หนึ่งวันกับ ‘นาเกลือ’  ย่านเก่าแก่กว่า 100 ปี ใจกลางพัทยา พื้นที่ประมงเชิงอนุรักษ์ และชุมชนวิถีชีวิตคนจีน

ทะเล เมืองแห่งการท่องเที่ยว เมืองที่เต็มไปด้วยสีสันความบันเทิง และภาพชาวต่างชาติที่นั่งอยู่เต็มหาด พร้อมสถานที่ท่องเที่ยวเก๋ๆ มากมาย คือภาพจำของ ‘พัทยา’ ที่ถามร้อยคนก็คงตอบทำนองนี้เกือบร้อยคน แต่ใครจะรู้ล่ะว่า ท่ามกลางความเจริญในพัทยาแห่งนี้ จะมี ‘ชุมชนนาเกลือ’ ชุมชนเก่าแก่ที่ยังมีชีวิตซ่อนตัวอยู่ที่นี่ด้วย คอลัมน์ One Day With… ขอพักปอด หนีฝุ่นในเมืองไปสูดกลิ่นทะเลที่ชุมชนนาเกลือ ชุมชนชาวจีนเก่าแก่ใจกลางพัทยากับกิจกรรม ‘เดินศึกษาย่านเก่านาเกลือ’ ที่จะพาทุกคนมาร่วมสัมผัสวิถีชีวิตชาวนาเกลือตั้งแต่การกิน การอยู่ ไปจนถึงการมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในชุมชน ผ่านการนำชมของ ‘ไกด์คุณป้า’ ที่เกิดและเติบโตในชุมชน การันตีว่าเราจะได้รู้ทุกซอกทุกมุมที่น่าสนใจของชุมชน แถมการมาเที่ยวที่นี่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนให้ชุมชนนาเกลือแห่งนี้กลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วย ‘เดินศึกษาย่านเก่านาเกลือ’ เป็นกิจกรรมจากกลุ่มปั้นเมืองที่ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมืองพัทยา และชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนาเกลือ ในการขับเคลื่อนแผนงานให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามวิสัยทัศน์ ‘นาเกลือย่านเก่าสร้างสรรค์ (Na Kluea-Creative Old Town)’ เพื่อฟื้นฟูย่านนาเกลือ รักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้ย่านนาเกลือแห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง เหล่าไกด์คุณป้าที่เกิดและเติบโตมาเป็นอย่างดีในชุมชนนาเกลือ เป็นผู้ที่จะพาเราเดินทางในกิจกรรมวันนี้ การเดินสำรวจชุมชนนาเกลือเริ่มต้นด้วยการสักการะ ‘องค์เซียนซือ’ องค์ประธานของ ‘มูลนิธิสว่างบริบูรณ์ธรรมสถาน’ และเป็นเทพเจ้าที่ชาวบ้านในย่านนี้นับถือ เนื่องจากเป็นเทพเจ้าแห่งการกุศลและช่วยเหลือคน “ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของทุกเดือนจะมีพิธีทรงเจ้า คนส่วนใหญ่มักมาทำพิธีสะเดาะเคราะห์และเอารถมาให้คนทรงช่วยเจิมให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต” […]

ชื่อบ้านนามตรอกรอบ ‘ซอยวานิช 1’ เส้นเลือดใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล ในโมงยามที่ชื่อย่านรางเลือน

หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ แทนที่ด้วยภาษาไทยสำเนียงแปร่งปร่าจากปากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พร้อมกับป้ายร้านอักษรไทยฟอนต์ Tahoma และอักขรวิธีการสะกดคำที่อ่านแสนยาก ซึ่งนั่นหมายความว่ารากเหง้าของจีนเก่าที่มาก่อนก็กำลังถูกลบเลือนหายไปด้วยเช่นกัน เทศกาลตรุษจีนนี้ คอลัมน์ Neighboroot นัดพบกับพ่อค้าเชือกและนักประวัติศาสตร์ประจำย่านอีกครั้ง ชวนคุยเรื่องเก่าในละแวกบ้าน โดยมีแผนที่การค้าเก่าที่ปีนี้อายุครบร้อยปีพอดีเป็นตัวช่วยชี้ทาง เพื่อตามหาชื่อบ้านนามเมืองในสำเพ็งที่ทยอยหล่นหายไปตามเวลา ถนนคนเดินเบียดเสียด ละลานตาไปด้วยแสงไฟ อาหารสตรีทฟู้ดหลากหลาย กลายเป็นภาพจำของ ‘ไชนาทาวน์’ เมืองไทย ผู้คนจากทั่วสารทิศมาเยือนถนนสายมังกรด้วยเป้าหมายต่างกันออกไป ไม่น้อยเป็นคนไทยที่มาหาของกินยามค่ำ ไม่น้อยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแลนด์มาร์กต่างบ้านต่างเมือง และก็มีไม่น้อยที่เป็นกลุ่มทุนจีนใหม่ที่เข้ามาทำธุรกิจ เพื่อกอบโกยเม็ดเงินกลับไปยังต้นทาง หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.