัจจุบัน ใครที่เอนจอยงานออกแบบลักษณะนี้ ลองไปสำรวจตัวอักษรและป้ายกราฟิกในลอนดอนครั้งอดีตได้ที่ publiclettering.org.uk Sources :Planet Typography | […]

Thaipography Archive แพลตฟอร์มคลังป้ายฟอนต์ไทย จากกลุ่มคนรักในตัวอักษรที่จะมาป้ายยาให้คนสนใจป้ายมากขึ้น

นี่คือเว็บไซต์รวบรวมการออกแบบฟอนต์ไทย โดย ‘บูม-พร้อมพรรณ ศุขสุเมฆ’ ที่อยากชวนทุกคนหยุดดูป้ายร้านค้า ตึก อาคารบ้านเรือนให้นานขึ้น พร้อมถ่ายภาพเก็บไว้ลงคลัง เพราะเมื่อผ่านไปแล้วเราอาจไม่มีโอกาสได้กลับมาเห็นป้ายเหล่านี้อีก Thaipography Archive เป็นส่วนหนึ่งของ Thaipography Project ที่มาจากความตั้งใจออกแบบฟอนต์ตัวอักษรไทยแล้วนำมาดัดแปลงเป็นตัวอักษรแบบละติน หรือกลุ่มตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ยังคงความเป็นไทยอยู่ ซึ่งเป็นกระบวนการออกแบบตัวอักษรแบบย้อนกลับ เพราะปกติการออกแบบฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไปนั้นจะออกแบบด้วยตัวละตินก่อนแล้วค่อยแปลงเป็นภาษาไทย นับเป็น ‘การทดลอง’ เล็กๆ ของผู้มีความสนใจในตัวอักษรว่า หากเราสลับวิธีออกแบบแล้ว คนไทยจะดูออกไหมว่าฟอนต์นี้เริ่มต้นจากแบบอักษรไทย และชาวต่างชาติจะอ่านตัวอักษรละตินเหล่านี้ออกไหมหากสวมความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งก่อนจะนำมาสู่กระบวนการทดลองทั้งหมดก็ต้องมีคลังรูปแบบตัวอักษรไทยที่มากพอจะเห็นเอกลักษณ์และแนวทางได้ แพลตฟอร์มคลังป้ายตัวอักษรไทยจึงถือกำเนิดขึ้นมา ด้วยเวลากว่า 6 ปีที่บูมสนใจในเรื่องตัวอักษรและลายเส้นของไทย เธอเริ่มจากการศึกษาข้อมูลที่รวบรวมตัวอักษรและการออกแบบของไทย จนปี 2022 บูมเจอหนังสือ ‘แกะรอยตัวพิมพ์ไทย’ ของ ‘ประชา สุวีรานนท์’ และได้รู้ว่าอาจารย์ใช้เวลาเป็น 10 ปีในการรวบรวมรูปแบบการออกแบบ และทำให้รู้ว่ามีคนสนใจเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ยังขาดแหล่งที่รวบรวมการออกแบบ ฟอนต์ และแบบตัวอักษรที่อาจสูญหายไว้ เธอจึงสร้าง Thaipography Archive ไว้เป็นพื้นที่แบ่งปันและเก็บรักษางานออกแบบดีๆ พร้อมชวนผู้ที่สนใจในภาพป้ายไทยอย่าง @thaiposign และ @thaipography_photo มาช่วยรวบรวมตัวอักษรและเรียนรู้ข้อมูลงานออกแบบเหล่านี้ให้ละเอียดขึ้น โดยคาดหวังให้แพลตฟอร์มนี้เป็นแหล่งความรู้สำหรับนักเรียน […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.