บอกเล่าความเจ็บปวดด้วยงานศิลปะ กับนิทรรศการ ‘ผิดพลาด จึงผลิบาน’ วันนี้ – 28 มี.ค. 67 ที่ 1559 Space

คำว่า ‘ผิดพลาด’ สำหรับใครหลายคนอาจตีความหมายไปในแง่ลบ แต่แท้จริงแล้ว ความผิดพลาดนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน ขึ้นอยู่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วเราจะจมปลักอยู่กับมัน หรือลุกขึ้นสู้เพื่อเปลี่ยนความผิดพลาดให้เป็นพลังก้าวข้ามปัญหา เช่นเดียวกับ ‘นารฺซิด’ ศิลปินชาวไทยผู้ทำงานศิลปะเกี่ยวเนื่องกับตำนาน ความเชื่อ ศาสนา และการตีความ เมื่อปี 2564 เขาเลือกสลัดทิ้งความเศร้าจากการเผชิญหน้ากับปมหลายอย่างในชีวิตมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ผสมผสานความซับซ้อนของปรัชญา ความเชื่อ และจิตวิญญาณ ถ่ายออกมาผ่านภาพวาดเชิงเปรียบเทียบด้วยประติมานทางศาสนาและสัญญะจากปกรณัมต่างๆ จนเกิดเป็นนิทรรศการ ‘ผิดพลาด จึงผลิบาน’ (Broken, thus Bloom) ผิดพลาด จึงผลิบาน เป็นนิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวของการยอมรับถึงธรรมชาติอันเปราะบางของมนุษย์ ว่าเป็นเรื่องแสนธรรมดาที่เราต้องเผชิญหน้ากับการสูญสลายของตัวตนก่อนที่จะเริ่มเดินทางสู่ความสมบูรณ์ของจิตใจ นารฺซิดได้นำเอาแนวคิดของ Carl Gustav Jung นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ที่พูดถึงเรื่อง ‘จิตไร้สำนึกที่สะสมมาแต่อดีตกาล’ (Collective Unconscious) มาใช้อธิบายเรื่องราวความเจ็บปวดผ่านผลงานภาพวาดทั้ง 11 ชิ้น ที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราวของผู้คน และสร้างช่องว่างให้พวกเขาเติมเรื่องราวของตัวเองเข้าไปได้อีกด้วย มาร่วมเดินทางสู่ความสมบูรณ์ของจิตใจกับนิทรรศการ ผิดพลาด จึงผลิบาน (Broken, thus Bloom) ได้แล้ววันนี้ – 28 มีนาคม 2567 ที่ […]

‘ทำไมคนถึงชอบฟังเพลงเศร้า’ รู้จักกับหนึ่งในวิธีการเยียวยาจิตใจผ่านความเจ็บปวด

‘ความสุขมักถูกซ่อนเอาไว้ในความเจ็บปวด’ คำกล่าวนี้ผู้เขียนไม่ได้ทึกทักขึ้นมาเอง แต่ความเจ็บสามารถสร้างความสุขแบบแปลกๆ ให้เราได้จริง จากฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) หรือฮอร์โมนแห่งความสุขที่ปล่อยออกมาเวลาเราทำกิจกรรมที่สนุกหรือเพลิดเพลินไปกับมัน เช่น ออกกำลังกาย ทานของอร่อย นวดสปา หรือการมีเซ็กซ์ ขณะเดียวกัน ถ้าลองนึกดูดีๆ หลายครั้งเราก็ ‘เพลิดเพลิน’ ไปกับกิจกรรมที่มีความทรมานแฝงอยู่ มาก-น้อย ช้า-เร็วต่างกันไป เช่น การกินเผ็ด เล่นเครื่องเล่นหวาดเสียว ดูหนังผี ไปจนถึงการดูหนังหรือฟังเพลงเศร้า โดยเฉพาะช่วงที่เรากำลังอกหัก สิ่งนี้เรียกว่า ‘Tragedy Paradox’ หรือความย้อนแย้ง ที่ใช้ในสถานการณ์เมื่อคนเราพยายามจะทำอะไรสักอย่างเพื่อลดหรือบรรเทาความเศร้าในชีวิต แต่ก็เจอความสุขในความสวยงามของความเศร้านั้นไปด้วย นอกจากนี้ ในระหว่างที่เรากำลังฟังเพลงเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนโพรแลกทิน (Prolactin) ที่สร้างขึ้นเมื่อน้ำตาเราไหล ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกบันเทิงไปกับเพลงที่ฟังดูเจ็บปวด หรือเมื่อกำลังมีประสบการณ์กับอารมณ์คลื่นความถี่ต่ำ เช่น เศร้า โหยหาถึงคนที่คิดถึง เครียด โดยจะช่วยให้รู้สึกผูกพันและเชื่อมต่อกับสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีความหมาย ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้คือตัวเดียวกับฮอร์โมนที่จะปล่อยออกมาตอนที่เราจะได้เป็นพ่อคนแม่คน และได้ยินเสียงลูกร้องไห้ สิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่ปลอดภัยต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราทั้งที่ปล่อยออกมาตอนฟังเพลงเศร้า เป็นเพราะระบบรับรู้ของเราจับได้ว่า ‘เรากำลังฟังเพลงเศร้า เพื่อให้นึกถึงช่วงเวลาที่เศร้าตอนนั้น แต่เราไม่ได้กำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่ทรมานหดหู่ตอนนี้’ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเกิดการแยกกันระหว่างเรื่องจริงตรงหน้ากับอารมณ์ที่เกิดขึ้น (Dissociation) ความเจ็บปวดทางจิตใจที่หนักหนาจนใจรับไม่ไหวก็ไม่เกิดขึ้น ทว่ากลายเป็นความผ่อนคลายหรือสบายใจเข้ามาแทนที่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.