‘Whale Brewing’ โรงผลิตคราฟต์เบียร์จากบ้านญี่ปุ่น 80 ปี ที่ช่วยเพิ่มการท่องเที่ยวและลดจำนวนบ้านร้างในประเทศ

บ้านที่ถูกทิ้งร้างเป็นปัญหาใหญ่ของหลายพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้รัฐบาลต้องมองหาวิธีแก้ไขเพื่อลดปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของบ้านร้างในประเทศ ซึ่งในเมืองโยบุโกะ จังหวัดซากะ ก็มีบ้านญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมอายุกว่า 80 ปีถูกทิ้งร้างเอาไว้เหมือนกัน สถาปนิกจาก ‘CASE-REAL’ จึงได้ออกแบบและเปลี่ยนบ้านเก่าให้กลายเป็น ‘Whale Brewing’ โรงผลิตคราฟต์เบียร์แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเมือง โดยเมืองโยบุโกะนั้นเป็นที่รู้จักในเรื่องการล่าวาฬในสมัยเอโดะ และมีชื่อเสียงในเรื่องการตกหมึก แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน จำนวนประชากรในย่านนี้ก็ลดน้อยลงเนื่องจากการโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้มีบ้านถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นไอเดียในการนำบ้านว่างหลังนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้เมืองมีชีวิตชีวามากขึ้น และหวังว่าจะช่วยดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองมากกว่าเดิม บ้านที่ CASE-REAL เลือกนั้นตั้งอยู่ริมถนนโยบุโกะ ถนนที่เต็มไปด้วยอาหารทะเลท้องถิ่นและมีแผงขายสินค้าตั้งอยู่ทุกเช้า และแม้ว่าบ้านหลังนี้จะทรุดโทรมและมีปัญหาด้านโครงสร้างอยู่บ้าง แต่ CASE-REAL ได้สำรวจและเลือกจุดแข็งของบ้านมาปรับปรุงให้เป็นโครงสร้างและฟังก์ชันที่เหมาะสมกับการทำโรงเบียร์ โดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ ภายในอาคารประกอบไปด้วยพื้นที่ผลิตเบียร์ในห้องโถงแบบเปิด ส่วนด้านหน้าเป็นกระจกทั้งสองชั้นเพื่อให้ด้านในมองเห็นถนนด้านนอก ส่วนด้านนอกก็สามารถมองเข้ามาเห็นบรรยากาศในโรงเบียร์ที่ประกอบด้วยโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงนำสเตนเลสมาใช้สำหรับองค์ประกอบต่างๆ เช่น เคาน์เตอร์และที่จับ เพื่อสะท้อนถึงอุปกรณ์ในการต้มเบียร์ด้วย Sources :CASE-REAL | tinyurl.com/wymyf2f6Designboom | tinyurl.com/4dekx5d4

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

City of Craft Beer ทัวร์ 5 ร้านกินดื่มในนนทบุรี กับกลุ่ม ‘ประชาชนเบียร์’

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ‘กลุ่มประชาชนเบียร์’ นำโดยผู้ก่อตั้ง ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ได้จัดกิจกรรม ‘ประชาชนเบียร์พาทัวร์’ รวมพลผู้ร่วมสนใจกว่า 30 คน เดินทางไปยังนนทบุรี ดินแดนที่ได้รับฉายาจากนักดื่มว่าเป็น ‘เมืองหลวงคราฟต์เบียร์’ เราและผู้ร่วมเดินทางได้เรียนรู้เรื่องคราฟต์เบียร์และสัมผัสประสบการณ์การกินดื่มที่แตกต่างไปจากความคุ้นเคยเดิม ผ่าน 5 ร้านคราฟต์เบียร์ที่ทางประชาชนเบียร์คัดสรรมานำเสนอ  เมื่อย้อนนึกถึงรอยยิ้มพิมพ์ใจและบทสนทนาหลังแก้วเบียร์ของการเดินทางในครั้งนั้นแล้ว คอลัมน์ Urban Guide เลยอยากแนะนำร้านเหล่านี้ให้ผู้อ่านเก็บเข้าลิสต์ไว้ เผื่อเป็นตัวเลือกให้คนที่อยากใช้ช่วงเวลาวันหยุดรื่นรมย์ไปกับการกินดื่ม Devanomฟาร์มฮอปส์แห่งแรกของไทย และโรงเบียร์มิตรสัมพันธ์ เริ่มต้นสถานที่แรกด้วยฟาร์มปลูกฮอปส์แห่งแรกของไทย ‘Devanom Farm’ สำนักเดียวกันกับ ‘เทพพนม’ แบรนด์คราฟต์เบียร์ไทยที่หลายคนเป็นแฟนคลับตัวยง  ‘อ๊อบ-ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์’ คือเจ้าของฟาร์มฮอปส์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการต้มเบียร์ เขาสร้างฟาร์มแห่งนี้ขึ้นเมื่อ 7 ปีที่แล้ว พร้อมกับพัฒนาสายพันธุ์ฮอปส์เองกว่า 500 สายพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เต็มตามความต้องการ และทนทานต่อสภาพอากาศในเมืองไทย นอกจากนี้ ที่นี่ยังมียีสต์แล็บที่ใช้พัฒนาสายพันธุ์ของอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญของการต้มเบียร์ และบริเวณใกล้เคียงก็มีการเตรียมสร้างโรงกลั่นสาโท และแปลงนาข้าวที่กำลังดำเนินการปลูกเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ โดยอ๊อบมุ่งหวังให้พื้นที่ตรงนี้เป็น Local Community ของโซนนนทบุรี และต้องการการันตีว่านี่คือเครื่องดื่มของคนไทย ยังไม่หมดแค่นั้น ที่ฟาร์มแห่งนี้ยังมี ‘โรงเบียร์มิตรสัมพันธ์’ […]

ปลดล็อกวงการสุราไทย! สภาฯ โหวตผ่านร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า โอกาสของผู้ประกอบการรายเล็ก-สุราชุมชน

8 มิถุนายน 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการ ‘ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต’ หรือ ‘ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ วาระที่หนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 178 เสียง ไม่เห็นด้วย 137 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง ร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอโดย เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล พร้อมคณะ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อน 60 วัน ก่อนจะส่งกลับมาให้สภาฯ พิจารณาอีกครั้งเมื่อวานนี้  สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า มีดังต่อไปนี้ 1) กำหนดให้ผู้ที่ผลิตสุราเพื่อการบริโภค ที่ไม่ใช่สำหรับการค้า เช่น การต้มสุราเพื่อบริโภคเองในครัวเรือน (Homebrewing) หรือการทดลองต้มสุราเพื่อคิดค้นสูตรใหม่ สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่มีความผิดทางกฎหมาย 2) ไม่กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตสุรา เช่น ต้องจดทะเบียนบริษัทหรือต้องมีทุนขั้นต่ำในการจดทะเบียน เปิดทางให้ผู้ประกอบการผลิตสุราที่มีเจ้าของเดียวหรือมีรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามารถเริ่มกิจการได้ 3) ไม่กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องกำลังการผลิต กำลังแรงม้า และจำนวนพนักงานในการขออนุญาตผลิตสุรา เป็นการเปิดโอกาสให้การผลิตสุราในชุมชน ที่แต่เดิมกำหนดว่า […]

The Fence Craft Beer Bar บ้านริมคลองของคนชอบคราฟต์เบียร์ พาย SUP และรักกาแฟ

การจะหาที่พักผ่อนในกรุงเทพฯ ที่ไม่ต้องแย่งกันกินแย่งกันเที่ยวไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งถ้าอยากได้ความร่มรื่น อยู่ท่ามกลางบรรยากาศสงบๆ และอยู่ใกล้เมืองแล้วยิ่งตัวเลือกน้อยลงเข้าไปอีก  จาก Pain Point ของคนเมืองที่ลำบากกับการหากิจกรรมวันหยุดและหาสถานที่พักผ่อน ทำให้เราได้รู้จักกับบ้านริมน้ำหลังหนึ่งชื่อ The Fence Craft Beer Bar คอมมูนิตี้ย่านตลิ่งชันที่รวมหลายกิจกรรมเอาไว้ในที่เดียว ทั้งพายซัปบอร์ด ดูวิถีชีวิตริมคลองกับ SUP Talingchan ดื่มกาแฟ Specialty ที่ Huto.Co (ฮูโต๋) และปิดท้ายวันด้วยคราฟต์เบียร์ดีๆ และอาหารอร่อยๆ จาก The Fence Craft Beer Bar ในบรรยากาศริมคลองที่เหมาะกับการนั่งรับลมเย็นใต้ร่มไม้ตลอดทั้งวัน คอมมูนิตี้นี้คือการรวมตัวของเพื่อนที่ชอบอะไรต่างกัน แต่อยู่รวมกันแล้วลงตัวได้ดี แถมยังให้ชุมชนรอบข้างมีสีสันมากขึ้น เริ่มต้นมาจาก The Fence Craft Beer Bar ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเพื่อนที่ชอบดื่มคราฟต์เบียร์เป็นชีวิตจิตใจ โดยมีหุ้นส่วน 4 คนคือ อ้น-ศิรสิทธิ์ กลิ่นสุวรรณ, อู๋-จารุกิตติ์ ธเนศอนุกุล, อ๊อบ-อรรถพล ธเนศอนุกุล และฤทธิ์-ณรงค์ฤทธิ์ เอนกสุวรรณมณี […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.