Bangkok Street Noise สนับสนุนโปรเจกต์ดนตรีเพื่อให้เสียงดนตรีได้มีพื้นที่ในเมืองนี้ต่อไป

โปรเจกต์ ‘Bangkok Street Noise’ มีจุดเริ่มต้นมาจากความอยากเล่นดนตรี และเมื่อพื้นที่ดนตรีในเมืองนั้นมีน้อย ‘ป๊อก-วรรณฤต พงศ์ประยูร’ จึงรวบรวมเพื่อนคนดนตรีช่วยกันหาพื้นที่และเวที โดยใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงแบบพกพา เคลื่อนย้ายกันง่ายๆ เปิดการแสดงดนตรียามแดดอ่อนของบ่ายวันอาทิตย์ไปจนถึงหัวค่ำ เพิ่มสีสันและสุนทรีย์ทางเสียงให้เมืองนอกเหนือจากเสียงการจราจร  ทางกลุ่มมีความตั้งใจว่าอยากให้การเล่นดนตรีเป็นอีกเรื่องธรรมดาของเมือง และเป็นอีกหนึ่งเสียงของความเรียบง่าย ที่หากใครผ่านไปผ่านมาก็สามารถเลือกที่นั่งชมนั่งฟังได้ตามอัธยาศัย ไม่เสียเงิน Bangkok Street Noise ใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะที่ไม่ได้ใช้งาน ตั้งเวทีแบกะดินและไม่ได้เคลื่อนย้ายสิ่งใดๆ ในสถานที่เหล่านั้นนอกจากการเก็บขยะ ในแต่ละสัปดาห์จะมีวงดนตรีแนวทดลองหลากหลายสไตล์เพลงที่ได้รับการชักชวน มานำเสนอผลงานในสถานที่ที่ต่างกันออกไป เช่น ใต้สะพานทางด่วน เลียบคลอง ริมรางรถไฟ สวนทิ้งร้าง หรือบริเวณชุมชน ฯลฯ ปัจจุบัน Bangkok Street Noise เดินทางจัดงานกันมาถึง Street Gig ครั้งที่ 55 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2566 และทางกลุ่มได้ประกาศว่า ลำโพงที่ใช้งาน Street Gig มาเป็นเวลานานพังหมดแล้ว แต่พวกเขาก็ยังคงอยากพัฒนา Street Gig ให้เกิดขึ้นอีกในครั้งต่อไป เพื่อทำให้ชาวเมืองเข้าถึงดนตรีได้มากขึ้นอีกนานๆ […]

DEMO EXPO เทศกาลดนตรีและศิลปะเพื่อประชาชน โดยผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง

เมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ‘ลานคนเมือง’ พื้นที่สาธารณะของเขตพระนคร ใกล้กับเสาชิงช้าวัดสุทัศน์ฯ ถูกใช้เป็นพื้นที่จัดงาน ‘DEMO EXPO’ เทศกาลดนตรีที่กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองร่วมกันจัดขึ้น  ชื่อของเทศกาลดนตรีครั้งนี้มาจากคำว่า Democracy (ประชาธิปไตย) และในอีกทางหนึ่ง คำว่า Demo เองก็หมายถึงการแสดงตัวอย่าง ดังนั้น DEMO EXPO จึงเป็นดั่งงานดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ประชาชนเผชิญอยู่ และทำหน้าที่เป็นเวทีให้ศิลปินหลายแขนงได้ใช้นำเสนอผลงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน  แม้ทีมผู้จัดงานจะเป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง ทว่าเทศกาลดังกล่าวหาใช่ม็อบการเมืองหรือการชุมนุมใดๆ เป็นเพียงงานเทศกาลดนตรีที่ถ่ายทอดผ่านพลังสร้างสรรค์ ตามสโลแกนของงานคือ ‘Music Arts Peoples’  งาน DEMO EXPO มีวงดนตรีแห่งยุคสมัยกว่า 20 รายชื่อบรรเลงกันตั้งแต่เที่ยงวันยันเกือบเที่ยงคืน ภายในงานประดับประดาไปด้วยงานศิลปะจากศิลปินหลายสไตล์ อัดแน่นด้วยกิจกรรมให้ความรู้ทางการเมือง รวมถึงข้อเรียกร้องทางการเมืองหลายประเด็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหลายช่วงวัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นความบันเทิงที่ได้ทั้งความสุนทรีย์และเสรี ผ่านความชอบที่แตกต่างหลากหลาย  คอลัมน์ ‘Art Attack’ พาทุกคนย้อนกลับไปสำรวจเบื้องหลังของ ‘DEMO EXPO’ อีกหนึ่งงานตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ดนตรีและศิลปะเป็นสิ่งที่รับใช้ประชาชน และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างแท้จริง เทศกาลดนตรีฟรีที่ไม่กำหนดอายุ DEMO EXPO จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 […]

FYI

โลตัส เปิดสเปซ ‘ดนตรีในห้าง’ เพื่อชุมชน ยกพื้นที่แห่งเสียงเพลงให้คนรุ่นใหม่กว่า 200 สาขา

แม้ปีที่ผ่าน ๆ มา สถานการณ์โควิด-19 อาจทำให้กิจกรรมหลายอย่างต้องหยุดชะงักไป แถมยังมีความเหี่ยวเฉาครอบงำเพราะถูกจำกัดสเปซให้อยู่แค่ในบ้าน ซึ่งหลังจากสถานการณ์คลี่คลายมากขึ้น ผู้คนเริ่มก้าวเท้าออกจากบ้านเพื่อใช้ชีวิต และเมืองกำลังกลับมามีสีสันอีกครั้ง ทำให้พวกเราได้เห็นกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย ที่กำลังต่อขบวนมอบความสุขอย่างไม่ขาดสาย หนึ่งในนั้นคือพื้นที่สร้างสรรค์อย่าง ‘ดนตรี’ ที่คุณอาจสังเกตได้ว่าพื้นที่ของเสียงเพลง จะไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ภายใต้แอปฯ สตรีมมิ่ง คอนเสิร์ต หรือร้านอาหารยามค่ำคืนอีกไป แต่กำลังเป็นสเปซที่ให้ทุกคนเข้าถึงอย่างง่ายดาย และสามารถสร้างประสบการณ์ทางดนตรีร่วมกันได้ เพื่อเติมสีสัน และสร้างผลลัพธ์ใหม่ ๆ แก่ชุมชน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลการร้องเพลง หรือแอบใช้ห้องน้ำเป็นเวทีเดบิวต์อยู่บ่อย ๆ จงอย่าเก็บความสามารถทางดนตรีของคุณไว้คนเดียว เพราะโลตัสได้เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ผ่านแคมเปญ ‘ดนตรีในห้าง’ ให้เป็นสเปซแห่งโอกาสของเยาวชนรุ่นใหม่ที่ต้องการเวทีในการมาแสดงความสามารถกันอย่างเต็มที่พร้อมกระจายเวทีกว่า 200 สาขาทั่วประเทศให้เป็นพื้นที่ของชุมชน เพื่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมสร้างความบันเทิง เปิดหมวกร้องเพลง และกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ก็มีพื้นที่ให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโลตัสโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และชวนลูกค้าเข้ามาสัมผัสความบันเทิง รวมถึงดื่มด่ำไปกับบรรยากาศแห่งเสียงดนตรีที่โลตัส ซึ่งนอกจากจะให้คุณเพลิดเพลินไปกับการชอปปิงแล้ว ยังช่วยสนับสนุนศิลปินและผู้มีความสามารถหน้าใหม่อีกด้วย ทางโลตัสต้อนรับผู้ที่สนใจ ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็สามารถเข้าร่วมได้ ทั้งนักร้อง นักดนตรี วงดนตรีท้องถิ่น หรือเป็นคนที่หลงรักในเสียงดนตรี โลตัสก็พร้อมยกสเปซให้คุณได้ใช้แสดงความสามารถและสร้างความบันเทิง ตอกย้ำการเป็น SMART Community Center ศูนย์รวมการใช้ชีวิตในแบบสมาร์ทของทุกคนในชุมชน […]

“ดนตรีอยู่ที่ไหนก็ได้” – ‘ลภ เวลาเย็น’ ผู้จัดงานดนตรีที่อยากชวนทุกคนไปฟังเพลงกันซักแดด

ดนตรีมีหลากหลายแนวเพลง รูปแบบการเล่นดนตรีก็แตกต่าง การแสดงดนตรีย่อมไม่เหมือนกัน ในร้านเหล้า ผับ บาร์ คาเฟ่เป็นแบบหนึ่ง บนเวทีคอนเสิร์ต ในพื้นที่สาธารณะเป็นอีกแบบหนึ่ง ในงานตลาดนัดหรือเทศกาลดนตรีก็อีกแบบหนึ่ง ต่างรสนิยมและความสุนทรีย์ เป็นปัจเจก ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเลือกแบบไหน ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ ในประเทศไทยมีทางเลือกในการฟังเพลง ดูดนตรีกันสักกี่รูปแบบ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้สองสามปีที่ผ่านมารูปแบบการจัดงานดนตรีต้องปรับเปลี่ยน ลดขนาด เว้นระยะห่าง ไม่แออัด ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้นึกถึง ‘ซักแดด’  ซักแดดคืองานดนตรีที่ใช้พื้นที่ในจังหวัดราชบุรีเป็นที่จัดงาน บริหารโดยทีมผู้จัดงานชื่อ ‘เวลาเย็น (Velayen)’ โดยมี ลภ-วัลลภ แก้วพ่วง เป็นหัวหน้าแก๊ง เขาเล่าว่า ซักแดดเกิดขึ้นมาพร้อมการปรับตัวในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่หลังโรคระบาดมาเยือน เวลาเย็นกับการชวนไปซักแดด ก่อนจะไปฟังเรื่องของซักแดด เราอยากพาไปรู้จักกับหัวหน้าแก๊งเวลาเย็นกันก่อนสักนิด ลภเป็นคนบางแพ จังหวัดราชบุรี เรียนประถมฯ ต่อมัธยมฯ แถวบ้านได้ปีเดียว ก็เปลี่ยนมาต่อเทคนิคฯ ช่างไฟ ที่โพธาราม กระทั่งปี 2546 เขาก็เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่เทคนิคกรุงเทพฯ จนเรียนจบออกมาใช้วิชาช่างไฟสร้างตัวอยู่ในเมืองหลวงราว 15 ปี ก่อนเปิดบริษัทรับเหมาเป็นของตัวเอง และตัดสินใจวางแผนกลับไปอยู่บ้านอีกครั้ง ปี […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.