รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

WAY รีดีไซน์ท่าเรือรีสอร์ตดังในจีนเป็นท่าเรือทอดสู่ทะเล

สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว  ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS

ทางม้าลายเปลี่ยนไป Yinka Ilori เติมสีให้ถนนลอนดอนสนุก

ทางม้าลายลอนดอนเปลี่ยนไป๋ เมื่อ Yinka Ilori ดีไซเนอร์หนุ่มชื่อดังตัดสินใจพลิกโฉมทางม้าลายธรรมด๊า ธรรมดา 18 แห่งในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ให้เต็มไปด้วยสีสัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประจำปีอย่าง London Design Festival ปี 2021  Ilori ได้ลงมือเปลี่ยนแปลงแถบสีขาวและดำบริเวณทางแยก 11 แห่งบนถนน Tottenham Court ย่านใจกลางลอนดอนให้เต็มไปด้วยความสดใส ซึ่งแต่งแต้มด้วยสีน้ำเงิน ส้ม ชมพู ม่วง และเขียว นอกจากนี้ นักออกแบบหนุ่มยังได้แท็กทีมกับนักศึกษาจาก University of the Arts London เพื่อออกแบบทางแยกอีก 7 แห่ง โดยมีอาสาสมัครใจดีมาช่วยทาสีต่างๆ อย่างเต็มใจ ซึ่งแยกเจ็ดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ Queen Street นอกสำนักงานใหญ่ของ Bloomberg บริษัทผู้ให้ทุนสนับสนุนโครงการ  โปรเจกต์สุดน่ารักนี้เรียกว่า Bring London Together ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสุขสันต์ให้กับชาวเมืองลอนดอนหลายพันคนที่ใช้ท้องถนนทุกๆ วัน งานศิลปะแสนสนุกบนถนนในซีรีส์นี้ ไม่ได้มีแค่ทางเท้าหลากเฉดสีของ Ilori […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.