ทางเท้า ญี่ปุ่น ออกแบบได้ปลอดภัยและฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์วิถีชีวิตนักเดินของชาวเมือง

‘ญี่ปุ่น’ คือประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองที่ทั้งสะอาด เป็นระเบียบ และสะดวกสบาย ซึ่งผลลัพธ์เช่นนี้มาจากความใส่ใจของรัฐบาลญี่ปุ่นและพฤติกรรมชาวเมืองที่มีวินัยในการใช้ชีวิตกันอย่างเป็นระบบระเบียบ และถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีพื้นที่ใช้สอยภายในประเทศอย่างจำกัด แต่หน่วยงานภาครัฐก็ให้ความสำคัญต่อระบบการเดินทางคมนาคมให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยอย่างสูงสุด เช่นเดียวกับ ‘ทางคนเดินเท้า’ ที่ออกแบบมาตอบโจทย์วิถีชีวิตของประชากรในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้คนใช้วิธีการเดินในการเดินทางควบคู่ไปกับคมนาคมที่ดี 📌 การออกแบบที่ทุกคนใช้งานได้ โครงสร้างทางเท้าที่ญี่ปุ่นถูกออกแบบมาให้ทุกคนใช้งานได้อย่างปลอดภัย สะดวกสบาย และซัพพอร์ตผู้ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างวีลแชร์และไม้เท้า ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดล้วนคำนึงถึงผู้ใช้งานและผ่านการคิดตามหลักวิศวกรรมมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความกว้างของทางเท้าที่ต้องมีขนาดเพียงพอต่อการรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย โดยมีการอ้างอิงจากขนาดความกว้างมาตรฐานในการใช้เดินทาง ได้แก่ คนปกติใช้ความกว้าง 0.75 เมตร ผู้ใช้วีลแชร์ใช้ความกว้าง 1 เมตร และผู้พิการทางสายตาที่ใช้สุนัขนำทางใช้ความกว้าง 1.5 เมตร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้นำมาใช้ในการออกแบบความกว้างของทางเท้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างเหมาะสม โดยทางเท้าญี่ปุ่นจะยึดหลักการออกแบบให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สวนกันได้ ส่วนพื้นที่ทางเท้าที่อนุญาตให้จักรยานขึ้นมาขี่ได้จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และยังมีการแบ่งเป็น Bike Lane แยกออกมาด้วยในบางเขต ส่วนพื้นผิวบนทางเท้าจะปูพื้นเป็นบล็อกที่อัดแน่นและชิดกัน ทำให้การเดินปกติหรือใช้รถเข็นนั้นไม่มีสะดุดเลย รวมถึงเบรลล์บล็อก (Braille Block) ทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตาก็มีตลอดเส้นทาง และเชื่อมโยงกับทางม้าลายทุกพื้นที่ ไม่มีการตัดขาดเส้นทางอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลถึงความปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า 👥 ปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มากมาย แถมระบบขนส่งก็ครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดในประเทศ […]

‘Offline Love’ เรียลลิตี้หาคู่จากญี่ปุ่น ที่ให้พรหมลิขิตทำงานคู่กับแผนที่ ผ่านการเดินเมืองแบบไม่พึ่งพาสมาร์ตโฟน

การติดตามเรื่องราวความรักในมุมมองของคนที่สามกลายเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่ง จนทำให้มีรายการแนวหาคู่ออกมาให้เราได้เห็นอยู่เรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Offline Love’ รายการเรียลลิตี้ญี่ปุ่นจาก Netflix ที่จะพาคนดูอย่างเราไปลุ้นเรื่องราวความรักระหว่างคนแปลกหน้ากัน แต่จะให้เดตกันเฉยๆ ก็ธรรมดาไป แทนที่จะเป็นการจับมารวมกลุ่มเพื่อหาคู่รักที่เคมีเข้ากันที่สุด รายการนี้กลับไม่ให้ผู้เข้าร่วมรายการใช้สมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์ออนไลน์ใดๆ และเลือกให้หนังสือนำเที่ยวพร้อมแผนที่ เพื่อให้แต่ละคนออกไปผจญความแปลกใหม่ของเมืองที่ไม่รู้จัก เพราะรายการนี้แม้จะเป็นของญี่ปุ่น แต่สถานที่ถ่ายทำคือเมือง ‘Nice’ ประเทศฝรั่งเศส พูดให้โรแมนติกคือ รายการนำไอเดียเรื่องของพรหมลิขิตและการตกหลุมรักในสมัยก่อนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนมาใช้ หวังให้แต่ละคนพบเจอกันด้วยความบังเอิญจากการเดินตามท้องถนน แล้วสังเกตมือที่ถือหนังสือนำเที่ยวกับแผนที่ของกันและกัน ดังนั้นนอกจากจะได้ลุ้นว่าใครจะเจอกับใคร และคู่ไหนจะตกหลุมรักกันแล้ว การผจญภัยในเมือง Nice ของผู้เข้าร่วมรายการทั้งสิบคนยังทำให้เราได้เห็นถึงความสวยงามของบรรยากาศรอบตัว ความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการเดินเมืองที่สะดวกสบายและเอื้อต่อการตกหลุมรักกันอีกด้วย ติดตามเส้นทางพรหมลิขิตใน Offline Love ทั้ง 10 ตอนได้ทาง Netflix หรือชมตัวอย่างที่ tinyurl.com/4yzt8r4t

1 ยูนิต 18 ล้านบาท ราคาคอนโดฯ โตเกียวพุ่งแซงสถิติสูงสุดที่เคยบันทึกปี 1990

คอนโดฯ ในโตเกียวราคาแพงหนักมากกก ล่าสุดมีรายงานว่าปี 2021 ที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมใหม่ต่อหนึ่งยูนิต ทั้งในพื้นที่โตเกียวและบริเวณใกล้เคียงพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ตัวเลข 62.60 ล้านเยน (ราคา 18 ล้านบาทนิดๆ) แซงหน้าจำนวนสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ในปี 1990 เลยทีเดียว ราคาคอนโดฯ ที่ว่า เพิ่มขึ้นเป็น 2.9 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า เพิ่มทั้งในเขตเมืองหลวงและในอีกสามจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ คานางาวะ, ชิบะ และไซตามะ  สาเหตุของราคาแพงลิบลิ่ว มาจากความนิยมที่มีต่ออสังหาริมทรัพย์หรูหราที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น คอนโดฯ สูงใจกลางเมืองโตเกียว ก็คือย่านที่อยู่ฮอตฮิตที่ทุกคนล้วนใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของ เมื่อเทียบราคาคอนโดฯ ต่อยูนิตที่เคยมียอดเฉลี่ยแตะเพดานสูงสุด ระหว่างปี 1990 กับปี 2021 ช่วงต้น 90s ราคาคอนโดฯ แถบเขตโตเกียวอยู่ที่จำนวน 61.23 ล้านเยน (ราคาประมาณ 17 ล้านกว่าบาท) ราคาที่แพงมากในปัจจุบันนี้ มาจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่ญี่ปุ่นเริ่มเตรียมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโตเกียวปี 2013 ประกอบกับปัจจัยการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ส่งผลให้ราคาต่อหน่วยพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และแน่นอน ต่อจากนี้ราคาไม่อาจลดต่ำลงได้ง่ายๆ […]

มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.