รอชม ‘ดอยบอย’ ที่ได้ไปฉายในเกาหลีใต้ หนังไทยว่าด้วยชนกลุ่มน้อยที่ลี้ภัยมาในไทย สตรีมทั่วโลก 24 พ.ย. 66 ทาง Netflix

หาก ‘ดินไร้แดน (Soil without Land)’ คือภาพยนตร์สารคดีที่ว่าด้วยชาวไทใหญ่ผู้อยากมีชีวิตที่ดีแต่ต้องไปเข้ากองทัพในรัฐฉานเพื่อปลดแอกจากรัฐพม่า ‘ดอยบอย (Doi Boy)’ ก็คือเรื่องปรุงแต่งที่ยังคงมีกลิ่นอายความรู้สึกของชาวไทใหญ่ในดินไร้แดนนั้นอยู่ หากแต่คราวนี้ได้เสริมเติมแต่งเรื่องราวหรือความรู้สึกของชีวิตที่มากกว่าใครคนใดคนหนึ่งในประเทศแห่งนี้เพียงคนเดียว ‘นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ยังคงนำเรื่องราวของความเป็นชนกลุ่มน้อยที่คราวนี้ยิ่งทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ชาวไทใหญ่เท่านั้นที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่คือเราทุกคนที่อยู่ในชนชั้นใดของสังคมก็ตามด้วยเช่นกัน เพราะหากโครงสร้างทางการเมืองยังไม่ถูกแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้เราในฐานะประชาชนของประเทศมีอำนาจมากพอที่จะเป็นเจ้าของอำนาจ หรืออย่างน้อยที่สุดในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่พึงมีสิทธิเสรีภาพ ผู้มีอำนาจในโครงสร้างนั้นก็จะยังคงกดขี่หรือคอยกัดกินหาผลประโยชน์จากเราไล่ลงมาเรื่อยๆ และพยายามทำให้โครงสร้างนี้ยังคงอยู่ต่อไป อย่างในเรื่องดอยบอย หากพื้นที่และโครงสร้างของรัฐพม่าโอบอุ้มชีวิตทุกชีวิตมากพอ ‘ศร’ เด็กหนุ่มไทใหญ่ที่ลี้ภัยเข้ามาทำงานค้าประเวณีในบาร์เกย์ที่เชียงใหม่ อาจไม่ต้องเข้าไปร่วมกับกองกำลังเพื่อต่อสู้กับรัฐพม่า หรือหากรัฐไทยเป็นประชาธิปไตยที่รองรับสิทธิมนุษยชนมากพอ เขาอาจได้สิทธิในการเป็นพลเมืองเฉกเช่นมนุษย์คนหนึ่ง หรือหากรัฐไทยมีมาตรการรองรับในช่วงโควิด-19 มากพอ เขาอาจไม่ต้องเข้าไปพัวพันกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยจนกลายเป็นเพียงแค่หมากตัวหนึ่งที่รัฐใช้ผลประโยชน์จากเขา หรือหากรัฐไทยให้สิทธิเสรีภาพมากพอ สถานการณ์ของศรที่ต้องไปพบเจอกับนักกิจกรรมทางการเมืองอาจถูกเปลี่ยนไปเป็นสิ่งอื่น ปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ เราไม่อาจบอกได้เลยว่าทั้งหมดไม่ใช่เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในรัฐไทย อาจกล่าวได้ว่า ดอยบอยคือภาพยนตร์ที่บันทึกปัญหาของรัฐไทยที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังบันทึกเรื่องราวของชาวไทใหญ่ให้พวกเขาได้มีตัวตนมากขึ้น ให้สังคมได้รับรู้ถึงปัญหาของชายแดนไทย-พม่าที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดมา มากกว่าประเด็นที่จะได้พบเจอในภาพยนตร์ สิ่งที่ดอยบอยกำลังแสดงออกมาคือหัวจิตหัวใจของมนุษย์ที่มีทั้งดี เลว เทา สุข เศร้า และปลง ชีวิตของตัวละครที่ไม่ได้มีเฉดสีขาวหรือดำแต่ล้วนเป็นสีเทาทั้งหมด ทุกคนมีความฝันหรือความหวังในชีวิตที่อยากจะมีความสุขหรืออย่างน้อยก็ปกติสุขที่สุดในขณะที่เรามีลมหายใจ แต่ความฝันเหล่านี้ก็คงเป็นไปได้ยากหากโครงสร้างของรัฐยังกดขี่พวกเราทุกคน ความรู้สึกนี้จึงหนักอึ้งเสียกว่าประเด็นในหนังที่แสดงออกมาเสียอีก ที่ผ่านมา ดอยบอยได้ไปฉาย World Premiere ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 28 […]

ร่วมลุ้นรางวัลไปกับสองหนังไทย ‘Solids by the Seashore’ และ ‘ดอยบอย’ ในเทศกาลหนังปูซาน ครั้งที่ 28

แม้ว่าหนังไทยจะถูกปรามาสหรือวิจารณ์อยู่เนืองๆ ถึงเรื่องโปรดักชันไม่ปัง เนื้อหาที่พูดไม่ได้ พลอตเรื่องเก่าชวนให้เบื่อ ฯลฯ จนผู้ชมหันหน้าหนีหนังไทยไปหาดูอย่างอื่นกันแทน แต่หนังไทยที่ถูกแปะป้ายเช่นนั้นก็เป็นเพียงความจริงหนึ่ง เพราะในอีกหลายมิติของวงการภาพยนตร์ไทยก็ใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นทั้งหมด เพราะหากเราดูรายชื่อใน ‘เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน’ (Busan International Film Festival : BIFF) จะเห็นหนังไทยที่มีชื่อเข้าร่วมลุ้นรางวัลหรือได้ไปฉายอยู่หลายเรื่อง อย่างเมื่อปีที่แล้ว ‘Blue Again’ ผลงานของผู้กำกับหญิง ‘ฐาปณี หลูสุวรรณ’ ก็ได้เดินทางไปฉายในเทศกาลนี้มาแล้ว และในปี 2566 ก็มีรายชื่อสองหนังไทยอย่าง ‘Solids by the Seashore’ และ ‘ดอยบอย’ ที่ได้รับคัดเลือกเข้าประกวดชิงรางวัลด้วย ‘Solids by the Seashore (ทะเลของฉันมีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง)’ ของ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ ผู้กำกับที่เคยมีผลงานภาพยนตร์หลายเรื่องไปฉายยังหลากหลายประเทศ โดยเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา ว่าด้วยหญิงสาวชาวใต้ที่มีครอบครัวมุสลิมอนุรักษนิยม ซึ่งได้ใกล้ชิดกับศิลปินหญิงหัวขบถจากในเมืองที่เดินทางมาจัดนิทรรศการศิลปะ โดยมีฉากหลังของความสัมพันธ์เป็นสิ่งแวดล้อมของทะเลที่งดงามและชีวิตชายฝั่งที่กำลังเผชิญความเสียหายทางธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าประกวดในสาย New Currents ซึ่งจะมอบให้กับผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกหรือเรื่องที่สองของผู้กำกับหน้าใหม่ชาวเอเชีย คัดเลือกโดยคณะกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก อีกเรื่องคือ ‘DOI BOY’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.